New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กฎหมายสงคราม - วิกิพีเดีย

กฎหมายสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ หรือภาษาที่ใช้
ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในหลายส่วนด้วยกัน
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน
กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งสามารถดูตัวอย่างบทความได้ที่ บทความคุณภาพ และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้

กฎหมายสงคราม หรือ กฎหมายมนุษยธรรม (Law of War, Law of Armed Conflict, Humanitarian Law หรือ "jus in bello") คือกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมลักษณะและวิธีการทำสงคราม

สารบัญ

[แก้] 1. ภาพรวม: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

สงครามแต่เดิมเป็นเรื่องปกติ สังคมสมัยดั้งเดิมยอมรับอำนาจรัฐในการทำสงครามเห็นได้จากบรรดากษัตริย์ที่ต้องสามารถเป็นทั้งผู้ปกครองและนักรบ รัฐมีอำนาจที่จะใช้กำลังต่อรัฐอื่นได้อย่างอิสระเสรีโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลข้ออ้างตามกฎหมายแต่อย่างใด

เมื่อสังคมโลกเจริญพัฒนามากขึ้น มนุษย์ระลึกว่าสงครามเป็นเรื่องทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และเริ่มวิตกเกี่ยวกับการรุกรานและการใช้มาตรการตอบโต้ที่รุนแรงและเกินขอบเขต ทำให้มีแนวคิดว่า การทำสงครามระหว่างรัฐควรเป็นไปเพียงเพื่อการจำเป็น มิใช่เพื่อทำลายล้างชีวิตมนุษย์อย่างไร้เหตุผล หรือเพื่อการขยายดินแดน แย่งชิงทรัพยากร ดังในอดีต ส่งผลให้รัฐทั้งหลายเกิดแนวความคิดการจำกัดอำนาจของรัฐในการใช้กำลัง ซึ่งนำมาสู่การตกลงทำสนธิสัญญาที่ห้ามการใช้กำลังขึ้นหลายฉบับ เช่นการตกลงอนุสัญญาใน การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ครั้งแรกในปี ค.ศ.1899

ในขณะเดียวกัน ได้มีการตกลงสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มเติมให้รัฐต้องยึดถือปฏิบัติเมื่อรัฐทำสงครามต่อกัน เช่น การกำหนดข้อแตกต่างระหว่างผู้ที่มีหน้าที่ในการรบกับพลเรือนซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ การห้ามไม่ให้ใช้วิธีการที่ไม่ชอบธรรมหรือวิธีการชั่วร้ายในการสู้รบ การปฏิบัติต่อผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยไข้ และเชลยศึกในสงคราม การห้ามใช้แก๊สพิษและเชื้อโรคในการทำสงคราม เป็นต้น

พัฒนาการเหล่านี้ทำให้เกิดกฎหมายสงคราม (Law of War หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Law of Armed Conflict, Humanitarian Law หรือ ‘jus in bello’) ซึ่งวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำสงคราม กล่าวคือเมื่อเกิดสงครามแล้วจะดำเนินการปฏิบัติอย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร เช่น วิธีการปฏิบัติต่อเฉลยศึก ลักษณะการใช้อาวุธบางประเภท ส่วน Right to War หรือ ‘jus ad bellum’ คือกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความชอบธรรมในการก่อสงคราม กล่าวคือก่อนจะก่อสงครามต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง เช่น พิจารณาเรื่องการระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธีตามกฎบัตรสหประชาชาติ

เป็นที่น่าเศร้าใจว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา สงครามยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปี 1919 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด นานาประเทศได้ร่วมมือกันจัดตั้ง สันนิบาตชาติ หรือ The League of Nations เพื่อมุ่งรักษาสันติภาพและลดอาวุธ บรรดารัฐสมาชิกได้ทำสนธิสัญญาหลายฉบับ แต่ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวของสันนิบาตชาติ

ต่อมาในปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรและนานาประเทศจึงได้ร่วมมือกันจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติ หรือ The United Nations โดยกำหนดให้คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) เป็นผู้ดูแลเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้กำลังและสงครามมาจนถึงปัจจุบัน


