ท้าวขำติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในที่สุดในปี พ.ศ. ๑๙๒๓ เมื่อหาบุคคลที่สมควรที่จะเป็นกษัตริย์ไม่ได้จริงๆ ขุนนางจึงได้สถาปนาโอรสองค์ที่สามของสุขางฟ้าเป็นกษัตริย์
สารบัญ |
[แก้] แก้แค้นชุติยะ
สิ่งแรกที่ท้าวขำติทรงกระทำคือ ยกทัพไปตีชุติยะ เพื่อแก้แค้นที่ชุติยะลอบปลงพระชนม์สุทุฟ้า
[แก้] กล่าวหามเหสีองค์รอง
ในขณะที่ท้าวขำติไม่อยู่พระมเหสีองค์ใหญ่จึงเป็นผู้สำเร็จราชการในเวลานั้น พระนางไม่ถูกกับพระมเหสีองค์รองที่เป็นที่โปรดปรานของท้าวขำติ และได้ถือโอกาสในฐานะผู้สำเร็จราชการกล่าวหาพระมเหสีองค์รองว่ามเหสีองค์รองทรงเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ จึงให้ดำเนินการสอบสวน และได้ประกาศว่ามเหสีองค์รองเป็นปฏิปักษ์ต่อพระนางจริง จึงสั่งให้ประหารชีวิต แต่พวกขุนนางพากันสงสาร เพราะพระนางทรงพระครรภ์ จึงลอยแพพระนางตามลำน้ำพรหมบุตร
[แก้] สอบสวนใหม่
ท้าวขำติเสด็จกลับมาด้วยชัยชนะ ได้ให้ทำการสอบสวนใหม่ กลับปรากฏว่ามเหสีองค์รองเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจของพระมเหสีองค์ใหญ่มากเกินไปจนไม่สามารถลงโทษพระนางได้
[แก้] ลอบปลงพระชนม์
เพราะพระองค์ไม้สามารถลงพระมเหสีเพราะตกอยู่ในอำนาจมากเกินไป ประกอบกับพระมเหสีองค์ใหญ่ทำการกดขี่ข่มเหงราษฎรนานับประการ ทำให้พวกขุนนางไม่สามารถจะทนอยู่ได้ จึงพากันโกรธแค้นและพร้อมใจลอบปลงพระชนม์ท้าวขำติใน พ.ศ. ๑๙๓๒
[แก้] ดูเพิ่ม
รัชสมัยก่อนหน้า: ผู้สำเร็จราชการแทนสุทุฟ้า |
ประมุขแห่งอาหม ราชวงศ์อาหม พ.ศ. 1923 - พ.ศ. 1932 |
รัชสมัยถัดไป: ผู้สำเร็จราชการแทนท้าวขำติ |