โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าฯ ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง |
|
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (สายสุขุมวิท) | |
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (สายสีลม) | |
สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) | |
สายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กำลังก่อสร้าง) | |
สายสีม่วง (โครงการ) | |
สายสีส้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงเข้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงอ่อน (โครงการ) | |
สายสีเหลือง (โครงการ) | |
สายสีน้ำตาล (โครงการ) | |
สายสีชมพู (โครงการ) | |
แก้ |
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง" ซึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในปี 2541 ให้เร่งดำเนินงาน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (สบน.) ปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครเดิม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์และวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
[แก้] รูปแบบโครงการ
จากการคาดการณ์การเจริญเติบโตของเมืองในระยะนั้นๆ และแผนงบประมาณ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จึงแบ่งการดำเนินโครงการ ออกเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 (ปี 2545-2554) เป็นระยะของการปรับตัวพัฒนา เพื่อการขนส่งภายในเมืองทั้งระบบ
- ระยะที่ 2 (ปี 2555-2564) เป็นระยะพัฒนาใหม่ที่ยั่งยืน เพื่อเปิดให้บริการเป็นเส้นรอบวง กระจายผู้โดยสารในเมืองอย่างทั่วถึง
- ระยะที่ 3 (หลังปี 2564) เป็นการพัฒนาระยะยาว เปิดเส้นทางสู่ย่านชานเมือง และรองรับผู้โดยสารจากชานเมืองเข้าสู่ในเมือง
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นบทความเกี่ยวกับ การเดินทาง การคมนาคม และการขนส่ง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |