คะตะคะนะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คะตะคะนะ (ญีุ่ปุ่น: 片仮名 ; อังกฤษ: Katakana) เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คะตะคะนะถูกนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮอกไกโด
สารบัญ |
[แก้] การใช้
คะตะคะนะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คะตะคะนะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่
- ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮะเตะรุ หรือ Hotel)
- ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วัง วัง เสียงเห่าของสุนัข)
- ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารุซิอุมุ หรือ แคลเซียม)
- ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนส่งครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
- ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)
[แก้] ที่มา
ตัวอักษรคะตะคะนะนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคเฮอัน (平安時代) โดยนำมาจากส่วนหนึ่งของตัวคันจิพัฒนามาจาก[[]] อักษรจีนที่ใช้โดยพระภิกษุเพื่อแสดงการออกเสียงอักษรจีนที่ถูกต้องเมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ในช่วงแรกมีสัญลักษณ์หลายตัวที่แสดงเสียงเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป อักษรถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ราว พ.ศ. 1900 มีสัญลักษณ์ 1 ตัว ต่อ 1 พยางค์เท่านั้น คำว่า คะตะคะนะ หมายถึงอักษรพยางค์ที่เป็นส่วน (ของคันจิ)
[แก้] ตารางตัวอักษรคะตะคะนะ
สระ และ พยัญชนะ | yōon | ||||||
ア อะ | イ อิ | ウ อุ | エ เอะ | オ โอะ | ャ ยะ | ュ ยิ | ョ ยุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
カ คะ | キ คิ | ク คุ | ケ เคะ | コ โคะ | キャ คิ ยะ | キュ คิ ยุ | キョ คิ โยะ |
サ ซะ | シ ชิ | ス ซุ | セ เซะ | ソ โซะ | シャ ชิ ยะ | シュ ชิ ยุ | ショ ชิ โยะ |
タ ทะ | チ จิ | ツ สึ | テ เทะ | ト โทะ | チャ จิ ยะ | チュ จิ ยุ | チョ จิ โยะ |
ナ นะ | ニ นิ | ヌ นุ | ネ เนะ | ノ โนะ | ニャ นิ ยะ | ニュ นิ ยุ | ニョ นิ โยะ |
ハ ฮะ | ヒ ฮิ | フ ฮุ ฟุ | ヘ เฮะ | ホ โฮะ | ヒャ ฮิ ยะ | ヒュ ฮิ ยุ | ヒョ ฮิ โยะ |
マ มะ | ミ มิ | ム มุ | メ เมะ | モ โมะ | ミャ มิ ยะ | ミュ มิ ยุ | ミョ มิ โยะ |
ヤ ยะ | ユ ยุ | イェ เย อิเยะ | ヨ โยะ | ||||
ラ ระ | リ ริ | ル รุ | レ เระ | ロ โระ | リャ ริ ยะ | リュ ริ ยุ | リョ ริ โยะ |
ワ วะ | (ヰ) ウィวิ อุวิ | (ヱ) ウェ เวะ อุเวะ | (ヲ) ウォ โวะ อุโวะ | ||||
ン n | |||||||
ガ กงะ | ギ กงิ | グ กงุ | ゲ เกงะ | ゴ โกงะ | ギャ กงิ ยะ | ギュ กงิ ยุ | ギョ กงิ โยะ |
ザ ซะ | ジ จิ | ズ ซุ | ゼ เซะ | ゾ โซะ | ジャ จิ ยะ | ジュ จิ ยุ | ジョ จิ โยะ |
ダ ดะ | ヂ (จิ) | ヅ (ซึ ซุ) | デ เดะ | ド โดะ | ヂャ (จิ ยะ) | ヂュ (จิ ยุ) | ヂョ (จิ โยะ) |
バ บะ | ビ บิ | ブ บุ | ベ เบะ | ボ โบะ | ビャ บิ ยะ | ビュ บิ ยุ | ビョ บิ โยะ |
パ ปะ | ピ ปิ | プ ปุ | ペ เปะ | ポ โปะ | ピャ ปิ ยะ | ピュ ปิ ยุ | ピョ ปิ โยะ |
(ヷ) ヴァ va | (ヸ) ヴィ vi | ヴ vu | (ヹ) ヴェ ve | (ヺ) ヴォ vo | ヴャ vya | ヴュ vyu | ヴョ vyo |
シェ ชิเย เช | |||||||
ジェ จิเย เจ | |||||||
チェ จิเย เจ | |||||||
ティ ที | トゥ ทู | テュ ทยู | |||||
ディ ดี | ドゥ ดู | デュ ดยู | |||||
ツァ สุอา | ツィ สุอี | ツェ สุเอ | ツォ สุโอว | ||||
ファ ฮุอา ฟา | フィ ฮุอิ ฟี | フェ ฮุเอ เฟ | フォ ฮุโอ โฟ | フュ ฟู |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- คะตะคะนะ ((อังกฤษ))