ทรงชัย รัตนสุบรรณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายทรงชัย รัตนสุบรรณ เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2489 ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของ นายสุบรรณ และนางบุญรัตน์ รัตนสุบรรณ สมรสกับนางเสาวนีย์ รัตนสุบรรณ (ตั้งกงพานิช) มีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน 1. น.ส.ภัทรภร รัตนสุบรรณ 2.นายศิรภพ รัตนสุบรรณ 3.น.ส.ปริยากร รัตนสุบรรณ
สารบัญ |
[แก้] ประวัติการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จาก โรงเรียนวัดแหลมใต้ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
- สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
- สำเร็จการศึกษาระดับ อาชีวศึกษา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ปริญญากิตติมศักดิ์
- ปี พ.ศ. 2536 ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการทั่วไป จากวิทยาลัยครูจันทร์เกษม
- ปี พ.ศ. 2537 ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ (พลศึกษา) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปี พ.ศ. 2538 ปริญญาบัตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
[แก้] ประวัติการเป็นโปรโมเตอร์
พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโปรโมเตอร์ครั้งแรก ที่สนามมวยเวทีลุมพินี 4 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นนายสนามมวยมาตรฐานแห่งใหม่ โดยสร้างสนามมวยขึ้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชื่อว่า สนามมวยนานาชาติ (ประเทศไทยไทย) จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีพล อ.เชษฐา ฐานะจาโร ผู้บัญชาการทหารบก/นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเป็นประธานในพิธีเปิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้ลาออกจากการเป็นโปรโมเตอร์ของสนามมวยเวทีลุมพินีและได้ทำการจัดแข่งขันที่เวทีมวยลุมพินีเป็นครั้งสุดท้าย 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้ย้ายการจัดการแข่งขันชกมวยจากสนามมวยนานาชาติ ไปแข่งขันที่สนามมวยชั่วคราวห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน 7 มกราคม พ.ศ. 2544 เริ่มจัดการแข่งขันที่สนามมวยชั่วคราวห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน/ท่าพระ 25 มกราคม 2544 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโปรโมเตอร์คนที่ 13 ของสนามมวยเวทีราชดำเนิน ประเดิมนัดแรกในรายการ " ศึกมหาชนวันทรงชัย "
[แก้] การดำเนินงานธุรกิจ
นายทรงชัยเริ่มก่อตั้งบริษัท ทรงชัย บ๊อกซิ่ง โปรโมชั่น จำกัดในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นบริษัทแรกเพื่อ ที่จะดำเนินธุรกิจทางด้านการจัดแข่งขันมวย
- บริษัทที่ 2 ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ใช้ชื่อว่า บริษัทมวยไทย โปรโมชั่น จำกัด เพื่อรองรับการขยาย งานที่มากขึ้นธุรกิจของคุณทรงชัยก็ได้มีการเจริญก้าวมาอย่างต่อเนื่องจึงขยายธุรกิจโดยเปิดบริษัทเพิ่มอีก 4 บริษัทในเวลาต่อมา ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการมวย อาทิเช่น การจัดการแข่งขันชกมวยไทย มวยสากล ผลิตและจัดจำหน่าย วีซีดี ดีวีดี การแข่งขันชกมวย ฯลฯ ดังนี้
- บริษัท เอสเอสอาร์ โปรโมชั่น จำกัด ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537
- บริษัท ทรงชัย อินเตอร์เนชั่นแนล โปรโมชั่น จำกัด ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
- บริษัท เอส.เอส.บ๊อกซิ่ง โปรดักชั่น จำกัด ในวันที่ 18 มีนาคาม พ.ศ. 2540
- บริษัท วันทรงชัย จำกัด ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นลำดับสุดท้าย
โดยทุกบริษัทที่กล่าวมานายทรงชัยได้ก่อตั้งและดำเนินงานทางด้านธุรกิจนประสบความสำเร็จ แล้วจึงมอบหมายงานให้ บุตรและธิดา เข้ามาช่วยบริหารงานต่อจากนายทรงชัย และประสบความสำเร้จสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
- โปรโมเตอร์เวทีมวยราชดำเนิน
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- ประธานฝ่ายกีฬามวย มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน
- โปรโมเตอร์เกียรตินิยมสมาคมมวยโลก (WBA)
[แก้] ผลงาน
ผลงานโดดเด่นที่เจ้าตัวภูมิใจคือการเปิดตลาดมวยไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และจัดการถ่ายทอดสดมายังประเทศไทยในคืนวันส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ต่อจากนั้นมีการถ่ายทอดสดมวยไทยจากต่างประเทศมาจนถึงปัจจุบันเรื่อยมา นับได้ว่าเป็นผลงานประวัติศาสตร์ ครั้งแรกของ " ศิลปะมวยไทย " ที่ไปเผยแพร่นอกบ้านได้อย่างสมบูรณ์ 1. ผู้จัดมวยไทยที่ได้รับการยอมรับเป็นโปรโมเตอร์เบอร์ 1 มากกว่า 15 ปี 2. เปลี่ยนรายการมวยทีวี โดยนำนักชกเงินแสน และรายการมวยเงินล้าน ถ่ายทอดสู่ผู้ชมทางบ้าน 3. นำศิลปะมวยไทย ไปเผยแพร่ทั่วทุกทวีปของโลก และถ่ายทอดสดกลับสู่ประเทศไทย และเป็นทูตมวยไทยไปเผยแพร่ศิลปะมวยไทย ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลก 4. เป็นผู้สร้างมวยสากล ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด และได้รับการยอมรับเป็นโปรโมเตอร์เกียรตินิยมของโลกซึ่งมีสมาชิก 147 ประเทศทั่วโลก และสมาคม WBA มอบรางวัลให้ในฐานะมีแชมป์โลกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2538 คือ 1. แสน ส.เพลินจิต 2. หยกไทย ศิษย์ อ. 3. พิชิต ช.ศิริวัฒน์ 4. ดาวรุ่ง ช.ศิริวัฒน์ และสร้างแชมป์โลกทั้งหมดรวม 9 คน ได้แก่ สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เมืองชัย กิตติเกษม, พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์, ยอดสนั่น ส.นันทชัย, ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา
[แก้] รางวัลและเกียรติคุณ
- ปี พ.ศ. 2537 รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเบญมาภรณ์ช้างเผือก (บช.)
