พ.ศ. 2541
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2538 2539 2540 - พ.ศ. 2541 - 2542 2543 2544 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: นายชวน หลีกภัย (พ.ศ. 2540-2544)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2541
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม
- 8 มกราคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ "จอมพลเรือ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- 26 มกราคม – คดีลูวินสกี: ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ปฏิเสธว่าตนไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับโมนิกา ลูวินสกี อดีตเจ้าหน้าที่ฝึกงานในทำเนียบขาว
[แก้] กุมภาพันธ์
- 4 กุมภาพันธ์ – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.1 ริกเตอร์ ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน
- 16 กุมภาพันธ์ – ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยูทีวี เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) หรือยูทีวี และบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือไอบีซี ทำพิธีลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อผนวกกิจการของสองบริษัทเข้าด้วยกันเป็นบริษัทยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ยูบีซี) เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป
[แก้] มีนาคม
- 2 มีนาคม – ยานกาลิเลโอค้นพบน้ำในสถานะของเหลวบนยูโรปา ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี
- 5 มีนาคม
- องค์การนาซาประกาศว่ายานเคลเมนไทน์ที่กำลังโคจรรอบดวงจันทร์ ค้นพบน้ำในหลุมที่ขั้วของดวงจันทร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการตั้งฐานบนดวงจันทร์ และเป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงในอนาคต
- ตำรวจจับกุมนายเสริม สาครราษฎร์ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปี 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ผู้ต้องหาฆ่าหั่นศพ น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรี นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากโกรธแค้นที่ น.ส.เจนจิรา พยายามตีตัวออกห่างไปมีชายคนใหม่ทั้งที่ได้เสียกันแล้ว
[แก้] เมษายน
- 3-4 เมษายน – การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน
- 10 เมษายน – มีการลงนามในข้อตกลงเบลฟาสต์ หนึ่งในกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ
- 15 เมษายน – พอล พต อดีตผู้นำเขมรแดง เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในกระท่อมเล็ก ๆ บริเวณเทือกเขาในเขตจังหวัดอันลองเวง ประเทศกัมพูชา
- 21 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิด "ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี"
[แก้] พฤษภาคม
- 2 พฤษภาคม – นักดนตรีร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ฮิเดะ (ฮิเดะโตะ มัตสึโมโตะ) เสียชีวิตอย่างปริศนาเนื่องจากขาดอากาศหายใจ
- 18 พฤษภาคม – กระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา และ 20 มลรัฐ ยื่นเอกสารฟ้องในกรณีบริษัทไมโครซอฟท์ละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด
- 21 พฤษภาคม – ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจจนทำให้เกิดความวุ่นวายในอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตประกาศลาออก หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมานานถึง 32 ปี โดยให้นายยูซุฟ ฮาบีบี รองประธานาธิบดี ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3
- 28 พฤษภาคม – การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์: ปากีสถานทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ 5 ครั้ง เพื่อตอบโต้การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย เหตุการณ์นี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อปากีสถาน
- 30 พฤษภาคม – เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ภาคเหนือของอัฟกานิสถาน โดยวัดความรุนแรงได้ 6.6 ริกเตอร์ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 5,000 คน
[แก้] มิถุนายน
- 10 มิถุนายน – ประเทศคาซัคสถานย้ายเมืองหลวงจากอัลมาตีไปอัสตานา
- 11 มิถุนายน – บริษัทคอมแพคจ่ายเงิน 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเข้าครอบครองบริษัทเดค (DEC:Digital Equipment Corporation) นับเป็นการซื้อขายเทคโนโลยีไฮเทคที่มีมูลค่าสูงสุดขณะนั้น
- 21 มิถุนายน – บุญเลี้ยง อดุลยฤทธิกุล เจ้าพ่อคาเฟ่เมืองไทย เจ้าของดาราคาเฟ่และวิลล่าคาเฟ่ ถูกยิงเสียชีวิตคาลิฟต์บนชั้นที่ 12 ของนำโชค คอนโดมิเนียม ย่านรามคำแหง กรุงเทพฯ ขณะเดินทางไปหา น.ส.สุพัตรา หรือแดง โยสินธร ภรรยาน้อยที่พักอยู่ที่นั่น
- 25 มิถุนายน – บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์ 98
[แก้] กรกฎาคม
- 14 กรกฎาคม – วันก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
[แก้] สิงหาคม
- 7 สิงหาคม – การวางระเบิดสถานทูตสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2541: ผู้ก่อการร้ายวางระเบิดในสถานทูตสหรัฐอเมริกา ณ นครดาร์-เอส-ซาลาม ประเทศแทนซาเนีย และไนโรบี ประเทศเคนยา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 224 คน บาดเจ็บมากกว่า 4,500 คน
- 14 สิงหาคม – รัฐบาลออกมาตรการ 14 สิงหา แก้ปัญหาธนาคารและสถาบันการเงิน
- 16 สิงหาคม – การทุจริตจัดชื้อยาและเวชภัณฑ์: น.พ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ทำหนังสือเปิดผนึกถึง น.พ.ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ตรวจสอบกรณีความผิดปกติในคำสั่งจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณ 1,400 ล้านบาท
- 17 สิงหาคม – คดีลูวินสกี: ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ให้การยอมรับว่า "มีความสัมพันธ์ทางกายที่ไม่เหมาะสม" กับโมนิกา ลูวินสกี อดีตเจ้าหน้าที่ฝึกงานในทำเนียบขาว
[แก้] กันยายน
- 7 กันยายน – บริษัทกูเกิลก่อตั้งขึ้นที่เมนโลพาร์ก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
- 15 กันยายน – การทุจริตจัดชื้อยาและเวชภัณฑ์: นายรักเกียรติ สุขธนะ ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากต้องการยุติข่าวทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ราคาแพงของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตใด ๆ
- 18 กันยายน – วันก่อตั้งไอแคนน์ (ICANN) องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำหน้าที่กำหนดชื่อโดเมนและเลขที่อยู่ไอพีบนอินเทอร์เน็ต
- 20 กันยายน – ตำรวจมาเลเซียจับกุมอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีการคลังมาเลเซีย ที่บ้านพักชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ ตั้งข้อหาประพฤติผิดทางเพศ ละเมิดกฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ เป็นผู้นำก่อความไม่สงบในที่สาธารณะ ชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย และก่อเหตุจลาจล ฯลฯ
- 23 กันยายน – มีใบปลิวแจกจ่ายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่ามีความไม่ชอบมาพากลในโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งเป็นโครงการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก แจกจ่ายให้เกษตรกรตามนโยบายการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองของรัฐบาล งบประมาณ 254 ล้านบาท
- 25 กันยายน – วันสถาปนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
[แก้] ตุลาคม
- 5 ตุลาคม – รัฐบาลปรับคณะรัฐมนตรี หลังการลาออกของนายรักเกียรติ สุขธนะ กรณีการทุจริตจัดชื้อยาและเวชภัณฑ์
- 10 ตุลาคม – ประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานรับขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนแรก ซึ่งเดินทางมาจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
- 13 ตุลาคม – เกิดเหตุปล้นรถโดยสารประจำทาง โดยคนร้าย 2 คนใช้อาวุธปืนปากกาปล้นผู้โดยสารบนรถโดยสารประจำทางสาย 80 ยิงผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 1 คน จากนั้นใช้รถจักรยานยนต์หลบหนีไป ก่อนหน้านั้นมีการปล้นรถโดยสารประจำทางมาแล้ว 3 ครั้ง ภายในเดือนเดียวกัน
