ภาษาฮิตไตต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮิตไตต์ (Nesili) | ||
---|---|---|
พูดใน: | อะนาโตเลีย | |
สูญหาย: | ประมาณ 1100 ปีก่อนคริสตกาล | |
ตระกูลของภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน อะนาโตเลียน ภาษาฮิตไตต์ |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | ไม่มี | |
ISO 639-2: | hit | |
ISO/DIS 639-3: | hit | |
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
ภาษาฮิตไตต์ จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน หรืออินเดีย-ยุโรป ในอะนาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไตต์ จัดเป็นที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวียน, ลือเดียน, ลือเชียน และ ปาลาอิค
เราได้รู้จักภาษาฮิตไตต์ในเบื้องต้น จากจารึกอักษรลิ่มประมาณ 25,000 แผ่น หรือเศษจารึก ที่ยังคงเก็บรักษาอยู่ในหอจดหมายเหตุเมืองโบอาซเกย (Boğazköy) ในประเทศตุรกี เรียกว่า จารึกฮิตไตต์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงจักรวรรดิฮิตไทต์ (ประมาณ 1400-1190 ปีก่อนคริสตกาล) และเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องอื่นๆ ส่วนจารึกภาษาฮิตไตต์โบราณ (ประมาณ 1650-1595 ปีก่อนคริสตกาล) นั้น ยังมีการเก็บเป็นสำเนาไว้จากสมัยจักรวรรดิ และถือเป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุดในตระกูลภาษาอินเดียยุโรปที่เคยพบมา
นักภาษาตะวันออกศึกษา ชื่อเบดริช โฮรซนี (Bedrich Hrozny)ได้สรุปไว้เมื่อปี 1915 ว่า ฮิตไตต์เป็นภาษาในกลุ่มตระกูลอินเดียยุโรป เพราะมีการลงวิภัตติปัจจัย ของทั้งคำนามและกริยา ที่คล้ายกันกับภาษาในตระกูลเดียวกันนี้ในสมัยต้นๆ ภาษาฮิตไตต์นี้ให้ข้อมูลที่สำคัญมากเกี่ยวกับระบบเสียงของภาษาในตระกูลนี้