หุ่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หุ่นคือรูปแบบจำลอง ทำคล้ายของจริง ประดิษฐ์ด้วยวิธีปั้น หรือแกะสลัก ใช้ในการเล่นมหรสพ เคลื่อนไหวด้วยการปักหรือเชิด บังคับให้เคลื่อนไหวเพื่อแสดงเป็นเรื่องราว การนำหุ่นมาแสดงระยะแรกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก เป็นลักษณะหุ่นนิ่ง ต่อมาดัดแปลงแก้ไขจนสามารถเคลื่อนไหวเลียนแบบการเคลื่อนไหวของคนหรือสัตว์
ประวัติศาสตร์การสร้างหุ่นมีหลักฐานว่ามีตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ไม่เรียกว่า "หุ่น" เรียกว่า"กทำยนตร" คำว่า"หุ่น"มาปรากฏในสมัยอยุธยาตอนต้นช่างที่ทำหุ่น เรียกว่า"ช่างหุ่น" เป็นช่างหนึ่งในช่างสิบหมู่ และมีหลักฐานการเชิดหุ่นในสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ยังไม่มีเสียง การเคลือนไหวไม่แนบเนียน มาเริ่มแพร่หลายชักหุ่นเชิดในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 1จนถึงรัชกาลที่ 7
การสร้างตัวหุ่น นิยมสร้างโดยจำลองจากตัวละครในวรรณคดี หรือจำลองจากตัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์ เลียนแบบตั้งแต่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตลอดจนลีลาท่ารำ
[แก้] การบังคับให้หุ่นเคลื่อนไหว
แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
- วิธีบังคับจากสายโยง วิธีนี้คนบังคับจะอยู่เหนือโรง และหุ่นที่บังคับด้วยสายโยงมักเป็นหุ่นที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนคนจริงแต่มีขนาดเล็ก โรงแสดงหุ่นก็จำลองให้มีขนาดเล็กสัมพันธ์กับขนาดของหุ่น สายโยงที่บังคับจะผูกติดกับอวัยวะต่างๆของหุ่น ห้อยลงมา
- วิธีบังคับด้วยมือ วิธีนี้จะสร้างตัวหุ่นให้ภายในกลวง ให้มือล้วงเข้าไปในหุ่นได้ และบังคับให้เคลื่อนไหวด้วยการเคลื่อนไหวของมือที่สอดเข้าไปในตัวหุ่น
- วิธีบังคับด้วยก้านไม้และสายโยง หุ่นประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายประเภทแรก ต่างกันที่กลไกบังคับตัวหุ่น คือมีก้านไม้เสียบติดตัวเป็นแกนและมีสายโยงติดกับอวัยวะต่างๆเพื่อบังคับให้เคลื่อนไหว
- วิธีบังคับด้วยก้านไม้และใช้เงาดำผสม ตัวหุ่นจะต่างจากหุ่นชนิดอื่นตรงที่ไม่มีความกลม มีลักษณะแบน ทำด้วยแผ่นหนัง แผ่นกระดาษ หรือแผ่นกระดาน เราเรียกหุ่นชนิดนี้ว่า "หุ่นหนัง"มีลวดลายฉลุอยู่บนตัวหุ่น การบังคับใช้ก้านไม้ติดตรึงกับตัวหุ่น คนเชิดจะชูตัวหุ่นไว้เหนือหัว เต้นพร้อมกับเชิดไปตามดนตรีและบทขับร้อง ในการแสดงต้องมีจอผ้าขาว ให้แสงสว่างอยู่เบื้องหลัง ให้เกิดเงาของหุ่นปรากฏบนจอ
[แก้] ประเภทของหุ่น
- หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ เป็นหุ่นแบบเก่าดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา ลักษณะของหุ่นหลวงสร้างเหมือนคนจริงเต็มตัว มีความสูงประมาณ 1 เมตร รูปร่างลักษณะเลียนแบบคนจริง ภายในตัวหุ่นกลวง มีสายโยงร้อยไปมาตามท่อนแขน ขา นิ้วมือ สามารถชักเชิดบังคับให้หน้าตาเคลื่อนไหวและกลอกตาไปมาได้
- หุ่นเล็ก ตัวหุ่นมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 ฟุต เลียนแบบหุ่นของจีนที่เรียกว่า "หุ่นจีน" เขียนหน้าแบบงิ้ว เครื่องแต่งกายแบบงิ้ว ตัวหุ่นกลวง มีผ้าคลุมซึ่งเป็นตัวเสื้อของหุ่นคลุมยาว ใช้มือสอดเข้าไปเพื่อใช้นิ้วบังคับให้เคลื่อนไหว นิยมใช้แสดงมหรสพที่เป็นเรื่องรวแบบจีน ผู้สร้างหุ่นเล็กเป็นคนแรกคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้สร้างหุ่นชุดรามเกียรติ์ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ขนาดเท่าหุ่นจีน แต่มีกลไกในกาชักเชิดเหมือนหุ่นหลวง
- หุ่นละครเล็ก ตัวหุ่นมีขนาดเกือบเท่าหุ่นหลวง การบังคับใช้ไม้หรือตะเกียบต่อกับมือทั้งสองข้าง ลำตัวใช้ไม้เสียบไว้เป็นแกน ให้คนเชิดจับเชิด และบังคับท่าทางด้วยการดึงไม้ที่ติดกับมือหุ่น การบังคับให้เชิดด้วยวิธีนี้ใช้คนเชิดเพียงคนเดียว แต่การเชิดแบบนี้สามารถมองเห็นไม้ที่เสียบนอกลำตัวหุ่น ทำให้มองเห็นการเชิดได้ถนัดและดูไม่แนบเนียน
- หุ่นกระบอก เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 ตัวหุ่นสูงประมาณ 1 ฟุต มีแกนหรือลำตัวเป็นกระบอกไม้ไผ่ ปลายด้านบนจะสวมหัวหุ่นแกะสลัก ตกแต่งดวยและเครื่องประดับแบบโขน ตัวหุ่นสวมเสื้อคลุมไม่มีแขน มุมดานบนทั้งสองขางของตัวเสื้อจะติดมือทำด้วยไม้แกะสลัก ชายเส้อคลุมยาวถึงกระบอกไม้ไผ่ การชักเชิดใช้ไม้หรือตะกียบติดที่มือหุ่นทั้งสองข้าง บังคับให้หุ่นทำท่าทางตามที่ต้องการ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
http://kanchanapisek.or.th/kp8/smk/smk304.html/ หุ่นกระบอก
![]() |
หุ่น เป็นบทความเกี่ยวกับ ศิลปกรรม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ หุ่น ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |