จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธภูมิโมกาดิชู |
|
|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองโซมาเลีย |
|
ฮ. แบล็คฮอว์ค บินอยู่เหนือน่านฟ้ากรุงโมกาดิชู |
|
ผู้ร่วมรบ |
หน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ
กองกำลังสหประชาชาติ |
ทหารบ้านของพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลีย |
ผู้บัญชาการ |
วิลเลียม เอฟ. แกริสัน |
โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด |
กำลัง |
160 นาย |
ประมาณ 2,000 นาย |
ความสูญเสีย |
สหรัฐฯ
เสียชีวิต 18 นาย
บาดเจ็บ 73 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 1 นาย
มาเลเซีย
เสียชีวิต 1 นาย
บาดเจ็บ 7 นาย
ปากีสถาน
บาดเจ็บ 2 นาย |
ทหารบ้านและพลเรือน
เสียชีวิตอย่างน้อย 1,000 คน
บาดเจ็บอย่างน้อย 3,000 คน |
|
*กองกำลังร่วมเรนเจอร์ประสบความสำเร็จในการจับกุมตัวลูกสมุนของไอดิดหลายราย แต่ผลทางการเมืองที่ตามมาจากความผิดพลาดจากแผนการที่วางเอาไว้ นำมาซึ่งการถอนตัวของกองกำลังสหรัฐฯ ออกมาจากโซมาเลียในเวลาต่อมา ฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ชัยชนะของสหรัฐฯ ครั้งนี้เป็น 'ชัยชนะแบบยับเยิน' ก็ว่าได้ |
ยุทธภูมิโมกาดิชู หรือที่ชาวโซมาเลียเรียกว่า Ma-alinti Rangers (แปลว่าวันแห่งพวกเรนเจอร์) คือการรบภายใต้ยุทธการโกธิคเซอร์เพนท์ (Operation Gothic Serpent) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการจับกุมขุนพลแห่งพันธมิตรแห่งชาติโซมาเลีย โมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด การสู้รบเริ่มขึ้นในวันที่ 3 และวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (1993) นำโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา สนับสนุนด้วยกองกำลังปฏิบัติการณ์สหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II) ต่อสู้กับทหารบ้านชาวโซมาเลียที่ภักดีต่อโมฮัมเมด ฟาราห์ ไอดิด การรบในกรุงโมกาดิชูครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 (2006)
กองกำลังร่วมเรนเจอร์ของสหรัฐฯ ถูกจัดตั้งขึ้นเฉพาะยุทธการครั้งนี้ ประกอบด้วย กองกำลังปฏิบัติการณ์พิเศษเดลตา (Delta Force), หน่วยรบเนวีซีล (Navy SEAL) 4 หน่วย และทหารเรนเจอร์ (Ranger) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ส่วนการสนับสนุนทางอากาศนั้น กองร้อยการบินปฏิบัติการณ์พิเศษที่ 160 เป็นผู้รับผิดชอบ และสมาชิกของพลร่มกู้ภัยและทหารควบคุมการบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการขนส่งกองกำลังจากที่มั่นไปยังชานเมืองโมกาดิชูเพื่อทำการจับกุมบรรดาผู้นำของทหารบ้านที่ภักดีต่อไอดิด กองกำลังจู่โจมประกอบด้วยอากาศยาน 19 ลำ, ยานพาหนะ 20 คัน และทหาร 160 นาย โดยระหว่างปฏิบัติการณ์นั้น เฮลิคอปเตอร์ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ ถูกยิงตก 2 ลำ โดยเครื่องยิงจรวด RPG-7 ของทหารบ้าน ในขณะที่อีก 3 ลำได้รับความเสียหาย ทหารที่ติดอยู่ที่จุดตกบางส่วนสามารถอพยพกลับมายังฐานที่มั่นได้ ในขณะที่คนอื่นๆ ติดอยู่ตรงจุดตก ฮ. และขาดการติดต่อกับกองกำลังส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดการปะทะระหว่างทหารสหรัฐฯ กับทหารบ้านของไอดิดตลอดทั้งคืนวันที่ 3 จนกระทั่งตอนเช้าวันที่ 4 เมื่อกองกำลังนานาชาติถูกส่งเข้าไปช่วยทหารที่ติดอยู่ออกมา โดยกองกำลังนานาชาติประกอบด้วยทหารจากปากีสถานและมาเลเซีย รวมทั้งกองพลภูธรที่ 10 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถรวบรวมยานพาหนะได้ 100 กว่าคัน รวมไปถึงรถถัง M48 ของปากีสถานและยานเกราะขนส่งบุคคลคอนดอร์ของมาเลเซียหลายคัน สนับสนุนทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์ A/MH-6 ลิตเติลเบิร์ดและ MH-60 แบล็คฮอว์คของสหรัฐฯ กองกำลังนานาชาติสามารถเข้าไปถึงจุดตก ฮ. จุดแรกและพาทหารที่ติดอยู่ออกมาได้ ในขณะที่จุดตกที่สองถูกยึดครองโดยทหารบ้านโซมาเลีย และนักบิน ไมค์ ดูแรนท์ ผู้รอดชีวิตคนเดียวในจุดตก ถูกจับตัวเป็นเชลย แต่ได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา
ความสูญเสียทางฝ่ายโซมาเลียนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยฝ่ายอเมริกันคาดว่าประชาชนพลเรือนและทหารบ้านชาวโซมาเลียประมาณ 1,000-1,500 คนที่เสียชีวิตจากศึกครั้งนี้ และมีผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 3,000-4,000 คน ส่วนฝ่ายอเมริกานั้นเสียทหารไป 83 นายและมีทหารได้รับบาดเจ็บอีก 73 นาย (ไม่รวมถึงจ่าสิบตรีแมท เรียร์สันที่เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยปืน ค. สองวันหลังจากการรบ) ในขณะที่กองกำลังสหประชาชาติ มีทหารมาเลเซียเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีก 7 นาย รวมถึงทหารปากีสถานที่บาดเจ็บอีก 2 นาย