จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 |
บทความนี้มีเนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมด เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีกำหนดการล่วงหน้า หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
รายละเอียดของเหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ |
 |
ชุมทางบางซื่อ |
Bang Sue Junction |
กิโลเมตรที่ 7.47 |
|
|
|
|
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ อาคารผู้โดยสาร 1 (สายเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ)
|
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ อาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้-สายตะวันตก) (มองไปทางอาคารผู้โดยสาร1)
|
ภาพจำลอง สถานีชุมทางบางซื่อในอนาคต
|
แบบแปลนสถานีชุมทางบางซื่อในอนาคต
|
|
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นชุมทางหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งอาคารผู้โดยสารออกเป็นสองส่วน คืออาคารผู้โดยสาร 1(สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ) (หรือ ชุมทางบางซื่อ 1) และอาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้) (หรือ ชุมทางบางซื่อ 2) ซึ่งห่างกันราว 100 เมตร
[แก้] การเดินทาง
[แก้] รถประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางผ่าน ได้แก่สาย
- 9 สถานีชุมทางบางซื่อ 2 - ท่าน้ำภาษีเจริญ
- 52 ปากเกร็ด - สถานีรถไฟบางซื่อ (มีท่ารถตั้งที่นี่)
- 65 วัดปากน้ำ นนทบุรี - สนามหลวง
- 70 สนามหลวง - ประชานิเวศน์ 3
- 97 กระทรวงสาธารณสุข - โรงพยาบาลสงฆ์
- และ 125 สถานีชุมทางบางซื่อ 2 - ศาลายา
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางสายอื่นๆ ที่มีเส้นทางเดินรถ แต่ยังไม่ดำเนินการเดินรถมา ได้แก่
[แก้] รถไฟฟ้ามหานคร
[แก้] ตารางเวลาเดินรถ
ให้ดูที่ ตารางเวลาเดินรถ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
[แก้] ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน
ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1.5 กิโลเมตร
[แก้] โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ
โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ เป็นโรงซ่อมบำรุงและโรงจอดรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากขบวนรถไฟ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟไปตามแนวเส้นทางในระยะประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากที่บางซื่อแล้ว ยังมีโรงรถจักรที่สถานีรถไฟธนบุรี และสถานีรถไฟนครราชสีมา และแห่งอื่นๆอีก กระจายตามจุดสำคัญๆของเส้นทางรถไฟ
[แก้] ชุมทางบางซื่อในอนาคต
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีหัวลำโพง มาที่ ชุมทางบางซื่อ และเมื่อรวมเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพ-นครราชสีมา) และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าไว้ที่ชุมทางบางซื่อเป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปหัวลำโพง วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้(เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟด่วนพิเศษ (เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา) และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi Airport Rails Link)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
 |
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นบทความเกี่ยวกับ การเดินทาง การคมนาคม และการขนส่ง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |