กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย ในมุมมองที่เป็นกลาง กรุณาศึกษาวิธีเขียนอย่างไรให้เป็นกลาง และคุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดปุ่ม แก้ไข กรุณาอภิปรายประเด็นนี้ในหน้าพูดคุย หากทั้งบทความมีลักษณะโฆษณาอย่างชัดเจน ให้แจ้งลบทันที |
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||||||||||||||
|
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และดูแลหน่วยงานราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม
[แก้] นโยบายกระทรวง
นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ
• ประเมินสถานภาพและศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทและความหลากหลายทางชีวภาพ
• สงวน อนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู เพื่อดำรงสภาพสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและจัดการใช้ประโยชน์ เพื่อตอบสนองความต้องการตามศักยภาพให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
• สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
• จัดทำระเบียบ กฎเกณฑ์ และระบบการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนทุกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม ตลอดจนกำหนดข้อเสนอแนะ แนวทาง และมาตรการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับสถานการณ์บนฐานข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
• ดำเนินการให้ชุมชนทั้งในชนบทและในเมืองมีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยประสานการวางผังเมืองและจัดระเบียบชุมชน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
• ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
• ดำเนินการป้องกันและควบคุมสภาวะความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยที่จะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
• สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนสามารถปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เป็นมรดกสืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป
นโยบายด้านการบริหารจัดการ
• บริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานการจัดการเชิงพื้นที่ การมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ
• เติมภูมิปัญญาประชาชนทุกระดับ และเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
• พัฒนาบุคลากรให้รู้ทักษะและมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านองค์ความรู้และทักษะเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของกระทรวง
• พัฒนาระบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการและจัดทำฐานข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกับระบบฐานข้อมูลสารสนเทศหลักของประเทศได้
• ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย การวางแผน และการปฏิบัติงานทุกระดับ
• รณรงค์และสร้างจิตสำนึกของประชาชนทุกฝ่าย รวมทั้งสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
• ติดตามแก้ไขข้อร้องเรียนของราษฎรด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ
• สร้างแรงจูงใจโดยใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย
• พัฒนากลไกลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกลไกการตลาดเพื่อสังคม เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• ปรับปรุง แก้ไข เสนอร่างกฎหมายใหม่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ และสามารถบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้งานสัมฤทธิ์ผลสอดคล้องกับสถานการณ์
• เพิ่มบทบาทด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเวทีโลก เพื่อพัฒนาความร่วมมือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
• ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานโดยมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ชัดเจน
[แก้] หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยหน่วยราชการระดับกรม 11 หน่วยงานคือ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สำนักนโยบายและแผนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมควบคุมมลพิษ
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช
- กรมทรัพยารธรณี
- กรมทรัพยากรทะเล และ ชายฝั่ง
- กรมทรัพยากรน้ำ
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- กรมป่าไม้
นอกจากนี่ยังมีองค์กรมหาชนและบริษัทอีก 5 หน่วยงานคือ
- องค์การจัดการน้ำเสีย
- องค็การสวนสัตว์
- องค์การพฤกษศาสตร์
- องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
- บริษัทไม้อัดไทย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สำนักนายกรัฐมนตรี · กลาโหม · การคลัง · การต่างประเทศ · การท่องเที่ยวและกีฬา · การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ · เกษตรและสหกรณ์ · คมนาคม · ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม · เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร · พลังงาน · พาณิชย์ · มหาดไทย · ยุติธรรม · แรงงาน · วัฒนธรรม · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · ศึกษาธิการ · สาธารณสุข · อุตสาหกรรม |