บุญกิริยาวัตถุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
บุญกิริยาวัตถุ (อ่านว่า บุนยะ -) แปลว่า เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หมายถึงเหตุเกิดบุญ, วิธีการทำบุญ, วิธีที่เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าทำบุญและจะได้รับผลเป็นความสุข
บุญกิริยาวัตถุโดยย่อมี 3 ประการคือ
- ทานมัย การให้ทาน
- ศีลมัย การักษาศีล
- ภาวนามัย การอบรมจิตใจ
บุญกิริยาวัตถุโดยพิสดาร มี 10 ประการ คือ
- เหมือนข้างต้น
- เหมือนข้างต้น
- เหมือนข้างต้น
- อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน
- เวยาวัจมัย การช่วยเหลือผู้อื่น
- ปัตติทานมัย การแผ่ส่วนบุญ
- ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญ
- ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม
- ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม
- ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548