ทุกวันนี้สงครามยังคงดำเนินต่อไป สงครามชนเผ่า สงครามกลางเมือง หรือสงครามการก่อการร้าย เมื่อเกิดสงครามและความโหดร้ายยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นักกฎหมายระหว่างประเทศและผู้นำรุ่นใหม่ย่อมต้องพัฒนากฎหมายและแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

[แก้] 2. ตัวอย่างที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสงครามที่สำคัญ

1899 - The Hague Conventions of 1899 (29 July 1899)

Hague I - Pacific Settlement of International Disputes

Hague II - Laws and Customs of War on Land

Hague III - Adaptation to Maritime Warfare of Principles of Geneva Convention of 1864

Hague IV - Prohibiting Launching of Projectiles and Explosives from Balloons

Declaration I - On the Launching of Projectiles and Explosives from Balloons

Declaration II - On the Use of Projectiles the Object of Which is the Diffusion of Asphyxiating or Deleterious Gases

Declaration III - On the Use of Bullets Which Expand or Flatten Easily in the Human Body



1907 - The Hague Conventions of 1907 (18 October 1907)

Hague I - Pacific Settlement of International Disputes

Hague II - Limitation of Employment of Force for Recovery of Contract Debts

Hague III - Opening of Hostilities

Hague IV - Laws and Customs of War on Land

Hague V - Rights and Duties of Neutral Powers and Persons in Case of War on Land

Hague VI - Status of Enemy Merchant Ships at the Outbreak of Hostilities

Hague VII - Conversion of Merchant Ships into War Ships

Hague VIII - Laying of Automatic Submarine Contact Mines

Hague IX - Bombardment by Naval Forces in Time of War

Hague X - Adaptation to Maritime War of the Principles of the Geneva Convention

Hague XI - Restrictions With Regard to the Exercise of the Right of Capture in Naval War

Hague XIII - Rights and Duties of Neutral Powers in Naval War


1928 - Geneva Protocol for the Prohibition of the Use in War of Asphyxiating Gas, and for Bacteriological Methods of Warfare

1928 - The General Treaty for the Renunciation of War (Kellogg-Briand Pact)


1929 - Convention between the United States of America and Other Powers, Relating to Prisoners of War


1945 – The United Nations Charter


1945 - London Charter of the International Military Tribunal (Nuremberg Charter)


1949 – The Geneva Conventions (12 August 1949)

1. The Amelioration of the Condition of the Wounded and Sick in Armed Forces in the Field

2. The Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea

3. The Treatment of Prisoners of War

4. The Protection of Civilian Persons in Time of War


1975 - Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on Their Destruction



[แก้] 3. หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ปฏิเสธการทำสงคราม

3.1 สนธิสัญญา “The General Treaty for the Renunciation of War” (1928)

สนธิสัญญานี้มักเรียกว่า “Kellog-Briand Pact”เป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย มีรัฐที่เป็นภาคีผูกพันถึง 63 รัฐ และยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน สาระสำคัญคือการตกลงปฏิเสธการทำสงครามต่อกันและมุ่งแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ถือเป็นรากฐานกฎหมายระหว่างประเทศสำคัญที่พัฒนาไปถึงยุคสมัยของกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ รัฐส่วนใหญ่ต่างตั้งข้อสงวนเพื่อให้สามารถใช้กำลังได้กรณีการป้องกันตนเอง

“Article 1 - The High Contracting Parties solemnly declare in the names of their respective peoples that they condemn recourse to war for the solution of international controversies, and renounce it, as an instrument of national policy in their relations with one another.”