- 26 กันยายน พ.ศ. 2527 ให้การสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของหน่วยกองพลทหารราบที่ 2
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2533 ให้การสนับสนุน "ศึกธารน้ำใจ วันทรงชัยมหากุศล" จ.ฉะเชิงเทรา
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2535 โล่ห์รางวัลเกียรติยศประกาศเกียรติคุณ บุคคลตัวอย่าง ผู้เผยแพร่ศิลปะมวยไทย
- 20 มีนาคม พ.ศ. 2539 ให้การสนับสนุนการแข่งขันชกมวย ช่วยเหลือการศึกษาเยาวชนชายแดนของนักเรียนเตรียมนายร้อย 18 จปร. 11
- 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้รับประกาศเกียรติคุณ บุคคลสร้างสรรค์ ส่งเสริมกีฬามวยสมัครเล่น จนได้ครองเหรียญโอลิมปิค ที่บาเซโลน่า 1992
- 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล "ศึกวันทรงชัย" ของกองทัพภาคที่ 4
- 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุนจัดมวยการการกุศล " ศึกจตุรงค์ 14" ชมรมนักเรียนเตรียมทหาร
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล หารายได้จัดตั้งศูนย์เยาวชนค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ของศูนย์การบินทหารบก
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล "ศึกวันทรงชัย มหากุศล" จ.ฉะเชิงเทรา
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล ของกองพลทหารรายที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2536 ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตำแหน่งที่ปรึกษาผู้อำนายการกองกรรมมาธิการ 2
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล ของสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ให้การสนับสนุนการจัดมวยการกุศล หารายได้ช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาส จ.เพชรบุรี
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตร จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลโล่ห์เกียรติยศ " ผู้ทรงคุณค่าวงการกีฬา " ของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวฯ
- 15 กันยายน พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัล " ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม "
- 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้นายทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการกีฬามวย
- 11 กันยายน พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลเกียรติยศ "บุคคลในวงการกีฬาที่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้จัดการนักมวย ระดับแชมป์โลก " ของคณะกรรมาธิการกีฬา วุฒิสภามอบให้โดย พลตรีมนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2546 บริจาคเงินการกุศล สถานีตำรวจนางเลิ้ง
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2547 บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ จำนวน 100,000 บาท ในการจัดมวยการกุศล "ศึกมหาชนวันทรงชัย"
- 6 ธันวาคม พ.ศ. 2547 บริจาคผ้าป่า
- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จัดมหกรรมมวยไทยช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ สินามิ ประธานจัดงานนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จัดการแข่งขันชกมวยการกุศล วัดผาติการาม
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นวิทยากรรับเชิญเรื่อง " มวยไทย อดีต ปัจจุบัน อนาคต " ที่รัฐสภา
[แก้] การดำรงตำแหน่ง
- เป็นประธานอนุกรรมการฝ่ายกีฬามวย มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
- ประธานฝ่ายกีฬามวยไทย 12 สิงหามหาราชินี
- เป็นคณะกรรมการ " รัฐสภาซับน้ำตาผู้ประสบอุทกภัย "
- เป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการกีฬามวย
นายทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นบุคคลที่วงการมวยและสังคมยอมรับว่าเป็นโปรโมเตอร์หมายเลขหนึ่งของประเทศไทย เป็นบุคคลที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวงการมวยในเมืองไทย เป็นบุคคลที่ทุกคนรู้จักแม้จะไม่ได้เป็นแฟนมวยก็ตาม นายทรงชัยมีชื่อเล่นว่า ซ้ง บุคคลในวงการมวยนิยมเรียกว่า เสี่ยซ้ง หรือ บิ๊กซ้ง ปัจจุบันได้โอนถ่ายงานส่วนหนึ่งให้แก่ลูกชาย คือ ศิรภพ รัตนสุบรรณ และลูกสาว คือ ปรียากร รัตนสุบรรณ เป็นผู้ดูแล