ปราสาทบายน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทบายน เป็นปราสาทหินของอาณาจักรขอม อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7-8 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1200 ในช่วงราว 2 ศตวรรษ นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า
ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลายๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลังๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันมา
[แก้] รูปสลัก และศิลปกรรม
สัณฐานของกลุ่มอาคารประกอบด้วยระเบียงคต (gallery) ล้อมรอบอยู่ 2 ชั้น เรียกว่าชั้นในและชั้นนอก ชั้นนอกจะสร้างก่อนชั้นใน ระเบียงจะมีเสาหินเรียงรายสองข้าง และมักมีรูปสลักนูนต่ำของนางอัปสรอยู่ รวมทั้งรูปสลักภาพประวัติความเป็นมาและสังคมในสมัยนั้น เช่น การรบระหว่างขอมกับจาม เป็นต้นระเบียงชั้นนอกจะเข้าถึงที่ตั้งของบรรณาลัย หรือหอหนังสือ (Library) 2 จุด คือหอเหนือ และหอใต้ ส่วนระเบียงชั้นในซึ่งสร้างในยุคหลัง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปสลักจากรูปชีวิตประจำวัน เป็นรูปสลักทางศาสนามากขึ้น
รอบ ปราสาทบายนที่เสียมเรียบจะปรากฏภาพโดยเฉพาะภาพแกะสลักอายุนับพันปีเหล่านั้น รอบปราสาทบายนจะเห็นภาพของ "การประดั่ญ" เรียกเป็นภาษาไทยว่า ภาพการต่อสู้ อยู่บนกำแพงปราสาทบายน "มวย" เป็นศาสตร์อันยิ่งใหญ่ มรดกของขอมแห่งสุวรรณภูมิ ขอม เป็นคนละชนชาติกันกับ ขะแมร์ หรือกัมพูชาในทุกวันนี้มวยนี่มันมีมานานตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจคำว่า มวย เอง เป็น ภาษาขะแมร์ แปลว่า "หนึ่ง"ทั้งหมดนี้ไทยรับคำมาจากขะแมร์เพราะอิทธิพลความรุ่งเรืองของขะแมร์ที่รับมาจากขอม มาจากคำว่า "เนี๊ยะประดั่ญเลขมูย" อันมีความหมายว่านักสู้อันดับหนึ่ง และเรียกกันสั้น ๆ ว่า"เนี๊ยะมูย" และคนไทนำมาเรียกสั้น ๆ ว่า "นักมวย"
ปราสาทขอม ในพื้นที่ต่างๆ |
---|
พระนคร | นครธม · นครวัด · ปักษีจำกรง · บันทายกเดย · บันทายสำเหร่ · บันทายศรี · บากอง · บาปวน · บายน · เจ้าสายเทวดา · บารายตะวันออก · แม่บุญตะวันออก · กบาลสะเปียน · คลัง · โกรลโค · โลเลย · นาคพัน · พิมานอากาศ · พนมบาแค็ง · พนมกรอม · ปราสาทอักยุม · กระวาน · พระขรรค์ · พระโค · พระป่าเลไลย์ · พระปิตุ · แปรรูป · สะพานทมอ · สระสรง · ตาพรหม · ตาโสม · ตาแก้ว · ตาเนย · ลานช้าง · ลานพระเจ้าขี้เรื้อน · ธรรมานนท์ · บารายตะวันตก · แม่บุญตะวันตก |
ส่วนอื่นๆ ของกัมพูชา | บันทายชมาร์ · บึงมาลา · เกาะแกร์ · เขาพระวิหาร |
ประเทศไทย | พระปรางค์สามยอด · พนมรุ้ง · เมืองต่ำ · พิมาย · เมืองสิงห์ · พนมวัน · สดกก๊กธม · ปรางค์พรหมทัต · ปรางค์กู่ · วัดสระกำแพงใหญ่ · ตาเล็ง · ศีขรภูมิ · ตาเมือน · ตาเมือนธม · ตาเมือนโต๊จ · ห้วยทับทัน · ภูมิโปน · ยายเหงา · จอมพระ · ตระเปียงเตีย · บ้านพลวง · บ้านไพล |
ประเทศลาว | วัดภู |