สุกาฟ้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล่าวกันว่า สุกาฟ้าอพยพมาจากนครเมาลุงในปี พ.ศ.๑๗๕๘ พร้อมด้วยผู้ติดตามเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ๘ คน ไพร่พล ๙๐๐๐ คนรวมสตรีและเด็ก แต่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นชายฉกรรจ์ถึงแม้ไม่มีการยืนยัน สุกาฟ้าได้ร่อนเร่ตามท้องถิ่นแห่งภูเขาปาดไก่มาถึง ๑๓ ปี ในระหว่างนั้นได้โจมตีชาวนาคะเป็นครั้งคราว สุกาฟ้าได้มาถึงคามช้างในปี พ.ศ.๑๗๗๑
สารบัญ |
[แก้] แผ่อิทธิพล
สุกาฟ้าข้ามแม่น้ำคามน้ำช้างด้วยแพ และมาถึงทะเลสาบหนองยาง ชาวนาคะบางพวกพยายามต้านทานการลุกลานของชาวอาหม แต่สุกาฟ้าก็เอาชนะได้ และยึดครองหมู่บ้านที่ยึดมา ชาวนาคะมากมายถูกฆ่า ย่างไฟ และญาติพี่น้องถูกบังคับในกินเนื้อคนตาย ชาวนาคะจึงมาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก สุกาฟ้าได้ตั้งขุนนางปกครองบ้านเมืองที่ตีได้
[แก้] หาราชธานีที่เหมาะสม
สุกาฟ้าเองก็ยกพลต่อไปยัง เมืองแดงเขารัง คำแหงปุง และนามรูป พระองค์ทรงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเซสสามายังทิหิง แต่สถานที่ไม่เหมาะสมไปทางใต้จนถึงทิปาม ต่อจากนั้นก็มาถึง เมืองกลาง เจครุ (อภัยปุระ) ซึ่งสุกาฟ้ามาพำนักอยู่หลายปี ใน พ.ศ.๑๗๘๓ เกิดน้ำท่วมจึงทิ้งเมืองลงมาตามแม่น้ำพรหมบุตรมายังฮาบุง และพำนักเป็นเวลา ๒ ปีชาวอาหมจึงเพาะปลูกเนื่องจากเป็นที่ลุ่ม ต่อมาน้ำท่วมในปี พ.ศ.๑๗๘๗ ต้องอพยพอีกลงมาตามแม่น้ำพรหมบุตรจนถึงปากน้ำทิขุ ต่อมาก็ถึงลิกิริกาออนในปี พ.ศ.๑๗๘๙ พระองค์เดินทางไปยังสีมากุรี โดยทิ้งกองทหารกองเล็กๆ ไว้กองหนึ่ง พระองค์ประทับที่สีมาลุกุรี ๒-๓ ปี พระองค์พยายามโจมตีผู้คนในลุ่นน้ำแดง (แควหนึ่งของทิขุ) แต่ต้องล้มเลิก เนื่องจากมีคนอาศัยอยู่มาก
[แก้] ตั้งราชธานี
ในปี พ.ศ.๑๗๙๖ ทรงทิ้งสีมาลุกุรีเพื่อไปยังชารายเทโว และมีการเลี้ยงฉลอง สังเวยต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยม้า ๒ ตัว และสวดมนต์ถวายเทวไทใต้ต้นหม่อน
[แก้] ดูเพิ่ม
รัชสมัยก่อนหน้า: ไม่มี |
ประมุขแห่งอาหม ราชวงศ์อาหม พ.ศ. 1771 - พ.ศ. 1811 |
รัชสมัยถัดไป: สุดทิวฟ้า |