วังเทวะเวสม์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วังเทวะเวสม์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อ พ.ศ. 2457 บนที่ดิน 24 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของวังบางขุนพรหม ทางทิศใต้ของวังเทเวศร์ บนถนนสามเสน ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้
ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ลักษณะเป็นอาคารแบบยุโรป 3 ชั้น หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ศิลปะแบบนีโอคลาสสิค ประกอบด้วยเสาไอโอนิก (Ionic) ที่มุขทางเข้าตำหนัก และเสาแบบคอรินเธียน (Corinthian) ที่ผนังอาคารชั้นบน ซึ่งออกแบบโดย การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2461
อาคารย่อย ประกอบด้วยตึก 7 หลัง ออกแบบโดยเอมิลโย โจวันนี กอลโล (E.G. Gollo) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้ดูแลการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ตึกหม่อมพุก
- ตึกหม่อมลม้าย
- ตึกหม่อมปุ่น - (ปัจจุบัน ยังเป็นที่พำนักของทายาทราชสกุลเทวกุล)
- ตึกหม่อมจันทร์
- ตำหนักพระโอรสพระธิดา ประสูติแต่หม่อมพุก
- ตำหนักหม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ - (ปัจจุบันขายให้ นายบัณฑูร ล่ำซำ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานตาของหม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ ไปสร้างใหม่ที่ "บ้านสามญาณ" ใกล้วัดญาณสังวราราม ตั้งชื่อว่า เรือนเทวะเวสม์ )
- เรือนแพ
ปัจจุบัน อาคารทั้ง 7 หลัง คงเหลือเพียง 2 หลัง คือ ตึกหม่อมลม้าย ตึกหม่อมปุ่น และเรือนแพ
หลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2466 กระทรวงสาธารณสุขได้ซื้อวังเทวะเวสม์จากทายาท และได้ใช้เป็นที่ตั้งกระทรวงตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เมื่อหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้นและคับแคบ ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ที่วังบางขุนพรหมติดกันทางทิศใต้ ต้องการขยับขยาย จึงได้มีการเจรจาแลกพื้นที่กัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดิน 400 ไร่ ในจังหวัดนนทบุรี พร้อมทั้งสร้างอาคารให้ แลกกับการเข้าไปเป็นเจ้าของพื้นที่ทั้งหมดของวังเทวะเวสม์ เมื่อ พ.ศ. 2530
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานในวังเทวะเวสม์ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ได้บูรณะเรือนแพ และตำหนักใหญ่ แล้วเสร็จ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ มีห้องแสดงพระประวัติของบุคคลสำคัญ และห้องแสดงวิธีอนุรักษ์โบราณสถานวังบางขุนพรหมและวังเทวะเวสม์ในเชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณา เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดวังเทวะเวสม์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ลิงก์ภายนอก
วังเทวะเวสม์ เป็นบทความเกี่ยวกับ อาคาร หรือ สถานที่สำคัญ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ วังเทวะเวสม์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |
พระราชวัง | พระบรมมหาราชวัง · พระราชวังจันทรเกษม · พระราชวังดุสิต · พระราชวังบวรสถานมงคล( วังหน้า) · พระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) · พระราชวังบางปะอิน · พระราชวังโบราณ(อยุธยา) · พระราชวังพญาไท · พระราชวังสนามจันทร์ · พระราชวังบ้านปืน |
วัง | วังไกลกังวล · วังจักรพงษ์ · วังจันทรเกษม · วังเจ้าพระยา · วังเดิม · วังตรอกสาเก · วังตลาดน้อย · วังท่าพระ · วังเทวะเวสม์ · วังนางเลิ้ง · วังบูรพาภิรมย์ · วังบางขุนพรหม · วังบ้านหม้อ · วังประมวญ · วังปากคลองตลาด · วังปารุสกวัน · วังพระอาทิตย์ · วังเพ็ชรบูรณ์ · วังมหานาค · วังมะลิวัลย์ · วังรื่นฤดี · วังลดาวิลย์ · วังลักษมีวิลาศ · วังเลอดิศ · วังวรดิศ · วังวรวรรณ · วังวิทยุ · วังศุโขทัย · วังสรรพสาตรศุภกิจ · วังสระปทุม · วังสราญรมย์ · วังสวนบางแก้ว · วังสวนผักกาด · วังสวนสุนันทา · วังสะพานขาว · วังสะพานช้างโรงสี · วังวินด์เซอร์ |
พระตำหนัก | พระตำหนักเกาะสีชัง · พระตำหนักเขาค้อ · พระตำหนักจักรีบงกช · พระตำหนักดอยตุง · พระตำหนักดาราภิรมย์ · พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ · พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ · พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ · พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก · พระตำหนักสิริยาลัย |
อื่นๆ | พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน · พระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) · เขาวัง · คุ้มหลวง · อุทยาน ร. 2 |