สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานรัฐบาล ที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ฟุตบอลในประเทศไทย รวมถึง ฟุตบอลทีมชาติไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เข้าร่วมกับ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 และเข้าร่วมกับ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2500 นายกสมาคมคนปัจจุบัน คือ นายวรวีร์ มะกูดี
สารบัญ |
[แก้] การแข่งขันที่จัดโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
[แก้] รายชื่อนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
- พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
- หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์
- พระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร)
- พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
- พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
- พระยาวิเศษศุภวัตร (เทศสุนทร กาญจนศัพท์)
- พลเรือตรี หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล)
- หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร
- พลตรี เผชิญ นิมิบุตร
- พลตำรวจตรี ต่อศักดิ์ ยมนาค
- พันเอก อนุ รมยานนท์
- ประชุม รัตนเพียร
- พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ
- วิจิตร เกตุแก้ว
- วรวีร์ มะกูดี
[แก้] ยุค วิจิตร เกตุแก้ว
[แก้] ผลงานในยุค วิจิตร เกตุแก้ว
- ก่อตั้ง ไทยลีก โดยได้รับการสนับสนุนจาก จอห์นนีวอล์กเกอร์ และใช้ชื่อลีกว่า "จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก"
- ก่อตั้ง ดิวิชั่น1 และ ดิวิชั่น2
- ก่อตั้งฟุตซอลลีก ลีกแข่งขันฟุตซอลในเมืองไทย
- เสนองบประมาณก่อตั้งศูนย์ฝึกนานาชาติ ศูนย์ฝึกซ้อมของทีมชาติไทย แห่งแรกอย่างเป็นทางการ 20ไร่ บริเวณถนนนมิตรไมตรี แขวงและเขตหนองจอก กรุงเทพฯ โดยความร่วมมือกับทางฟีฟ่า
- ได้มีการเชิญทีมชาติระดับโลกมาแข่งขันกับทีมชาติไทย ได้แก่
- ทีมชาติเยอรมนี (1 ธ.ค. 2547)
- ทีมชาติสวีเดน (ก.พ. 2540) และ (10 ก.พ. 2544)
- ทีมชาติบราซิล (ชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี - 23 ก.พ. 2543) โดยก่อนหน้านี้ไทยเคยแข่งกับทีมชาติบราซิล ในวันที่ 4 ก.ย. 2527
- ได้มีการเชิญทีมสโมสรชั้นนำของยุโรปมาทำการแข่งขันนัดพิเศษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซนอล นิวคาสเซิลยูไนเต็ด และ เรอัลมาดริด
[แก้] เรื่องวิพากษ์วิจารณ์ในยุค วิจิตร เกตุแก้ว
สมาคมฟุตบอลมีการวิพากษ์วิจารณ์สูงที่ไม่มีผลงานอื่นนอกเหนือจากผลงานของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยที่ชนะกีฬาซีเกมส์ โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนี้
- การส่งรายชื่อทีมสโมสรในการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกล่าช้า ทำให้ทีมสโมสรไทยโดนตัดสิทธิการแข่งขันในปีนั้นและส่งผลในปีต่อมาให้จำนวนทีมไทยเข้าร่วมเพียงหนึ่งทีมจากปกติสองทีม
- ในปี 2548 ที่ประเทศไทยโดนทางสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขู่ว่าจะตัดสิทธิประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2007 ที่ทางสมาคมไม่ได้เตรียมความพร้อมการแข่งขัน และในเดือนตุลาคม 2549 ก็โดนทางสหพันธ์ตักเตือนเป็นครั้งที่สอง
- ปลายปี 2549 ได้มีปัญหาเงินรางวัลในการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 1 ที่ไม่สามารถเรียกจ่ายได้และไม่มีคนรับผิดชอบ โดย ชัยยงค์ ขำเปี่ยม ผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลตำรวจ ได้เข้าแจ้งและพร้อมที่จะทำการฟ้องหากไม่มีการจ่ายเงินรางวัล [1]
- ฟุตบอลคิงส์คัพ ได้มีการออกข่าวเปลี่ยนใจลดจำนวนประเทศที่เข้าร่วมเหลือ สี่ประเทศ หลังจากที่มีออกข่าวในเดือนตุลาคม เดือนตุลาคมว่าจะมีทีมที่ร่วมลงแข่ง 7 ประเทศ (ประเทศไทย 2 ทีม และประเทศอื่นอีก 6 ประเทศ) [2] โดยให้เหตุผลว่าต้องการเตรียมความพร้อม และจะพาทีมชาติไทยไปแข่งฟุตบอลโลก [3]
- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เพียงพอ ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลของทีมชาติไทยหลักรายการ รวมถึง เอเชียนเกมส์ 2006 คิงส์คัพ ควีนสคัพ และ เอเชียนคัพ ในเว็บไซต์ของสมาคมไม่มีข้อมูลของฟุตบอลทีมชาติไทย รวมไปถึง นักกีฬา การแข่งขัน ผังการแข่งขัน หรือข้อมูลอื่นใดยกเว้นประวัติสมาคม และผลคะแนนฟุตซอลลีก
[แก้] เกร็ดข้อมูล
- ในเหตุการณ์สึนามิในประเทศไทย สมาคมฟุตบอลบริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย [4]
[แก้] อ้างอิง
- ↑ 9 สโมสรตบเท้า ร้องฟุตบอล ทวงเงิน 9.6 ล้าน ข่าวจากไทยรัฐ
- ↑ ข่าวคิงส์คัพ 2549 จาก คมชัดลึก
- ↑ คิงส์คัพลดจำนวนประเทศร่วมแข่งขัน จากแปดทีมเหลือสี่ทีม ข่าวจากคมชัดลึก
- ↑ ข่าวสมาคมฟุตบอลบริจาคเงินในเหตุการณ์สึนามิ จากผู้จัดการ
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ฟุตบอลในประเทศไทย | ![]() |
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย | รายชื่อสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย |
|
ฟุตบอลชายทีมชาติไทย | ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย | ฟุตซอลทีมชาติไทย | |
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก | โปรลีก | คิงส์คัพ | ควีนสคัพ | ดิวิชัน 1 | ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน |