ป่าชายเลน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป่าชายเลน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า: Mangrove forest มาจาก คำว่า Mangue ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า สังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลของดินเลน บางครั้งเรียกป่าชายเลนว่า Intetidal forest เพราะเป็นป่าที่ขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด ป่าชายเลน หมายถึง ป่าไม้ที่ขึ้นในบริเวณหาดเลนของฝั่งทะเลในเขตร้อน และบริเวณปากน้ำที่มีเขตติดต่อกับทะเลซึ่งมีกระแสน้ำราบเรียบ พื้นที่จะต้องมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดเวลา หรืออย่างน้อยในขณะที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด พรรณไม้ส่วนใหญ่ไม่ผลัดใบ
สารบัญ |
[แก้] ประเภทของป่าชายเลน
ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด
- Basin forest เป็นป่าชายเลนที่มี พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากน้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
- Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน
- Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด
- Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ
[แก้] การกระจายของป่าชายเลน
ประเทศไทยมี 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตลอดไปจนถึงภาคใต้ทั้งสองฝั่ง โดยมีพื้นที่รวม 275,805 ตารางกิโลเมตร ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของป่าชายเลน
- ลักษณะชายฝั่ง ป่าชายเลนโดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีสภาพดินเป็นดินเลนและเป็นที่ราบกว้างมีน้ำทะเลทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ
- แสงสว่าง พันธุ์ไม้ป่าชายเลน เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการแสงสว่างเป็นอย่างมาก
- ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนทำให้ความเค็มของน้ำทะเลลดลงและทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมประมาณ 1,500 – 3,000 ม.ม./ปี
- อุณหภูมิ อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์แสง การหายใจ การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพันธุ์ไม้โดยเฉพาะการแตกใบอ่อนโดยช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18 – 30 Co
- ลม ลมมีอิทธิพลต่อการละเหย การคายน้ำ และลมมีอิทธิพลต่อความแรงของคลื่นในบริเวณที่มีลมแรง ต้นไม้จะแคระแกรนมีรูปทรงผิดปรกติได้
- การขึ้น – ลงของน้ำ ช่วงเวลาการขึ้น – ลงของน้ำ บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นตัวกำหนดการอยู่ของป่าชายเลน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มในบริเวณป่าชายเลน เมื่อน้ำทะเลขึ้นความเค็มจะสูง เมื่อน้ำทะเลลดความเค็มจะลดลง และการท่วมน้ำทะเลจะพาเอาหนอนดิน (แม่เพรียง)ให้มาอาศัยในป่าชายเลนซึ่งหนอนดินนี้ จะช่วยให้ดินในป่าชายเลนมีคุณภาพดีเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
- คลื่นและกระแสน้ำ คลื่นและกระแสน้ำมีผลโดยตรงต่อการกระจายพันธุ์ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนช่วยพัดพาธาตุอาหารเข้า – ออกจากป่าชายเลน
- ความเค็มของน้ำ มีผลต่อการเจริญเติบโต การรอดตายและการแบ่งเขต การขึ้นอยู่ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนโดยปกติแล้ว พันธุ์ไม้ป่าชายเลนเจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณน้ำกร่อย
- ออกซิเจน ปริมาณออกซิเจนมีผลต่อการหายใจและสังเคราะห์แสงของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนซึ่งปริมาณ O2 ในน้ำบริเวณป่าชายเลน จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด 24 ชม. โดยจะมีปริมาณต่ำสุดในเวลากลางคืน และสูงสุดในเวลากลางวัน
- ดิน ดินในป่าชายเลนเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่ไหลมากับน้ำจากแหล่งต่างๆ ลักษณะของดินมีส่วนใหญ่ในการเจริญเติบโตและการกระจายของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
- ธาตุอาหาร ธาตุอาหารส่วนใหญ่ของป่าชายเลนได้มากจากการชะล้างไหลผ่านของน้ำจากแผ่นดินลงสู่ทะเล และจากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยย่อยสลายในบริเวณป่าชายเลน
[แก้] ประโยชน์ของป่าชายเลน
ประโยชน์ทางตรง
- ใช้ก่อสร้างทำเฟอร์นิเจอร์ : ไม้จากป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม ตะบูน เหมาะที่จะใช้ทำเสาเข็ม คาน โครงสร้างหลังคา ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง เสารางแร่
- ทำฟืนเผาถ่าน : ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกาง นำมาทำฟืนและเผาเป็นถ่าน จะได้ถ่านที่มีคุณภาพดีมากในบรรดาถ่านไม้ด้วยกัน ในจังหวัดสมุทรสงครามนั้นมีตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา เป็นแหล่งปลูกไม้โกงและเผาถ่านของจังหวัดสมุทรสงครามในปีหนึ่งทำเงินให้กับเกษตรกร เป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว
- ใช้เป็นสมุนไพร : ป่าชายเลนเป็นแหล่งสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ เปลือกใช้ต้มน้ำรับประทานเป็นยาแก้ท้องร่วง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง ตะบูนขาว ตะบูนดำ ใช้เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง ใบ ต้นจากใช้ขับเสมหะ ถั่วดำใช้รักษาโรคทางเดินอาหารอักเสบในเด็ก และต้นจากเป็นพันธุ์ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ใช้ผลทำอาหาร ใบมุงหลังคา
ประโยชน์ทางอ้อม
- ด้านประมง ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์น้ำเป็นแหล่งอาศัยหลบภัย และแหล่งอนุบาลตัวอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่
- ด้านสิ่งแวดล้อม ป่าชายเลนมีหน้าที่ปรับสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ บนบก และระบบนิเวศน์ในทะเลป้องกันการพังทลายของดินชายฝั่ง กรองของเสียที่จะไหลออกสู่ทะเล ลดความรุนแรงของลมพายุ และเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- http://http://www.wildlifefund.or.th/07_Habitats/05_mangrove/mangrove00.html/ ข้อมูลพื้นฐานป่าชายเลน]
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับป่าชายเลน
- มหัศจรรย์ป่าชายเลน