3.2 กฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter)

องค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาในปีค.ศ. 1945 ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ มุ่งหมายที่จะรักษาสันติภาพระหว่างนานาประเทศ กฎบัตรข้อ 2 (4) จึงได้วางหลักสำคัญคือรัฐสมาชิกจะต้องระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี และจะต้องงดเว้นจากการใช้กำลัง กล่าวคือไม่ต้องการให้มีการทำสงคราม

“Article 2 - The Organization and its Members, in pursuit of the Purposes stated in Article 1, shall act in accordance with the following Principles. […] 4. All Members shall refrain in their international relations from the threat or use of force against the territorial integrity or political independence of any state, or in any other manner inconsistent with the Purposes of the United Nations. […]”


3.3 หลักการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธี (Peaceful Settlement)

หลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ คือ รัฐทั้งหลายมีพันธกรณีจะต้องระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธี เช่นการเจรจา การไกล่เกลี่ย โดยหลักการนี้มีปรากฏอยู่ทั่วไป อาทิ - อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1907 (ฉบับที่ 1 Pacific Settlement of International Disputes) - กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 2 (3) - ปฏิญญาว่าด้วยหลักการแห่งกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและความร่วมมือระหว่างรัฐ ค.ศ.1970 “Declaration on Principles of International Law Concerning Friendly Relations and Co-operation among States in Accordance with the Charter of the United Nations (1970)”




[แก้] 4.หลักกฎหมายระหว่างประเทศกรณีที่ได้เกิดสงครามขึ้น

การที่จะนำกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับกับการทำสงครามระหว่างรัฐได้หรือไม่นั้น ต้องมีสถานะสงครามระหว่างรัฐ โดยต้องมีเจตนาทำสงครามแม้เพียงฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว

หลักกฎหมายที่นำมาบังคับในการทำสงครามนั้นมีรายละเอียดมากมาย ดังที่ปรากฏจากตัวอย่างในหัวข้อที่ 2 ดังนั้นจะขอกล่าวถึงบางตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพรวมของกฎหมายในภาวะสงคราม


4.1 The Hague Conventions of 1907 (อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907)

มีถึง13 ฉบับได้กล่าวถึงเรื่องสำคัญ เช่น การเริ่มต้นของการเป็นศัตรู กฎหมายและจารีตประเพณีในสนามรบ การเปลี่ยนเรือสินค้าเป็นเรือรบ สิทธิและหน้าที่ของรัฐที่เป็นกลางและเอกชนชาติที่เป็นกลาง

ตัวอย่างเรื่องการประกาศความไม่เป็นมิตร

อนุสัญญาฉบับที่ 3: CONVENTION RELATIVE TO THE OPENING OF HOSTILITIES

Article 1 - The Contracting Powers recognize that hostilities between themselves must not commence without previous and explicit warning, in the form either of a reasoned declaration of war or of an ultimatum with conditional declaration of war.

การเริ่มต้นของการเป็นศัตรู หรือการไม่เป็นมิตรจะเริ่มกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศอย่างชัดเจนแล้ว มิใช่จะตัดสินใจเปลี่ยนสถานะจากมิตรเป็นศัตรูและโจมตีอีกฝ่ายทันที

ตัวอย่างเกี่ยวกับกฎหมายและจารีตประเพณีในสนามรบ

อนุสัญญาฉบับที่ 4: CONVENTION RESPECTING THE LAWS AND CUSTOMS OF WAR ON LAND: (Annex to the Convention) REGULATIONS RESPECTING THE LAWS AND CUSTOMS OF WAR ON LAND

- การให้ความหมายผู้ยกธงขาวว่าต้องการสื่อสาร

- การห้ามทำร้ายทหารศัตรูที่ยอมวางอาวุธ

- การห้ามโจมตีหมู่บ้านที่มิได้มีทหารควบคุมหรืออยู่อาศัย


4.2 The Geneva Conventions of 1949 (อนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ. 1949)

ฉบับที่ 1 เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยในสนามรบ ตัวอย่าง - การยอมให้หน่วยงานกลาง เช่น สภากาชาด (Red Cross) ให้การดูแลรักษาทหารที่บาดเจ็บ

ฉบับที่ 2 เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วย และลูกเรือของเรือแตกในสงครามทางทะเล ตัวอย่าง - การยอมให้หน่วยงานกลาง เช่น สภากาชาด (Red Cross) ใช้เรือลำเลียงผู้ป่วย

ฉบับที่ 3 เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ตัวอย่าง - หลักการนิยามผู้ที่ถือเป็นเฉลยศึก (Prisoners of war)

- หลักว่าจะต้องปฏิบัติต่อเฉลยศึกด้วยมนุษยธรรม จะกระทำอันตรายต่ออนามัยหรือชีวิตมิได้

Article 13 - Prisoners of war must at all times be humanely treated. Any unlawful act or omission by the Detaining Power causing death or seriously endangering the health of a prisoner of war in its custody is prohibited, and will be regarded as a serious breach of the present Convention. […].

