พ.ศ. 2484
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2481 2482 2483 - พ.ศ. 2484 - 2485 2486 2487 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 24 - พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.ศ. 2477-2489)
- นายกรัฐมนตรี : จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2484
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 1 มกราคม - ครั้งแรกของประเทศไทยที่กำหนดให้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ หลังจากเคยใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่มาก่อนหน้านี้
- 17 มกราคม - ยุทธนาวีเกาะช้าง : กองเรือรบราชนาวีไทยเข้าปะทะต่อสู้กับกองเรือรบฝรั่งเศส ที่ล่วงล้ำเข้าสู่น่านน้ำด้านจังหวัดตราด
- 6 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : นาซีเยอรมันรุกรานยูโกสลาเวียและกรีซ
- 10 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : ฝ่ายอักษะสถาปนารัฐอิสระโครเอเชีย
- 27 เมษายน - บีบีซี ภาคภาษาไทย ออกอากาศเป็นครั้งแรก
- 9 พฤษภาคม - ประเทศไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างกันที่กรุงโตเกียว หลังสิ้นสุดกรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส
- 10 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : รูดอล์ฟ เฮสส์ ผู้นำนาซี โดดร่มลงในสกอตแลนด์ โดยอ้างว่ามาในภารกิจเพื่อสันติภาพ
- 24 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : เรือรบเอชเอ็มเอส ฮูด ของสหราชอาณาจักร อับปางลงจากการโจมตีของเรือรบ บิสมาร์ค ของเยอรมันในสมรภูมิช่องแคบเดนมาร์ก
- 27 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : เรือรบบิสมาร์กของเยอรมันถูกจมลงในแอตแลนติกเหนือ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2,300 คน
- 30 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยวาย ณ แคว้นอังกฤษ สหราชอาณาจักร
- 1 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : สิ้นสุดศึกแห่งครีต เมื่อครีตยอมจำนนแก่เยอรมนี
- 3 มิถุนายน - พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ฌาปนสถานโกลเดอร์สกรีน ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
- 22 มิถุนายน - นาซีเยอรมันเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในยุทธการบาร์บารอสซา
- 24 มิถุนายน - โรงพยาบาลศรีธัญญา เปิดดำเนินการเป็นวันแรก
- 8 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกเข้าโจมตีซีเรียและเลบานอน
[แก้] กรกฎาคม-ธันวาคม
- 14 สิงหาคม - วินสตัน เชอร์ชิลล์ และ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก
- 31 ตุลาคม - กัตซอน บอร์กลัม กับคนงาน 400 คน สร้างรูปปั้นครึ่งตัวของประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน, โทมัส เจฟเฟอร์สัน, ทีโอดอร์ รูสเวลต์ และอับราฮัม ลิงคอล์น บนภูเขารัชมอร์ เสร็จสมบูรณ์
- 7 ธันวาคม - การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยกองทัพญี่ปุ่น ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ
- 8 ธันวาคม - สงครามมหาเอเชียบูรพา : กองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านจังหวัดพิบูลสงคราม และยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เพื่อขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปสู่พม่าและมลายู จากนั้นมาคนไทยทั้งในและนอกประเทศร่วมกันก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านการรุกราน
- 14 ธันวาคม - สงครามมหาเอเชียบูรพา : จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ลงนามในเอกสารหลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
- 21 ธันวาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : ประเทศไทยทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ในการร่วมมือกันทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยกระทำพิธี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
[แก้] ไม่ทราบวัน
- กระทรวงธรรมการ เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงศึกษาธิการ
- ก่อตั้ง ธนาคารนครหลวงไทย
[แก้] เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
- สงครามจีน-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2480-2488)
- สงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2482-2488)
[แก้] วันเกิด
- 1 มกราคม - ศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 4 มกราคม - มิตสุโนริ เซกิ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 5 มกราคม - ฮายาโอะ มิยาซากิ ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชันชาวญี่ปุ่น
- 30 มกราคม - ดิก เชนนี รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
- 30 มกราคม - เกรกกอรี่ เบนฟอร์ด นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน
- 16 กุมภาพันธ์ - คิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ
- 24 มีนาคม - ปริญญา นาคฉัตรีย์ อดีตกรรมการการเลือกตั้ง
- 10 เมษายน - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
- 6 พฤษภาคม - ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 20 พฤษภาคม - โก๊ะจ๊กตง นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของสิงค์โปร์
- 24 พฤษภาคม - บ็อบ ดีแลน นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 30 มิถุนายน - นิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 20 สิงหาคม - สโลโบดัน มิโลเชวิช อดีตประธานาธิบดีเซอร์เบียและยูโกสลาเวีย (ถึงแก่กรรม 11 มีนาคม พ.ศ. 2549)
- 20 สิงหาคม - สุวรรณ สุวรรณเวโช ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 13 กันยายน - ทะดะโอะ อันโด สถาปนิกชาวญี่ปุ่น
- 4 ตุลาคม - แอนน์ ไรซ์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน
- 31 ตุลาคม - มานิต วิทยาเต็ม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 15 พฤศจิกายน - สัก กอแสงเรือง กรรมการตรวจสอบ คตส.
- 31 ธันวาคม - เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
[แก้] ไม่ทราบวัน
- โตโยโอะ อิโต สถาปนิกชาวญี่ปุ่น
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 19 พฤษภาคม - พระยาอุปกิตศิลปสาร นักประพันธ์ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422)
- 30 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (เสด็จพระราชสมภพ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436)
- 7 สิงหาคม - รพินทรนาถ ฐากูร กวีชาวอินเดีย (เกิด 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2404)
- 11 ธันวาคม - แฟรงก์ คอนราด วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2417)
[แก้] บันเทิงคดีที่อ้างถึงปีนี้
- ภาพยนตร์ไทยเรื่อง กระสือวาเลนไทน์
[แก้] รางวัลโนเบล
- ปีนี้ไม่มีการมอบรางวัล