รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16
มีการตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งขัดกับแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ดังนั้นจึงควรมีความศักดิ์สิทธิ์และคงทนถาวร อาจแก้ไขได้ตามเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น กรณีสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันยังไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ยังคงใช้ฉบับเดิมมาแต่แรก มีเพียงการแก้ไขปรับปรุงส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่า รัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและสภาวการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลัก ในการปกครองประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและ กฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้ และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้ง ฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานกระแส พระราชดำรัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำงาน ภายหลังจากนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำ ร่างรัฐธรรมนูญโดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุง โครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยได้คำนึงถึงความ คิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้ว ทุกประการ
เมื่อรัฐสภาได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น อย่างรอบคอบแล้ว ได้ลงมติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สืบไป ทรงพระราชดำริว่า สมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของรัฐสภา
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ ตั้งแต่วันประกาศ นี้เป็นต้นไป
[แก้] เจตนารมณ์เบื้องต้นของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น
- ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
[แก้] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
มีเนื้อหาสาระครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
คำปรารภ
หมวด 1 : บททั่วไป มาตรา มาตรา 1-7
หมวด 2 : พระมหากษัตริย์ มาตรา 8-25
หมวด 3 : สิทธิและเสรีภาพ ของชนชาวไทย มาตรา 26-65
หมวด 4 : หน้าที่ ของชนชาวไทย มาตรา 66-70
หมวด 5 : แนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐ มาตรา 71-89
หมวด 6 : รัฐสภา
-
- ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 90-97
- ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 98-120
- ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 121-135
- ส่วนที่ 4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 136-148
- ส่วนที่ 5 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 149-192
- ส่วนที่ 6 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา 193-195
- ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภา มาตรา 196-198
- ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชน แห่งชาติ มาตรา 199-200
หมวด 7 : คณะรัฐมนตรี มาตรา 201-232
หมวด 8 : ศาล
-
- ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 233-254
- ส่วนที่ 2 รัฐธรรมนูญ มาตรา 255-270
- ส่วนที่ 3 ศาลยุติธรรม มาตรา 271-275
- ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง มาตรา 276-280
- ส่วนที่ 5 ศาลทหาร มาตรา 281
หมวด 9 : การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 282-290
หมวด 10 : การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
-
- ส่วนที่ 1 การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินหนี้สิน มาตรา 291-296
- ส่วนที่ 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มาตรา 297-302
- ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 303-307
- ส่วนที่ 4 การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มาตรา 308-311
หมวด 11 : การตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 312
หมวด 12 : การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 313
บทเฉพาะกาล : มาตรา 314-336
[แก้] รัฐธรรมนูญฉบับอื่นในปัจจุบัน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |