พระอรหันต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
พระอรหันต์ คือ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ ๑๐ ประการ
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะของพระอรหันต์
[แก้] แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
พระอรหันต์ ๒ คือ
- พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่น
- พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
[แก้] แบ่งตามคุณวิเศษ
พระอรหันต์ ๔ คือ
- พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)
- พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ))
- พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ))
- พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)
[แก้] แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน
พระอรหันต์ ๕ คือ
- พระปัญญาวิมุต
- พระอุภโตภาควิมุต
- พระเตวิชชะ
- พระฉฬภิญญะ
- พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ
- ไกลจากกิเลส
- กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
- เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
- เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
- ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง