วิเวก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงบระงับ สังขารทั้งปวง
[แก้] วิเวก 3
- กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบทและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี
- จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และอริยมรรค อริยผล
- อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมอันเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่าอุปธิ หมายเอาพระนิพพาน
นอกจากนี้ยังมี วิเวก 5 มีความหมายอย่างเดียวกับ นิโรธ 5