กระทรวงมหาดไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงมหาดไทย | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||||||||||||||
|
กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
สารบัญ |
[แก้] ประวัติกระทรวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลัมภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่
ในปี พ.ศ. 2435 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรมการจังหวัด และประธานคณะกรมการอำเภอ ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่าง ๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย
หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการแบ่งส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้ง จนในปัจจุบัน
[แก้] หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ ประกอบด้วยแล้ว ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ
- ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
- ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการต่า ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และการชลประทานราษฎร์ เป็นต้น
- ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
- ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น
[แก้] การแบ่งส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 8 กรม 5 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้
ก. ส่วนราชการระดับกรม The Ministry of Interior has 8 department level agencies, namely :
- สำนักงานรัฐมนตรี: Office of the Minister
- สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย : Office of the Permanent Secretary for Interior
- กรมการปกครอง : Department of Provincial Administration
- กรมการพัฒนาชุมชน : Community Development Department
- กรมที่ดิน : Department of Lands
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย : Department of Disaster Prevention and Mitigation
- กรมโยธาธิการและผังเมือง : Department of Public Works and Town and Country Planning
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : Department of Local Administration
ข. รัฐวิสาหกิจ There are 5 state-enterprise agencies under the Ministry of Interior, namely :
- การไฟฟ้านครหลวง : Metropolitan Electricity Authority
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : Provincial Electricity Authority
- การประปานครหลวง : Metropolitan Waterworks Authority
- การประปาส่วนภูมิภาค : Provincial Waterworks Authority
- องค์การตลาด : Marketing Organization
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เสนาบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
---|
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) · เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาจ่าแสนยบดี ศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) · พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)พระยาพหลพลพยุหเสนา · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · แปลก พิบูลสงคราม · หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) · มังกร พรหมโยธี · หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) · หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์) · ควง อภัยวงศ์ · บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์ · เผ่า ศรียานนท์ · ประภาส จารุเสถียร · กมล วรรณประภา · อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · คึกฤทธิ์ ปราโมช · เสนีย์ ปราโมช · สมัคร สุนทรเวช · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เล็ก แนวมาลี · ประเทือง กีรติบุตร · สิทธิ จิรโรจน์ · ประจวบ สุนทรางกูร · ประมาณ อดิเรกสาร · บรรหาร ศิลปอาชา · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · อนันต์ กลินทะ · เภา สารสิน · ชวลิต ยงใจยุทธ · สนั่น ขจรประศาสน์ · เสนาะ เทียนทอง · บัญญัติ บรรทัดฐาน · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · วันมูหะมัดนอร์ มะทา · โภคิน พลกุล · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · คงศักดิ์ วันทนา · อารีย์ วงศ์อารยะ |
สำนักนายกรัฐมนตรี · กลาโหม · การคลัง · การต่างประเทศ · การท่องเที่ยวและกีฬา · การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ · เกษตรและสหกรณ์ · คมนาคม · ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม · เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร · พลังงาน · พาณิชย์ · มหาดไทย · ยุติธรรม · แรงงาน · วัฒนธรรม · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี · ศึกษาธิการ · สาธารณสุข · อุตสาหกรรม |