จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
พหลโยธิน |
Phahonyothin |
กิโลเมตรที่ 7.47 |
|
|
|
|
|
ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย
สถานีรถไฟพหลโยธิน เป็นสถานีที่สร้างและเปิดใช้งานเป็นลำดับล่าสุด ตั้งอยู่ที่ ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ฝั่งตรงข้ามกับ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิต 2) อยู่ในบริเวณเดียวกับที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน เริ่มก่อสร้างในปลายปี 2544 การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 สถานีนี้สร้างขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร การให้บริการเดินขบวนรถไฟไปสู่ภูมิภาค และเป็นการตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งภายในประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ในการที่จะจัดระบบการขนส่งในช่วงเทศกาลให้เกิดความสะดวกต่อประชาชน สามารถเลือกเดินทางได้ทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ (บขส.) กับเพื่อใช้เป็นสถานีเชื่อมต่ และรองรับการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ซึ่งมีสถานีปลายทางที่สถานีบางซื่อ 2
ในระยะแรกการรถไฟฯ ได้จัดให้มีขบวนรถออก/เข้าที่สถานีพหลโยธินแห่งนี้เฉพาะในช่วงเทศกาลวันหยุดหลายวัน เพื่อให้ผู้โดยสารที่ไม่สามารถขึ้นรถบขส.มาขึ้นรถไฟ โดยไม้ต้องขึ้นรถเมล์ ในปลายปี 2545 การรถไฟฯ มีนโยบายที่จะปรับปรุงงานด้านบริการ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทาง และช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานคร กับปัญหารถแน่นย่านสถานีกรุงเทพ (ช่วงแยกยมราช-อุภัยเจษฎุทิศ) จึงจัดเที่ยวรถประจำที่สถานีพหลโยธินจำนวน 6 ขบวนคือ ธ201/202 (พหลโยธิน-พิษณุโลก-พหลโยธิน) ธ211/212 (พหลโยธิน-ตะพานหิน-พหลโยธิน) และ ร115/116 (พหลโยธิน-พิษณุโลก-พหลโยธิน) และประกาศเปิดใช้เป็นทางการถาวร ตามคำสั่งฝ่ายการเดินรถที่ พ.2/ดร.3/121 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 แต่ยังไม่กำหนดอัตรากำลัง และชั้นสถานีอย่างเป็นทางการ
ล่าสุดในการปรับตารางเดินรถประจำปี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวรถประจำทั้งหมด จากสถานีรถไฟพหลโยธิน ส่งผลให้ขบวนรถ รวมทั้งหมด 6 ขบวน เปลี่ยนต้นทาง/ปลายทาง ไปที่สถานีกรุงเทพ และในอนาคต จะใช้เป็นสถานที่สร้างสถานีรถไฟสถานีขนส่งจตุจักร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มแทน โดยที่อาจจะมีการเดินรถเสริมในเทศกาลพิเศษเป็นครั้งคราวไป
[แก้] แหล่งข้อมูลื่น