ตลาด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาด คือ ที่ชุมนุมเพื่อขายสินค้า ขณะที่ในทางเศรษฐศาสตร์ระบุว่า คือ สถานที่ที่อุปสงค์ คือความต้องการซื้อ กับอุปทาน คือ ความต้องกายขาย มาพบกัน ทั้งสองความหมายล้วนชี้ชัดถึงเรื่องของการค้าขายเท่านั้น แต่หากพิจารราลึกซึ้งลงไปก็จะพบว่า ตลาดยังเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนข่าวสาร วัฒนธรรม ของคนในชุมชน ไปจนถึงต่างชุมชน ต่างหมู่บ้าน ต่างท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับขนาดและที่ตั้งของตลาดนั้นๆ เช่น ตลาดในภาคเหนือ เรามักพบเห็นชาวเขานำพืชผักสินค้าพื้นเมืองจากดอยลงมาขาย และซื้อสินค้าจากพื้นราบกลับไป ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งกันและกัน หรือในภาคตะวันตก อีสาน เหนือ ที่มีกาดวัว กาดควาย คือ ตลาดขายวัว ควาย ซึ่งนอกจากจะเป็นตลาดขายสินค้าเฉพาะอย่างแล้ว ยังมีผู้เชี่ยวชาญในแขนงมาแลกเปลี่ยนให้ความรู้กันและกันอีกด้วย
จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ทำให้เราพบว่า ตลาดนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว "เบื้องตีนนอนสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่นา มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก"
การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย การปรากฏตลาดน้ำในกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
[แก้] ตลาดน้ำ
ตลาดน้ำ หรือ ตลาดเรือ เกิดขึ้นตามลำคลองที่เป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ๆของคนไทย นอกจากชาวบ้านในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะค้าขายกันในเรือแล้ว มีการสร้างเรือนแพรับฝากขายสินค้านานาชนิดอีกด้วย เช่น ย่านคลองบางปะกอก ย่านท่าเตียน ย่านคลองมหานาค เป้นต้น เมื่อการค้าขายคับคั่งจอแจมากขึ้นในทางน้ำ ก็เริ่มขยับขยายมาขายบนบน ซึ่งเราเรียกกันว่า "ตลาดบก"
[แก้] ตลาดบก
ตลาดบก เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ในสมัย พ.ศ. 2398 ย่านการค้าขายที่คับคั่งทางแม่น้ำลำคลองก็ย้ายขึ้นมาบนบก ตามแผนพัฒนาประเทศของพระองค์ มีการสร้างถนน และตึกรามบ้านช่อง การเกิดตลาดบก เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระองค์ มีห้างร้านที่ค้าขายเกิดขึ้นมากมายบนถนนเจริญกรุง ถนนสี่พระยา ถนนตะนาว
[แก้] อ้างอิง
- คู่มือนักชอป จะซื้อซะอย่าง โดย ณัฐชยา
ตลาด เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ตลาด ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |