สุขางฟ้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุขางฟ้า โอรสของสุพินฟ้า ครองราชย์สืบมา บ้านเมืองอยู่ในความสงบ ชาวอาหมเพิ่มจำนวนเป็นอันมากตามธรรมชาติ จากการเข้ามาสวามิภักดิ์ของชนพื้นเมืองในท้องถิ่นต่างๆ และจากการที่ชาวอาหมอพยพเข้ามาอยู่ใหม่จากถิ่นฐานบ้านเดิม กำลังของอาหมจึงแข็งแกร่งทัดเทียมกับราชาแคว้นอื่นๆ โดยรอบ ผลก็คือสงครามยืดเยื้อหลายครั้งซึ่งที่สุด ชาวอาหมก็เป็นใหญ่ทั่วลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร
สารบัญ |
[แก้] สงครามระหว่างอาหม-กามะตา
น่าแปลกใจที่อาหมไม่ได้ต่อสู้กับพวกชุติยะ และกะฉารี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด แต่กลับปะทะกับราชาแห่ง กามะตา สงครามนี้ดำเนินมาหลายปี ในที่สุดกามะตาซึ่งอ่อนแอไปมากจากการสู้รบได้ส่งทูตขอสงบศึก และจัดทำสนธิสัญญาสงบศึก ราชาแห่งกามะตาต้องยกพระธิดาชื่อ รัชนี ให้แก่กษัตริย์อาหม เพื่ออุปภิเษกเป็นชายา
[แก้] พระราชโอรส
สุขางฟ้ามีพระโอรส ๔ พระองค์ ได้แก่
[แก้] สุขางฟ้าไม่ส่งเครื่องบรรณาการ
ตำนานบุราณชิ ฉบับหนึ่งระบุว่าประมุขแห่งเมืองกังส่งสาสน์ไปยังสุขางฟ้าให้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวาย ในฐานะที่เป็นผู้สืบเชื้อสายตรงจากประมุขเมืองลุง ซึ่งสุกาฟ้าได้อพยพออกจากเมืองในรัชกาลประมุขคนนี้ แต่สุขางฟ้าไมยอมทำตาม และเรื่องก็เงียบหายไป
[แก้] สิ้นพระชนม์
สุขางฟ้าสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.๑๘๗๕ ภายหลังการครองราชย์ ๓๙ ปี
[แก้] ดูเพิ่ม
รัชสมัยก่อนหน้า: สุพินฟ้า |
ประมุขแห่งอาหม ราชวงศ์อาหม พ.ศ. 1836 – พ.ศ. 1875 |
รัชสมัยถัดไป: สุกรังฟ้า |