สังโยชน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ
- ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
- ๑. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา
- ๒. วิจิกิจฉา - สงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น
- ๔. กามราคะ - ความติดใจในกามคุณ
- ๕. ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ
- ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
- ๖. รูปราคะ - ความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
- ๗. อรูปราคะ - ความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
- ๘. มานะ - ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
- ๙. อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน
- ๑๐. อวิชชา - ความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
- พุทธทาสภิกขุ. "ตัวกู-ของกู ฉบับย่อความ". บทที่ ๖ วิธีลดอัตตา