ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย หรือ ไฟใต้ เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้าย และจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการแพร่ภาพเป็นข่าวไปทั่วโลก และมีการติดตามเหตุการณ์จากนานาชาติอย่างใกล้ชิด
สารบัญ |
[แก้] เหตุการณ์ทั้งหมด
[แก้] พ.ศ. 2545
- 30 มีนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43)
- 30 เมษายน รัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43
[แก้] พ.ศ. 2547
- 4 มกราคม คดีปล้นปืนทหารเกือบ 400 กระบอก จากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
- 4 มกราคม เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง ใน จ.นราธิวาส
- เหตุระเบิดกลางตลาดจังหวัดปัตตานี โดยมีระเบิดทิ้งไว้ที่จักรยานยนต์
- พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันจะแก้ปัญหาภาคใต้แบบถอนรากถอนโคน
- 12 มีนาคม สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
- 28 เมษายน เกิดกรณีกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด คนร้ายเสียชีวิต 107 ศพ บาดเจ็บ 6 คนถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย
- 25 ตุลาคม เกิดกรณีตากใบ เจ้าหน้าที่สลายผู้ชุมนุมมีผู้เสียชีวิต 84 ศพแบ่งเป็นในที่เกิดเหตุ 6 ศพ ระหว่างขนย้าย 78 คน
- 5 ธันวาคม โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ
- โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่เก็บนกกระดาษ
[แก้] พ.ศ. 2548
- 8 มกราคม - ระเบิดสถานีรถไฟจังหวัดยะลา
- 23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- 17 มีนาคม - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส รับฟังปัญหาภาคใต้ ก่อนสรุปข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
- 28 มีนาคม - นายกฯ พร้อมเผยผลสอบสวน กรณีกรือเซะ และตากใบ ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์เสนอ
- 17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน
- 3 เมษายน เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา
- 24 มิถุนายน กอบกุล รัญเสวะ ผอ.ร.ร.บ้านตือกอ อำเภอจะแนะ นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต
- 14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง
- 15 กรกฎาคม - จังหวัดยะลา เกิดเหตุระเบิด มีผู้บาดเจ็บ 4 คน และจังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ยิงกัน ครูเสียชีวิต 2 คน
- 16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่าง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (PDF)
- 18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [1]
- 19 กรกฎาคม - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสื่อหลายแขนงออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [2]
- 21 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.นราธิวาส, จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา [3] (PDF)
- เดือนสิงหาคม มีคำขู่ฆ่าผู้เปิดร้านและทำงานในวันศุกร์
- 21 กันยายน- ทหารนาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังจากมีการจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาใน อ.ระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย
- 26 ตุลาคม คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน
- 2 พฤศจิกายน คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด
[แก้] พ.ศ. 2549
- 1 สิงหาคม เวลาประมาณ 20.20 น. คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต [1]
- 31 สิงหาคม เวลา 11.20 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่ว จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน [2]
- 4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 [3]
- 16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 1,000 คน ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิดมากกว่า 10 แห่ง ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนทำให้เกิดความโกลาหล [4]
- 21 กันยายน คนร้ายใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่ชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บ 1 รายและเสียชีวิต 1 ราย [5]
- 23 กันยายน ตำรวจ 4 นาย ได้รับบาดจากระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ที่จุดจอดรถ [6]
- 25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่ จ.ยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย [7]
- 28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ [8]
- 27 ตุลาคม คนร้ายยิงพนักงานเก็บค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา อาการสาหัส [9]
- 28 ตุลาคม คนร้ายลงมือก่อเหตุยิง ชาวบ้านขณะกำลังออกไปกรีดยาง เสียชีวิต 1 ราย ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี [10]
- 2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พร้อมคณะ กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี"กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ [11]
- 3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส ในเวลาไล่เลี่ยกัน คนร้ายก่อเหตุยิงลูกจ้าง 3 คนของ กอ.สสส.จชต ที่บริเวณริมถนนสาย 410 ยะลา–เบตง หมู่ที่ 5 บ้านบันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส[12]
- 3 พฤศจิกายน คนร้ายประมาณ 5 คน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ถล่มยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนคีรีบูรณ์วัฒนา ม.5 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ [13]
- 4 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้ายิง รองนายกฯ อบต.บาโงสะโต เสียชีวิต [14]
- 4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนอีก 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา คือ โรงเรียนบ้านเตาปูน ม.3 ต.บันนังสตา โรงเรียนบ้านบางลาง ม.3 ต.บาเจาะ และโรงเรียนบ้านสาคู ม.4 ต.บาเจาะ [15]
- 5 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้าน อ.บันนังสตา เสียชีวิต 1 ราย [16]
- 5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และได้ปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ [17]
- 5 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม หลังการเจรจาเสร็จสิ้นในช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดเสียชีวิตทันที 2 นาย ระหว่างทางกลับจากหมู่บ้าน บริเวณถนนยะลา-เบตง ต.บันนังสาเรง อ.เมือง [18]
- 7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี บ้านบาลอบาตะ หมู่ที่ 13 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา [19]
- 9 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ก่อเหตุยิงผู้รับเหมาก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนรัก หมู่ 2 บ้านดอนรัก ต.ดอนรัก จ.ปัตตานี เสียชีวิตคาที่ [20]
- 9 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ เลขที่ 83/1 ม.7 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน [21]
- 9 พฤศจิกายน โชว์รูมรถยนต์ถูกลอบวางระเบิดพร้อมกัน 8 แห่ง ที่ อ.เมืองยะลา [22]
- 10 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถตามประกบยิงชาวบ้านขณะกำลังขับรถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงบนถนนหน้าโรงเรียนบ้านกระโด ม.1 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี [23]
- 10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา [24]
- 11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกสะตอ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต [25]
- 11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงชาวบ้านปัตตานีหน้ามัสยิดอูแตกอแล ม.3 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต [26]
- 11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย [27]
- 12 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คนบุกเข้าบ้านพักพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง จ.ยะลา แล้วชักปืนพกสั้นประกบยิงจนเสียชีวิต [28]
- 13 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขณะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นปัญหาไปถึงชาวไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่ จนเกรงกันว่าปัญหาจะบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม พร้อมยินดีกราบเท้าขอโทษ หากทำให้เหตุการณ์ยุติ [29]
- 13 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่พ่อ-แม่-ลูกชาวยะลาได้รับบาดเจ็บ บริเวณบนถนนสาย 410 ยะลา-เบตง หน้าสถานีอนามัย บ้านแหร ม.1 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา [30]
- 13 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงอุซตาชโรงเรียนปอเนาะใน ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตคาที่ [31]
- 17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ใกล้ตลาดบางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย [32]
- 17 พฤศจิกายน คนร้ายใช้ จยย.ประกบยิงพ่อค้าขายไอศกรีมวอลล์วัย 52 ปีระหว่างทางเข้าหมู่บ้านที่ยะลา เสียชีวิตคาที่ [33]
- 17 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 6 คน สวมชุดดาวะห์ เข้าปล้นอาวุธปืนลูกซองจำนวน 1 กระบอก ของชุด ชรบ. ในบ้านเลขที่ 118 หมู่ 5 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี [34]
- 18 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายนำ ศรีพลอย อายุ 73 ปีที่ออกไปเลี้ยงวัวกลางทุ่งใกล้บ้าน เสียชีวิตแล้วเผาศพจนไหม้เกรียมทิ้งไว้ก่อนหลบหนี [35]
- 18 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงตำรวจ ตชด. กก.ที่ 44 ค่ายพยาลิไท อ.เมืองยะลา ระหว่างเดินทางกลับบ้านเพียงลำพัง อาการสาหัส [36]
- 18 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ไม่มีชื่อ หมู่ที่ 1 ต.ธารโต จ.ยะลา [37]
- 19 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงใส่ชาวบ้านจำนวน 4 นัด ก่อนที่จะใช้ของมีคมฟันเข้าบริเวณลำคอ ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที [38]
- 20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[39]
- 21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่ [40]
- 22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก [41]
- 23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ [42]
- 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส [43]
- 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี [44]
- 23 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา [45]
- 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงลูกจ้างชั่วคราวชลประทานเขื่อน จ.ปัตตานี เสียชีวิต [46]
- 23 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าดักซุ่มยิงใส่ชาวบ้าน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เสียชีวิต [47]
- 23 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงครูโรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต [48]
- 24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[49]
- 24 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน [50]
- 24 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดร้านขายของชำกลางตลาดอำเภอยะหา จ.ยะลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน [51]
- 24 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มาที่บริเวณปากทางเข้า มสธ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส [52]
[แก้] อ้างอิง
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, คนร้ายป่วนในพื้นที่ 3 จังหวัดพร้อมกันหลายจุด
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, ลอบบึ้มแบงก์ 22 จุดทั่วยะลา ตาย 1 สาหัส 4 เจ็บกว่า 20 คน
- ↑ The Nation, Suspect was 'paid to put bomb in Yala bank'
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, บึ้ม 4 จุดกลางหาดใหญ่ ตาย 5 เจ็บครึ่งร้อย
