คอสอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
คอสอง ในคำวัดใช้เรียกภิกษุผู้อยู่ในอันดับที่สองถัดจากองค์ต้นที่เป็นประธานสงฆ์ในพิธีสวดมนต์ตามบ้านหรือในวัด โดยเป็นผู้ช่วยเหลือประธานสงฆ์ในการสวดมนต์ มีหน้าที่รบบทสวดที่องค์ประธานขึ้น คล้ายกับเป็นลูกคู่ในวงเพลงที่ร้องแก้กัน เมื่อคอสองรับแล้วรูปอื่น ๆ ก็สวดรับต่อกันไป ทำให้การสวดไม่ขาดตอน
คอสอง มีธรรมเนียมว่าจะต้องวางเสียงให้สูง ต่ำ พอดีกับเสียงของประธานสงฆ์ที่ขึ้นบทสวด หากรับสูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้คอต่อ ๆ ไปรับได้ยากแลฟังไม่ไพเราะ กล่าวคือในการสวดมนต์มีธรรมเนียมกำหนดไว้ว่ารูปหลัง ๆ ต้องฟังเสียงและจังหวะสวดของรูปต้น ๆ เป็นหลัก ไม่ใช่สวดไปตามใจชอบ หรือตามเสียงสูงต่ำปกติของตน
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548