- 17 ตุลาคม – กรมตำรวจได้รับการยกฐานะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- 26 ตุลาคม – พนักงานธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ประมาณ 1,000 คน ชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้างตามมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน (มาตรการ 14 สิงหา) พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 27 ตุลาคม – กรมป่าไม้เซ็นสัญญากับบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์อนุญาตให้เข้าถ่ายทำเรื่อง "เดอะ บีช" ได้ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการสนับสนุนพนักงานและเจ้าหน้าที่ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว โดยในสัญญาระบุว่ามีเงินค้ำประกันความเสียหาย 5 ล้านบาท เงินสนับสนุนกรมป่าไม้ 4 ล้านบาท
[แก้] พฤศจิกายน
- 2 พฤศจิกายน – เกิดอุบัติเหตุธูปขนาดใหญ่ 3 ต้น ที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระร่วงโรจนฤทธิ์ในโอกาสครบรอบ 84 ปี หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์วรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม ล้มทับประชาชนทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 5 คน บาดเจ็บ 13 คน
- 12 พฤศจิกายน – บริษัททเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง "แอนนา แอนด์ เดอะ คิง" แถลงที่นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา ว่าบริษัทฯ มีแผนย้ายสถานที่ถ่ายทำไปยังมาเลเซียแทนประเทศไทย เนื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ต่างประเทศของไทยไม่อนุมัติให้ถ่ายทำ โดยชี้ว่าบทภาพยนตร์บิดเบือนประวัติศาสตร์
- 15 พฤศจิกายน – นักเรียนอาชีวะโรงเรียนบุรณพนธ์ 5 คน ก่อเหตุจี้ตัวนักเรียนหญิง 2 คน บนรถประจำทางขสมก. สาย 134 จากบริเวณลาดพร้าวไปข่มขืนที่บ้านพักย่านนนทบุรี โดยไม่มีใครเข้าช่วยเหลือ
- 20 พฤศจิกายน – มอดูลซาร์ยา ซึ่งเป็นมอดูลส่วนแรกของสถานีอวกาศนานาชาติ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดโปรตอนจากฐานส่งจรวดในประเทศคาซัคสถาน
[แก้] ธันวาคม
- 6-20 ธันวาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 มีนักกีฬาจาก 43 ประเทศเข้าร่วม
- 14 ธันวาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ชนะทีมชาติเกาหลีใต้ 2 ประตู : 1 ในช่วงทดเวลา จากลูกฟรีคิกของธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร โดยการชนะของทีมชาติไทยครั้งนี้ สร้างความตื่นเต้น ดีใจให้กับชาวไทยอย่างมากถึงแม้จะไม่ใช่นัดชิงชนะเลิศหรือชิงเหรียญใด ๆ เพราะทุกคนเล่นได้ดี สู้ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน แม้จะมีผู้เล่นติดใบแดงถึง 2 ใบ แต่ไทยก็สามารถเอาชนะทีมระดับโลกอย่างเกาหลีใต้ได้ ซึ่งที่ผ่านมา ไทยแพ้ตลอด
- 17 ธันวาคม – ศาลตัดสินประหารชีวิต นายขจรศักดิ์ กลิ่นเฟื่อง มือปืนฆ่านายบุญเลี้ยง อดุลยฤทธิกุล เจ้าของวิลลาคาเฟ่ชื่อดัง แต่ลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เพราะจำเลยรับสารภาพ และยืนยันว่ากระทำไปเพื่อการชิงทรัพย์โดยไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร ขณะที่ภรรยานายบุญเลี้ยงยังติดใจไม่เชื่อเป็นการฆ่าชิงทรัพย์ธรรมดา
- 19 ธันวาคม – สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาผ่านความเห็นชอบพิจารณาถอดถอนบิล คลินตัน ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องจากให้การเท็จต่อลูกขุนและขัดขวางกระบวนการยุติธรรมในคดีลูวินสกี
[แก้] ไม่ทราบวัน
- ก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE))
- เทสโก้ โลตัส เปิดทำการสาขาแรก
- แก๊งสามช่า รวมตัวขึ้นเป็นครั้งแรก
[แก้] วันเกิด
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 15 เมษายน – พอล พต อดีผู้นำเขมรแดง (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
- 14 พฤษภาคม – แฟรงค์ ซินาตรา นักร้อง/นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 ธันวาคม พ.ศ. 2458)