- ↑ ไทยรัฐ, โจรฉวยโอกาสช่วงรัฐประหาร ยิงชาวบ้านยะลาตาย1เจ็บ1
- ↑ The Nation, 4 policemen injured in bus stop explosion in Pattani
- ↑ The Nation, Two die as police, military outposts attacked in Yala
- ↑ The Nation, Five soldiers injured in Narathiwat bomb attack
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงคนเก็บค่าไฟ สาหัสอีกรายที่ยะลา
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงชาวสวนยางปัตตานีดับอีก 1 – ส่งศพทหารหาญกลับยโสธรวันนี้
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, “สุรยุทธ์” ซื้อใจมุสลิมใต้เอ่ยขอโทษต่อเหตุรุนแรง “กรือเซะ-ตากใบ”
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงรถนักเรียนโชเฟอร์รับเละ ก่อนซัลโว 3 สาวลูกจ้าง กอ.สสส.จชต.สาหัส
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน! โจรใต้ยิงถล่ม ชรบ.โรงเรียนที่ยะลา-จนท.ระดม ตร.-ตชด.-ทหารออกไล่ล่าแล้ว
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, กราดอาก้าถล่ม “รองนายกฯอบต.” ดับคาที่ “นัจมุดดีน” รุดเยี่ยมศพทันที
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ป่วนใต้! ยิงชาวบ้านยะลาเจ็บ3 -เผาร.ร.วอด 4 แห่ง
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน! ทหารปะทะเดือดโจรใต้ – ยิงชาวบ้านดับอีก 1 ราย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, เหตุชาวบ้านประท้วงไล่ ตชด.บันนังสตา ยังไม่มีข้อยุติ – จนท.ระดับสูงเร่งเจรจา
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ยอมถอนกำลัง ตชด.3201 ออกจากบ้านบาเจาะ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, คนร้ายลอบเผา ร.ร.ตะบิงติงงี เบื้องต้นคาดเสียหาย 5 แสน
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, 2 โจรใต้ประกบยิงผู้รับเหมาก่อสร้างดับค่าที่
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ แคล้วคลาดระเบิดไม่ทำงาน
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, เผยปมบึ้มโชว์รูมรถยนต์ยะลาตอบโต้ จนท.รัฐ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ยิงชาวบ้านปัตตานีกระสุนเจาะขมับอาการสาหัส
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน!! โจรใต้ปาระเบิดและยิงถล่ม ฉก.11 ที่ยะลาปะทะกว่า 10 นาทียังไม่ทราบความสูยเสีย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, จ่อยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรือเสาะดับอีก 1
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ยิงชาวบ้านปัตตานีดับหน้ามัสยิดอีก 1 ศพ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้บุกถล่ม ตชด.33 ยะลา จนท.ดับ 2 นาย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, จ่อยิงพ่อค้าไม้ยางพารายะลาดับต่อหน้าลูกเมีย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, “นายกฯ” ยินดีกราบเท้า ขอเพียงชาติสงบ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิง 3 พ่อ-แม่-ลูกวัย 7 ขวบ ปางตายที่ยะลา
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงอุสตาซปอเนาะรามัน เสียชีวิตคาที่
- ↑ กปส., มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเป็น 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดร้านน้ำชา ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, พ่อค้าไอศกรีมวอลล์ตกเป็นเหยื่อยิงรายวันที่ยะลาดับคาที่
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, 6 โจรใต้ สวมชุดดาวะห์ บุกปล้นอาวุธปืน ชรบ. อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ใจโฉดยิงพ่อเฒ่าเลี้ยงวัววัย 73 ดับ จุดไฟเผาศพเกรียม
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิง ตชด.ยะลา บาดเจ็บสาหัส พร้อมยิงโต้คนร้ายเจ็บ1
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยังกวนระเบิดรถยนต์ซ้ำที่ยะลาอีกรอบ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงแล้วฟันคอไทยพุทธ จ.ยะลา เสียชีวิต 1 ราย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, วางบึ้ม-ยิงถล่มที่ราชการดับ2 "สุรยุทธ์"ชี้ตอบโต้แนวทางสันติ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ชาวยะหากว่า 200 ชุมนุมจี้ถอนกำลังทหารพราน - ตชด.ออกนอกพื้นที่
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้เหิมหนัก ไล่ครูออกจากโรงเรียนลงมือเผาอาคารวอดทั้งหลังที่บันนังสตา
- ↑ รัฐบาลไทย, รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ป่วนวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้เผาโรงเรียนพื้นที่ปัตตานีเสียหายร่วม 2 ล้านบาท
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ด่วน!! โจรใต้ลักพาตัว 3 ตชด.ที่ยะลา “ทัพภาค 4” ส่ง ฮ.ร่วมค้นหาแล้ว
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรป่วนใต้ ลอบยิงลูกจ้างชลประทานดับคาที่ 1 ศพ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ใช้อาก้ากราดยิงชาวบ้านเสียชีวิตกลางสวนยาง ที่นราธิวาส
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ยิงครูปัตตานีเสียชีวิตอีก 1 ศพ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรชั่ว! เผา ร.ร.นราฯ-กฟภ.บันนังสตา เสียหายทั้งหลัง
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ประกบยิง ผอ.โรงเรียนปัตตานีดับ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, เหตุระเบิดที่ยะหาระบุคนร้ายหวังสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้ป่วนฆ่ารายวันยิงพนักงานดับเพลิงเทศบาลยะลาเจ็บสาหัส
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- นสพ.ชาวใต้ เนื้อข่าวและภาพไฟใต้ที่ลึกและกว้างกว่า นสพ.รายวันทั่วไป
- สถานการณ์ภาคใต้จากเว็บกองทัพบก
- เปิดแฟ้มลึกภาคใต้ ผู้จัดการออนไลน์
- วิกฤติไฟใต้พร้อมภาพ จากเว็บนสพ.กรุงเทพธุรกิจ
- ข่าวดับไฟใต้จากเว็บปัตตานีทูเดย์
- ข่าวจาก CNN (ภาษาอังกฤษ)
- คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
- โครงการสิทธิชุมชนศึกษาภาคใต้