- หลักว่าจะกระทำทรมานต่อเฉลยศึกเพื่อบังคับเอาข้อมูลไม่ได้ Article 17 - No physical or mental torture, nor any other form of coercion, may be inflicted on prisoners of war to secure from them information of any kind whatever. Prisoners of war who refuse to answer may not be threatened, insulted or exposed to unpleasant or disadvantageous treatment of any kind."


ฉบับที่ 4 เกี่ยวกับการพิทักษ์รักษาพลเรือนในเวลาสงคราม ตัวอย่าง - หลักการนิยามผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง (Protected persons)

- หลักห้ามทำร้าย ทำการทรมาน หรือทำการทดลองวิทยาศาสตร์ต่อผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง Art. 32 - The High Contracting Parties specifically agree that each of them is prohibited from taking any measure of such a character as to cause the physical suffering or extermination of protected persons in their hands. This prohibition applies not only to murder, torture, corporal punishments, mutilation and medical or scientific experiments not necessitated by the medical treatment of a protected person, but also to any other measures of brutality whether applied by civilian or military agents.

- หลักห้ามลงโทษผู้ที่ได้รับการคุ้มครองในการกระทำของศัตรู Art. 33 - No protected person may be punished for an offence he or she has not personally committed. Collective penalties and likewise all measures of intimidation or of terrorism are prohibited.


[แก้] 4.3 หลักเรื่องความเป็นกลางของรัฐใน The Hague Conventions 1907

หลักเรื่องความเป็นกลางของรัฐปรากฏอยู่ใน อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 ฉบับที่ 5 - Rights and Duties of Neutral Powers and Persons in Case of War on Land และ ฉบับที่ 13 - Rights and Duties of Neutral Powers in Naval War

ความเป็นกลาง (Neutrality) เป็นสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะเกี่ยวข้องในการทำสงครามระหว่างรัฐอื่น เมื่อมีสงครามเกิดขึ้น รัฐที่ไม่ประสงค์จะเข้าทำสงครามด้วย ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกสถานะความเป็นกลาง และรัฐคู่สงครามมีหน้าที่ต้องเคารพ รัฐที่เป็นกลางมีพันธกรณีสำคัญ 2 ประการ คือ

(1) ต้องหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำสงครามของรัฐอื่น

(2) ต้องปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงฝักใฝ่กับรัฐคู่สงครามฝ่ายใด

สิทธิของรัฐที่เป็นกลาง เช่น

(1) สิทธิที่จะไม่ถูกละเมิดดินแดน

(2) สิทธิในการคุ้มครองคนชาติและทรัพย์สินของรัฐที่เป็นกลางในดินแดนรัฐที่เป็นฝ่ายสงคราม

(3) สิทธิค้าขายกับรัฐที่เป็นฝ่ายในสงคราม

หน้าที่ของรัฐที่เป็นกลาง เช่น

(1) ป้องกันไม่ให้รัฐคู่สงครามล่วงละเมิดดินแดนของตน

(2) ป้องกันไม่ให้มีการขนส่งกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ ผ่านดินแดนของตน

(3) มีหน้าที่ขัดขวางการผ่านแดน

(4) ป้องกันไม่ให้รัฐในสงครามใช้ดินแดนของตนสำหรับฝึกทำการรบหรือรวบรวมกำลังพล

(5) ป้องกันไม่ให้รัฐคู่สงครามตั้งสถานีวิทยุ โทรเลข หรือเครื่องสื่อสารใดๆเพื่อทำสงคราม

(6) ยินยอมให้มีการลี้ภัยในรัฐที่เป็นกลาง

(7) ต้องงดเว้นการช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐคู่สงคราม

(8) การงดให้ความช่วยเหลืออย่างอื่นแก่รัฐที่เป็นฝ่ายในสงคราม

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu