หัวโขน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวโขน หรือ ศีรษะโขนคือ วัสดุที่ทำขึ้นสำหรับสวมศีรษะเมื่อใช้เล่นโขน มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ ศีรษะยักษ์ ศีรษะลิง และศีรษะฤษี (สำหรับตัวพระและตัวนางนั้นไม่ใส่หัวโขน) หัวโขนจะมีลักษณะของตัวละครนั้นๆ ไม่สามารถใช้แทนกันได้
ปัจจุบันการทำหัวโขนในทุกวันนี้ได้เริ่มเลือนหายไปแล้ว โดยมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น มีการสืบทอดศิลปะการแสดงโขนน้อยลง ความต้องการใช้จึงน้อยลง การขาดความรู้และถ่ายทอดความรู้ อันเนื่องจากการหวงวิชา เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผลิตหัวโขนเพื่อขายเป็นของที่ระลึก แต่ก็ไม่ได้ผลิตสำพรับการใช้งานจริงแต่อย่างใด
[แก้] การทำหัวโขน
การทำหัวโขนนั้นถือว่าเป็นการรวมศิลปกรรม ทั้ง 10 หมู่ และเป็นงานที่ต้องอาศัยความรัก และความละเอียดลออมาก ผู้ที่จะทำหัวโขน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของตัวละคร รวมทั้งพงศ์ เป็นอย่างดี เช่น เป็นเทวดา มนุษย์ ยักษ์ ลิง สีของตัวละคร เครื่องประดับที่ตัวละครสวมใส่ เช่น มงกุฎ ชฎา ฯลฯ ลักษณะใบหน้า ถ้าเป็นยักษ์จะมีหลายลักษณะเช่น ตาโพลง ตาจระเข้ เขี้ยวทู่ เขี้ยวแหลม ปากแสยะ ปากหุบ ฯลฯ ถ้าเป็นลิง ก็ ปากอ้า ปากหุบ ซึ่งสีของหัวโขนจะบอกถึงตัวละครนั้น ๆ อาทิ ลิงสีขาวปากอ้าจะหมายถึงหนุมาน ยักษ์สีเขียว ตาโพลง ปากขบ เขี้ยวคุด (เขี้ยวดอกมะลิ) มงกุฎยอดเดินหน คือ อินทรชิต เป็นต้น
[แก้] ขั้นตอนการทำหัวโขน
- สร้างหุ้นโดยปั้นหุ่นให้มีลักษณะของตัวละครที่เราจะสร้าง เพียงแต่ใส่รายละเอียดเพียงคร่าว เช่น โครงคิ้ว จมูก ปาก ตา
- ใช้กระดาษฟางปิดทับลงบนหุ่นหลาย ๆ ชั้น และรอให้แห้ง ผ่าหุ่นทางด้านหลัง เอาแบบกระดาษออกมา เย็บปิดรอยผ่า ขัดผิวกระดาษให้เรียบ
ปั้นหน้า คิ้ว ปาก ตีลายตามส่วนของเครื่องประดับ ลงรักในส่วนที่จะปิดทอง รอให้รักหมาดและปิดทองคำเปลว เขียนสีที่หน้าและวาดตา คิ้ว ปาก ให้เรียบร้อย ติดเพชรหรือกระจก
![]() |
หัวโขน เป็นบทความเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ หัวโขน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |