สำเนียงแต้จิ๋ว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แต้จิ๋ว (潮州话 แต้จิ๋ว หรือ เฉาโจว) | ||
---|---|---|
พูดใน: | จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย | |
ดินแดน: | ในจีน: ตะวันออกของ มณฑลกวางตุ้ง ประกอบด้วย แต้จิ๋ว ซัวเถา จี๋อาน เฉาหยาง ผู่หนิง เฉาอัน เร่าผิง ฮุยไหล และ เฉิงไห่ | |
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | ประมาณ 10 ล้านคนในแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 2.5 ล้านในต่างแดน (49 ล้านพูดหมิ่นหนาน) | |
ตระกูลของภาษา: | ซิโน-ทิเบตัน ภาษาจีน หมิ่น หมิ่น-หนาน แต้จิ๋ว |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | zh | |
ISO 639-2: | chi (B) | zho (T) |
ISO/DIS 639-3: | nan — หมิ่น-หนาน | |
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
- สำหรับแต้จิ๋ว ที่เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองทางทิศตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ในภาษาจีนกลาง ดูแต้จิ๋ว
สำเนียงแต้จิ๋ว (潮州) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน และ เป็นหนึ่งในสำเนียงที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu เขียนสะกดหลากหลาย) หรือ Chaozhou(เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)
[แก้] ประวัติ และ สถานที่พูด
สำเนียงแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นสำเนียงที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณ คริตศตวรรษ ที่ 9 จนถึง ที่ 15 มีกลุ่มชาว หมิ่น(หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จากมณฑลฝูเจี้ยน(หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ในเขตที่เรียกว่า เฉาซั่น การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน
เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากสำเนียงกวางตุ้งและแคะ สำเนียงแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นสำเนียงเอกเทศในภายหลัง สำเนียงแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เฉาซั่น" ซึ่งมีเมืองแต้จิ๋ว(หรือ เฉาโจว ในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง)เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เฉาซั่น" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองเจียหยาง เฉาหยาง ผู่หนิง เฉาอัน เร่าผิง ฮุยไหล และ เฉิงไห่
เขตเฉาซั่นเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเซียอาคเนย์ในคริสตศตวรรษที่18-20 ซึ่งทำให้สำเนียงแต้จิ๋วเป็นสำเนียงหลักหนึ่งในสำเนียงที่พูดกันมากในกลุ่มชาวจีนอพยพ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง และยังมีในทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป
อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นสำเนียงแต้จิ๋วได้ลดความนิยมลงไปมากในหมู่ชาวแต้จิ๋ว เช่น ในสิงคโปร์ เยาวชนที่เดิมพูดแต้จิ๋วได้เปลี่ยนไปพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง และ ฮกเกี้ยนมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมส่วนใหญ่และอิทธิพลของสื่อสารมวลชน แต่โดยรวมแล้วภาษาแต้จิ๋วก็ยังคงเป็นภาษาที่พูดกันในหมู่คนจีนในสิงคโปร์เป็นอันดับสองรองจากภาษาฮกเกี้ยน ถึงแม้ว่าภาษาจีนกลางกำลังเข้ามาแทนที่สำเนียงท้องถิ่นเหล่านี้ในฐานะภาษาแม่ในหมู่เยาวชนยุคใหม่ก็ตาม
[แก้] ดูเพิ่ม
![]() |
สำเนียงแต้จิ๋ว เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สำเนียงแต้จิ๋ว ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |