อธิปไตย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในการปกครองประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย หมายถึงประชาชนคนไทยทุกคนทุกอาชีพ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ล้วนมีเกียติ มีศักดิ์ศรี และ มีอำนาจอันเท่าเทียมกันทั้งหมดทุกคน อำนาจดังกล่าวคือ อำนาจอันเป็นสิทธิ และอำนาจอันเป็นหน้าที่ โดยทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง มีผลกระทบโดยตรง ต้องเป็นหน้าที่ นอกนั้นเป็นสิทธิ ประชาชนที่ประกอบอาชีพในส่วนราชการ คือ ข้าราชการ รับใช้ประชาชนและสังคมในด้าน อันเป็นประโยชน์ส่วนรวมหรือสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คลอง ถนน ขยะ เป็นต้น ประชาชนที่ประกอบอาชีพในส่วนราษฎร คือ ข้าราษฎร รับใช้ประชาชนและสังคมในด้าน อันเป็นประโยชน์ส่วนบุคคล เช่น บ้าน รถยนต์ อาหาร เป็นต้น ทรัพย์สินของทางราชการ หมายถึง ทรัพย์สินโดยร่วมที่ได้มา จากการประกอบอาชีพโดยสุจริตของข้าราชการในส่วนราชการ ทรัพย์สินของทางราษฎร หมายถึง ทรัพย์สินโดยร่วมที่ได้มา จากการประกอบอาชีพโดยสุจริต ของ ข้าราษฎรในส่วนราษฎร ทรัพย์สินของประชาชน หมายถึง ทรัพย์สินโดยร่วมรวมกันระหว่างทรัพย์สินของทางราชการและ ทรัพย์สินของทางราษฎร เช่น เงินภาษี ถนนสาธารณะ เป็นต้น ประชาชนทุกคนทั้งข้าราชการและข้าราษฎรสามารถใช้อำนาจดังกล่าว ในการปกป้องหรือป้องกัน จากการก้าวล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตย ของบุคคลอื่น อาชีพอื่น หน่วยงานอื่น องค์กรอื่น ทั้งในด้าน นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่
อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้น
อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้
สำหรับราชอาณาจักรไทย ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล นิติบัญญัติหรือรัฐสภา และตุลาการหรือศาล
[แก้] แนวคิดอำนาจอธิปไตย
ในสารานุกรมบริเตนนิกา กล่าวได้ว่าหมายถึง สิทธิแห่งอัตลักษณ์ทางการเมือง (Political Entity) ที่บ่งบอกถึงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดทางการปกครอง อันแสดงถึงมโนทัศน์ของการมีอำนาจสูงสุด (the supremacy of power) ภายในขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์แห่งรัฐ
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในกฎหมายระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าอำนาจประการนี้หมายความถึง การใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย (De jure Sovereignty) หมายความถึง สิทธิอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการหนึ่งใด ส่วนอำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย (De facto Sovereignty) ความสามารถในทางจริงที่จะกระทำการเช่นนั้น
อำนาจตามความที่กล่าวถึงข้างต้น หมายความไปถึงอำนาจในลักษณะการที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นอำนาจสูงสุดทางการปกครองของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือรัฐหนึ่งรัฐใด ในฐานะหนึ่งที่อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นและขาดเสียมิได้ของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) หรือรัฐประชาชาติ(Nation-State)มิเช่นนั้น รัฐหรือรัฐประชาชาตินั้น ย่อมขาดความเป็นเอกราชในทางการเมืองการปกครอง
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 100) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้
- ความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐ
- การทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศมานาน
- ความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
- การแบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐ ๆ หนึ่ง จะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่ในที่นี่การแบ่งแยกดังกล่าวมิได้หมายถึง การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยให้องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจ
นับได้ว่า ฌอง โบแดง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่าอำนาจอธิปไตย ในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือในความหมายที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดหรือสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)
โบแดง ได้เสนอปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีอำนาจอธิปไตยไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่น ๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน โบแดงได้เริ่มต้นอธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทที่ 8 และบทที่ 10 ของหนังสือเรื่อง “Six Books” พรรณาว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจขององค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งโดยหลักการนี้ รัฐจึงประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้ใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองนี่เอง จะทำให้มนุษย์เป็นพลเมืองได้เป็นประการสำคัญ นอกจากรัฐจะมีอธิปัตย์หรือมีอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐจะมีพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองอันเดียวกัน แม้พลเมืองจะมีขนธรรมเนียมภาษากฎหมายที่ยอมรับบังคับใช้ หรือศาสนาที่ต่างจากผู้ปกครองก็ตาม
โบแดง กล่าวเกี่ยวกับรัฐไว้ว่า รูปแบบของรัฐบาลจะเป็นรูปใดนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร หากเป็นของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจของรัฐก็จะเป็นของกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นองค์อธิปัตย์หนึ่งเดียว หากเป็นคณะบุคคลปกครองก็จะเป็นคณาอธิปไตย ขณะที่ถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจปกกกครอง ก็จะเป็นประชาธิปไตย ในแง่รัฐบาล โบแดงมีความเห็นว่ารัฐเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ขณะที่รัฐบาลเป็นเครื่องมือที่รัฐจะใช้อำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยในทัศนะของโบแดงนั้นหมายความถึง อำนาจที่มีถาวรไม่จำกัด และไม่มีเงื่อนไขผูกมัดที่จะออกกฎหมาย ตีความและรักษากฎหมาย อำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐที่มีระเบียบที่ดี อำนาจนี้เองทำให้รัฐแตกต่างไปจากการรวมกลุ่มของบุคคลในสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม โบแดงเห็นว่า อำนาจอธิปไตยนี้อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ อันเป็นบรรดากฎหมายต่าง ๆ ที่กำหนดความถูกต้องหรือความผิดในลักษณะที่มุ่งให้คน รักษาสัญญาและเคารพทรัพย์สินของคนอื่น ส่วนอีกประการหนึ่งที่เป็นสิ่งจำกัดอำนาจอธิปไตยคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงกฎหมายหลักของประเทศ (โดยเฉพาะหมายถึงรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส )
มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ บนพื้นฐานหรือมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือการให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด ซึ่งตามแนวคิดดั้งเดิมของมองเตสกิเออนั้น ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Puissance Legislative) ซึ่งใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และองค์กรที่ใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชน ซึ่งก็คือ สภาที่ทำหน้าที่ประชุมและปรึกษาในเรื่องการเมือง องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือช้าราชการ และองค์กรฝ่ายตุลาการ นั่นเอง เหตุผลที่มองเตสกิเออเสนอแนวคิกให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองสูงสุดนี้เนื่องจากเขาเห็นว่า หากอำนาจในการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมาย อำนาจในการบริหารหรือการบังคับตามมติมหาชน และอำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี ถูกใช้โดยบุคคลเดียวหรือองค์กรเดียว ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือประชาชนก็ตามแล้ว ยากที่จะมีเสรีภาพอยู่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติรวมกับอำนาจบริหาร จะออกกฎหมายแบบทรราชและบังคับใช้กฎหมายในทางมิชอบ หากอำนาจตุลาการรวมกันกับอำนาจนิติบัญญัติ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย อันอาจส่งผลให้ชีวิตและเสรีภาพของผู้ใต้การปกครอง ถูกบังคับควบคุมโดยกฎหมายที่ลำเอียง และหากให้อำนาจตุลาการรวมกับอำนาจบริหารแล้ว ผู้พิพากษาจะประพฤติตัวแบบกดขี่รุนแรง อันจำเป็นต้องแยกอำนาจแต่ละด้านออกจากกัน
อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานคิดของมองเตสกิเออที่ว่า การแบ่งแยกอำนาจการปกครองมิใช่มรรควิธีประการเดียวในการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลยากที่จะจัดการกับปัญหาการทุจริตจากการบริหารงานที่สลับซับซ้อนไม่โปร่งใสได้จริง ทำให้แท้จริงนั้น ประชาชนต่างหากคือผู้ที่จะควบคุมได้อย่างเกิดประสิทธิผลมากที่สุด การแบ่งแยกอำนาจการปกครองในมุมมองสมัยใหม่ จึงเป็นหลักการที่ถูกกล่าวถึงควบคู่ไปกับบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจของประชาชน
ต่อมานักปรัชญาการเมืองสมัยหลังได้แจกแจงอำนาจอธิปไตยตามแนวคิดของมองเตสกิเออ ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ตามหลักการกว้าง ๆ แล้ว โดยกำหนดให้องค์กรผู้ใช้อำนาจบริหารหรือฝ่ายปกครองไปกำหนดรายละเอียด ด้วยการออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศ อันเป็นกฎหมายลำดับรอง (subordinate Legislation) ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกฎหมายหลัก ในอันที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องใด ๆ ในสังคม
ส่วนอำนาจบริหาร ถูกกำหนดให้ใช้โดยองค์กรหนึ่งที่เรียกว่ารัฐบาล (Government) ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของตนเองไว้อย่างเคร่งครัด นอกไปจากนี้ องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจตามชื่อในการบริหารราชการและปกครองประเทศ ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน ส่วนอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการวินิจฉัย พิจารณาพิพากษาบรรดาอรรถคดีทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอบอำนาจในการพิจารณาประเภทข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น ย่อมถูกจำแนกแจกแบ่งไปตามองค์กรใช้อำนาจตุลาการหรือศาลที่ต่างกันไปในรายละเอียด เช่น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อันเกี่ยวกับคำสั่งหรือสัญญาทางปกครอง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีฐานะเป็นระบบศาลหนึ่ง นอกเหนือไปจากศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
กระนั้นก็ตาม การแบ่งแยกอำนาจเป็นแต่ละฝ่ายดังกล่าวข้างต้น มิได้หมายความว่าอำนาจอธิปไตยที่ถูกแบ่งแยกเป็นแต่ละฝ่ายนี้จะต้องมีองค์กรรองรับการใช้อำนาจที่มีอำนาจเท่าเทียมกันแต่ประการใด จึงเป็นไปได้ที่องค์กรหนึ่งอาจมีอำนาจเหนือองค์กรหนึ่ง เพียงแต่ย่อมมิใช่การให้อำนาจที่เหนือกว่านั้นเป็นไปอย่างเด็ดขาด และเพื่อสร้างความสามารถในการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการกำหนดมาตรการที่เป็นหลักประกันการใช้อำนาจในประการนี้ระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย ( sovereignty )มีลักษณะเป็นนามธรรม (abstract)กล่าวคือไม่สามารถจะมองเห็นได้หรือสัมผัสได้เหมือนกันองค์ประกอบอื่นของรัฐ สำหรับความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยนั้นถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญของวิชารัฐศาสตร์สมัยใหม่ ความคิดนี้ได้กล่าวถึงการมีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และการมีความสัมพันธ์กันนานาชาติ สำหรับ “อำนาจอธิปไตย” นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐซึ่งทำให้รัฐมีอำนาจบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และมีอำนาจในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศ และเนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่จะมาอยู่เหนืออำนาจอธิปไตย เพราะถ้ามีอำนาจมาจำกัดอำนาจอธิปไตยแล้ว อำนาจอธิปไตยนั้นก็จะไม่เป็นอำนาจอีกต่อไป และในขณะเดียวกันอำนาจที่มาจำกัดก็จะกลายเป็นอำนาจอธิปไตยใหม่ขึ้นมาแทนที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จัง โบแดง (Jean Bodin)ชาวฝรั่งเศส ได้เป็นผู้นำคำว่า “อำนาจอธิปไตย” มาใช้โดยได้อธิบายว่า รัฐได้รับการรับรองว่ามีอำนาจสูงสุดเหนือปวงชน และเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐอื่น โบแดงได้คิดหลักปรัชญาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย เพื่อสนับสนุนพระมหากษัตริย์ เขาให้ทัศนะว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ และผู้ที่ใช้ควรเป็นพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นโบแดงยังได้กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยนี้อาจอยู่ภายใต้กฏบางอย่างซึ่งโบแดงอ้างว่าเป็นกฏของพระเจ้าและกฎแห่งชาติ ครั้นในศตวรรษที่ 17 ธอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)ได้เขียนหนังสือชื่อ “Leviathan”โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนอำนาจเด็ดขาดของราชวงศ์สจ๊วตแห่งประเทศอังกฤษ เขาอธิบายว่าอำนาจสูงสุดของรัฐมีรากฐานอยู่ในสัญญาฉบับแรกที่มนุษย์ได้จัดทำขึ้น และปวงชนได้ยอมเสียสละสิทธิธรรมชาติให้แก่รัฐนอกจากนั้นฮอบส์ได้อ้างว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนี้ปกครองประเทศตามพระราชประสงค์ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้อำนาจของผู้หนึ่งผู้ใด สืบต่อมาจอห์น ล็อก (Johg Locke)ชาวอังกฤษ ได้แสดงทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับฮอบส์ กล่าวคือ ล็อกเห็นว่าการที่ปวงชนได้ยอมสละสิทธินั้น เป็นการสละให้แก่ส่วนรวม มิได้สละให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เขาแย้งว่าอำนาจอธิปไตยควรอยู่กับสภานิติบัญญัติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้แทนอันชอบธรรมของปวงชน ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่มีอำนาจตามที่ฮอบส์ได้กล่าวแต่ประการใด ลักษณะของอำนาจอธิปไตย นักรัฐศาสตร์ปัจจุบัน มีความเห็นว่า อำนาจอธิปไตยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 1. ความเด็ดขาด (absoluteness) 2. การทั่วไป (comprehensiveness) 3. ความถาวร (permanence) 4. แบ่งแยกมิได้ (indivisibility) 1. ความเด็ดขาด อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดเด็ดขาดของรัฐ ซึ่งไม่มีอำนาจอื่นเหนือใดกว่าหากมีอำนาจอื่นใดมาจำกัดอำนาจอำนาจอธิประไตรแล้วไซร้ อำนาจนั้นก็กลายเป็นอำนาจอธิประไตรไปทันที สำหรับลักษณะความเด็ดขาดของอำนาจอธิปไตยนี้ได้แก่ การออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับแก่ประชาชนของรัฐ อย่างไรก็ดีการใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎหมายนี้ จะต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของประชาชน เพราะทั้งศิลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสิ่งที่ประชาชนยึดถือปฏิบัติหากมีกฎหมายใดไปขัดแย้ง ย่อมจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของประชาชน และในบางกรณีก็เป็นการยากที่จะปฏิบัติตาม ขอยกตัวอย่าง เช่น ประชาชนของรัฐหนึ่งมีขนบประเพณีบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักแต่รัฐออกกฎหมายห้ามประชาชนบริโภคข้าว โดยอ้างว่าจะขอส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศ เพื่อจะได้เงินต่างประเทศ และแนะนำให้ประชาชนบริโภคข้าวโพดแทน ประชาชนย่อมจะไม่พอใจเพรากฎหมายดังกล่าวขัดต่อขนบประเพณีที่ประชาชนเคยยึดถือปฏิบัติ เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความเด็ดขาดของอำนาจอธิปไตยจำกัดโดยศีลธรรมและขนบประเพณี 2 . การทั่วไป อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจที่สามารถใช้ได้เป็นการทั่วไปแก่ทุกสิ่งที่อยู่ ในรัฐนั้นหมายความว่าอำนาจอธิปไตยอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง นับตั้งแต่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ หากมีการละเมิดกำหมายข้อบังคับหรือระเบียบ ซึ่งอำนาจอธิปไตยได้กำหนดขึ้น บุคคลนั้นจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยไม่อาจใช้อาณาเขตสถานทูตของผู้แทนรัฐอื่นรวมทั้งบุคคลในคณะทูตซึ่งเป็นเรื่องถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันตามขนบประเพณีทางการทูตที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา อย่างไรก็ดี รัฐมีอำนาจที่จะยกเลิกเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูตนั้นได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น 3 . ความถาวร หมายความวิอธิปไตยมีอยู่ในรัฐโดยถาวร ถึงแม้รัฐบาลรัฐของผู้ใช้อำนาจอธิปไตยสิ้นสุดลง หรือมีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของรัฐ แต่อำนาจอธิปไตยยังคงอยู่ในรัฐอย่างถาวรเพราะสถานการณที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น เป็นแต่การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยแต่ประการใด เว้นเสียแต่ว่ารัฐนั้นจะสลายตัวไป ขอยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่ถูกปกครองโดยชาติอื่นไม่ถือว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ เพราะรัฐโดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นไม่มีอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง เนื่องจากต้องคอยรับคำสั่งของประเทศที่มาปกครองเสียก่อน 4 . การแบ่งแยกมิได้ ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอำนาจอธิปไตยเพียงหน่วยเดียว หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแล้วก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตยถูกทำลายลง ซึ่งจะทำให้รัฐแยกสลายตัวไป อย่างไรก็ดีมีข้อน่าสังเกตการแบ่งอำนาจอธิปไตยให้องค์การต่างๆ ใช้นั้น ถือว่าเป็นการแบ่งแยกอธิปไตย ออกตามที่เพราะอำนาจหน่วยหน่วยเดียว หากมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้วอำนาจอธิปไตยก็จะแยกออกไปด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดรัฐขึ้นใหม่ ขอยกตัวอย่างเช่น แต่เดิมนั้นประเทศเกาหลี และประเทศเยอรมนีอำนาจอธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เมื่อมีการแบ่งออกไป ทำให้เกิดขึ้นใหม่ขึ้นใหม่ คือ เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้และเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก เหล่านี้เป็นต้น ประเภทของอำนาจอธิปไตย ได้มีการพิจารณาถึงการจำแนกประเภทของอำนาจอธิปไตย ซึ่งอาจแยกอำนาจอธิปไตยในแง่ของการใช้ออกได้เป็น 5 ประเภท ดั้งต่อไปนี้ 1 . อำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย (Legal Sovereignty) 2 . อำนาจอธิปไตยทางการเมือง (Political Sovereignty) 3 . อำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริง (External Sovereignty) 4 . อำนาจอธิปไตยตามนิตินัย (De Jure Sovereignty) 5 . อำนาจอธิปไตยภายนอก (Externtl Sovereignty)
1 . อำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย กล่าวได้ว่าอำนาจอธิปไตยทางกฎหมายก็คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นอำนาจสูงสุดภายในรัฐ ซึ่งรัฐมีอำนาจที่จะออกกฎหมายบังคับให้มีการปฏิบัติตามและองค์การที่มีอำนาจดังกล่าวได้แก่ รัฐสภา และกฎหมายที่ออกมาได้รับการรับรองว่ามีผลบังคับใช้ในศาล จอห์น ออสติน (John Austin) ชาวอังกฤษได้อธิบายว่า สภาผู้แทนราษฎรอังกฤษเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยตามกฎหมายเพราะเป็นองค์การเดียวที่มีอำนาจออกกฎหมายได้ และกฎหมายที่ผ่านสภาแล้วจะไม่มีองค์การอื่นใดบอกเลิกล้มล้างได้ ฉะนั้นอำนาจอธิปไตยทางกฎหมายจึงเป็นเรื่องของรัฐสภา
2. อำนาจอธิปไตยทางการเมือง หมายความว่าอำนาจอธิปไตยโดยทางการเมืองเป็นความคิดเห็นของประชาชนในการออกเสียงเลือกตั้ง ฉะนั้นในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงถือว่าอำนาจอธิปไตยทางการเมืองมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงออกที่อำนาจอธิปไตยทางการเมืองของประชาชนนั่นก็คือการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อเลือกผู้แทนของตนไปใช้อำนาจอธิปไตยทางกฎหมายโดยผ่านทางรัฐสภาและผู้แทนรษฎรนี้ได้รวมกันขึ้นเป็นสภานิติบัญญัติ ซึ่งมีหน้าที่ในการออกกฎหมายใช้บังคับภายในประเทศได้เป็นการทั่วไป อนึ่ง มีผู้เห็นว่าอำนาจอธิปไตยทางการเมืองอยู่เหนืออำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย ทั้งนี้เพราะอำนาจอธิปไตยทางการเมือง จะเป็นตัวกำหนดบุคคลผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางกฎหมายโดยกระบวนการของการเลือกตั้ง 3. อำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริง ในกรณีที่เกิดการปฏิวัติ(revolution) หรือรัฐประหาร (coup d’etat)ขึ้นภายในรัฐ จะเห็นได้ว่าอำนาจการปกครองของรัฐจะเกิดมีซ้อนขึ้นมา กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยจะตกอยู่กับทั้งฝ่ายรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายกับคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารอีกคณะหนึ่ง และเมื่อเกิดการช่วงชิงอำนาจกันขึ้นทำให้เกิดรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย (de jure government) ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมาย ส่วนคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ก็พยายามจัดตั้งอำนาจเพื่อที่จะปกครองรัฐต่อไป ซึ่งบุคคลคณะนี้จะมีอำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริง และหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นมา ก็จะเรียกคณะรัฐบาลตามข้อเท็จจริง (de facto government) และถ้าคณะที่ยึดอำนาจการปกครองมากจากคณะรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถประสบชัยชนะ คือสามารถยึดอำนาจการปกครองมากจากรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายได้เป็นผลสำเร็จเด็ดขาด กล่าวคือ สามารถรักษาความสงบภายในประเทศไว้ได้ และประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพเชื่อฟังต่อคณะผู้ปกครอง ที่ได้อำนาจมาด้วยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร รวมทั้งนานาประเทศให้การรับรอง (recognition) ต่อรัฐบาลของคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร ก็จะทำให้รัฐบาลตามข้อเท็จจริงกลายเป็นรัฐบายที่ชอบด้วยกฎหมาย และจะเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยตามกฎหมายขึ้นมาแทนอำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริง ฉะนั้น จึงอาจสรุปลักษณะของการเกิดอำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริงได้ดังต่อไปนี้คือ 1. ได้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเกิดขึ้น 2. คณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารสามารถล้มล้างอำนาจอธิปไตยตามกฎหมายและสามารถรักษาความสงบภายในประเทศไว้ได้ 3. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ความเคารพเชื่อฟังต่อคณะผู้ปกครองใหม่ 4. นานาประเทศให้การรับรองคณะรัฐบาลชุดใหม่
4. อำนาจอธิปไตยตามนิตินัย ได้แก่อำนาจอธิปไตยซึ่งรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้ใช้ในการปกครองประเทศ รัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายได้แก่รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาตามกระบวนการทางการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายกล่าวคือ เป็นรัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา ซึ่งประชาชนเลือกขึ้นมา หมายความว่า เป็นรัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 5. อำนาจอธิปไตยภายนอก ได้แก่ความเป็นอิสระเสรีของรัฐที่จะดำรงอยู่ได้ปราศจากการควบคุมหรือการแทรกแซงจากรัฐอื่น หมายความว่า รัฐนั้นมีอำนาจอธิปไตยในการอำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐอื่น เช่น สามารถทำข้อตกลง ทำสนธิสัญญาให้สัตยาบัน รวมทั้งการประกาศและการยุติสงครามหรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า อำนาจอธิปไตยภายนอกก็คือ ความเป็นเอกราชของรัฐนั้นนั่นเอง
เจ้าของอำนาจอธิปไตย เนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสมบูรณ์ของรัฐ ฉะนั้น จึงได้มีการศึกษากันว่าใครเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์แล้ว ได้มีแนวความคิดในเรื่องเจ้าของอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้ 1. พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักรัฐศาสตร์บางคนได้อธิบายว่า อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงสถาปนาเอกราชให้แก่รัฐฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ดังที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ตรัสไว้ว่า “ฉันคือรัฐ” นักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่ากฎหมายและอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์ เพราะฉะนั้น ราษฎรทุกคนจะต้องเชื่อฟังพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ดี เมื่อได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ 1789 ความคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป และเกิดความหรือทฤษฎีใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเพียงประมุขของรัฐ และไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศแต่ประการใด เช่นประเทศอังกฤษ เป็นต้น 2.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจของอธิปไตย แนวความคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คือ ปรัชญาของพวกสโตอิค (Stoics) ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องกฎธรรมชาติและความเสมอภาคของมนุษย์ ดังที่ซิเซโร (Cicero)ได้เคยกล่าวไว้ว่า อำนาจสูงสุดในรัฐหนึ่งๆ นั้นตกอยู่กับประชาชนทั้งหมดของรัฐ ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ประชาชนในประเทศยุโรปตะวันตกได้ต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และในขณะเดียวกันได้มีการเผยแพร่แนวความคิดให้มีการยอมรับว่าอำนาจอฺปไตยเป็นของประชาชน โดยอ้างทฤษฎีสัญญาประชาคม ซึ่งมีจอห์น ล็อด (John Locke)แห่งอังกฤษ และฌอง ฌาคส์รุสโซ (Jean Jeaque Rousseau)แห่งฝรั่งเศส เป็นผู้นำ กล่าวได้ว่าความคิดที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น ได้ก่อให้เกิดคุณค่าในด้านความรู้สึกและวามตื่นตัวในเรื่องระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐสมัยปัจจุบันได้มีการจัดให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนทำให้เกิดการปกครองระบอบรัฐสภา(parliamentary government)โดยให้รัฐบาลรับผิดชอบในการบริหารประเทศต่อรัฐสภาต่อจากการเลือกตั้งมาจากประชาชน นอกจากนั้นยังมีการยอมรับให้ประชาชนมีสิทธิในการเสนอกฎหมายและออกเสียงประชามติ (referendum)ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอีกด้วย 3.ผู้มีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นักนิติศาสตร์บางคนในคริสต์ศวรรษที่ 19 มีความเห็นว่า อำนาจอธิปไตยนั้นอยู่ที่ผู้มีอำนาจในการเขียน หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้โดยอ้างเหตุผลว่า กฎหมายสูงสุดในรัฐก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศณุปของการปกครองของรัฐบาล กำหนดกฎบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะฉะนั้นผู้ที่มีอำนาจในการเขียนหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นผู้แสดงเจตนารมณ์(Will)โดยตรงและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 4. องค์การนิติบัญญัติเป็นเจ้าของอธิปไตย นักกฎหมายบางกลุ่มมีความเห็นว่า องค์การนิติบัญญัติเป็นจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้เพราองค์การดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่ในการออกกฎหมายโดยวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และออกกฎระเบียบ หรือข้อบังคับภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ฉะนั้นองค์การนิติบัญญัติ (รัฐสภา สภาท้องถิ่น คำสั่งของราชการฝ่ายการปกครองผู้มีอำนาจในการออกกฎหมาย ) จึงเป็นนิอำนาจอธิปไตยเพราะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัตินั้น การใช้อำนาจอธิปไตย อาจแบ่งแยกไปในองค์การต่างๆของรัฐซึ่งบางองค์การได้รับส่วนแบ่งมาก และบางองค์การได้รับส่วนแบ่งอำนาจอฺธิปไตยน้อย และองค์การทั้งหมดจะใช้อำนาจอธิปไตยภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่รัฐกำหนดไว้ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าองค์การนิติบัญญัติ ได้รับส่วนแบ่งในด้านการใช้อำนาจอธิปไตยมากกว่าองค์การอื่นใด และโดยสภาพอำนาจหน้าที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้รับมอบหมายมาให้นั้น ทำให้องค์การนิติบัญญัติเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งมีลักษณะกว้างขวางและเป็นการทั่วไป
การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน ในประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีหลักสำคัญ คือ ประชาชนเป็นองค์อธิปัตย์หรือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ฉะนั้นประชาชนจึงทรงไว้ในการแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1 . การออเสียงเลือกตั้ง (Election) ด้วยเหตุผลที่ในปัจจุบันพลเมืองของประเทศต่างๆ มีจำนวนมากขึ้นอีกทั้งปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวด้วยรัฐภายในและภายในและภายนอกมีความสลับซับซ้อน การที่ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมที่จะเข้าไปพิจารณาตัดสินและดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐด้วยตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ยากที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันจึงใช้วิธีให้ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะการเลือกตั้งเป็นการชี้ให้เห็นถึงเจตนารมณ์ (general will)ของประชาชนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการอะไร ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น การเลือกตั้งจะต้องจัดให้มีขึ้นตามระยะเวลาอันสมควร เช่น อาจมีช่วงระยะเวลา 3,4,5 หรือ 6 ปี ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศฝ่ายกำหนด และจะต้องมีผลในการเปลี่ยนรัฐบาลด้วย หลักสำคัญของการเลือกตั้ง คือ ยุติธรรม เสมอภาค เปิดเผยและเสรี ประเทศประชาธิปไตยจะต้องยึดถือหลักการเหล่านี้โดยเคร่งครัดและเสียงของบุคคลหนึ่งจะต้องเท่ากับเสียงของบุคลอื่น (one man one vote) ซึ่งในสมัยก่อนนั้นสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งไม่ได้สิทธิแก่ทุกคน เช่น กำหนดว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นผู้ที่เสียภาษีแก่รัฐจำนวนหนึ่ง และผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์ ต่อมาภายหลังจึงได้ให้สิทธิดังกล่าวแก่ทุกคน (universal suffrage) อังกฤษได้ให้สิทธิในการออกเสียงตั้งแก่ผู้หญิงเมื่อไม่นานนี้เอง ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น ก็เพิ่งจะให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนประเทศสวิตผู้หญิงเพิ่งได้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 นี้เอง สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ได้ให้สิทธิแก่บุคคลที่มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแต่เริ่มแรก และการเลือกตั้งก็กระทำเป็นการลับ นอกจากนี้ประเทศไทยก็ไม่มีการจำกัดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น มีการบังคับว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จะต้องเป็นผู้เสียภาษี จำนวนหนึ่งตามที่เคยกำหนดไว้ในบางประเทศ และบุคคลที่ไม่รู้หนังสือก็ไม่ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าระบอบการเลือกตั้งของไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่งที่สุดในบรรดาประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย 2. การออกเสียงประชามติ (referendum)วิธีการออกเสียงประชามติเป็นวิธีการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิที่จะแสดงซึ่งเจตนารมณ์ของตน โดยปกติมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตราใดมาตราหนึ่ง ถ้าประชาชนรับรอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นก็จะมีผลบังคับใช้ได้ บางประเทศ เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การออกเสียงประชามติครอบคลุมถึงการแก้ไขกฎหมายธรรมดาด้วย ตัวอย่างของการออกเสียงประชามติก็คือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1971 รัฐบาลสวิตได้เสนอให้มีการออกเสียงประชามติในการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ปรากฏว่าผู้มาใช้สิทธิออกเสียงส่วนใหญ่ (ผู้ชายทั้งสิ้น) ได้ออกเสียงเห็นด้วย เพราะฉะนั้นใน ค.ศ. 1971 ผู้หญิงสวิตจึงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งแรก สำหรับประเทศไทยได้เคยมีการบัญญัติถึงสิทธิการออกเสียงประชามติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาตรา 125 ว่า ปวงชนชาวไทยมีสิทธิออกเสียงประชามติได้ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงสิทธิการออกเสียงประชามติ ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ มาตรา 229 บัญญัติไว้ว่า ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามมาตรา 228 กระทบถึงประโยชน์ได้เสียงสำคัญของประเทศหรือประชาชน และทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัยพระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงเป็นประชามติว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนั้น อย่างไรก็ดี การออกเสียงประชามติตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้ ประชาชนชาวไทยยังไม่เคยมีโอกาสใช้เพราะสถานการณ์ทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเสียก่อน 3. ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในการริเริ่มหรือเสนอแนะการร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติโดยตรง นับได้ว่าเป็นพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยระดับสุดยอดในทางปฏิบัติ (Ultra-democratic practice) ภายในขอบเขตของการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญและก้าวไปไกลกว่าออกเสียงประชามติ กล่าวได้ว่าทฤษฎีการที่ให้ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายและมีสิทธิในการออกเสียงประชามติตั้งอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน แต่เงื่อนไขในการนำมาปฏิบัติแตกต่างกัน ดังที่มีผู้กล่าวว่า “ในขณะที่การออกเสียงประชามติในการป้องกันการกระทำที่ไม่ชอบไม่ควรของฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนสิทธิในการเสนอร่างกฎมายเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนในการแก้ไขสิ่งที่ฝ่ายนิติบัญญัติละเว้นการกระทำ” สิทธิในการเสนอร่างกฎหมายนั้นเหนือกว่าสิทธิการออกเสียงประชาวมติ กล่าวคือ ประชาชนอาจใช้สิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมาย ถ้าหากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสมหรือเว้นที่จะกระทำ ในขณะที่การออกเสียงประชามติประชามีสิทธิเพียงพิจารณาตัดสินร่างกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติเท่านั้น เพราะฉะนั้น การออกเสียงประชามติอาจจะเป็นหลักประกันที่ไม่เพียงพอ ในบางประเทศจะพบว่ามีสิทธิเสนอร่างกฎหมายและการออกเสียงประชามติประกอบกัน ดังนั้นร่างกฎหมายที่ริเริ่มจากประชาชนจะกลับมาให้ประชาชนพิจารณาตัดสินเป็นขั้นสุดท้ายหลักจากที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติแล้ว และประเทศใดที่ให้ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายก็จะให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงประชามติประกอบกันไปได้ว ตัวอย่างเช่น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญการออกเสียงและการแก้ไขกฎหมายทั้งระดับมลรัฐ (Canton) และสมาพันธ์รัฐจะต้องผ่านการลงประชามติ ส่วนสิทธิเสนอร่างกฎหมายก็มีทั้งระดับสมาพันธ์รัฐและระดับมลรัฐ สำหรับในสหรัฐอเมริกาบางมลรัฐยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายเช่นเดียวกับมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ ในบางมลรัฐสิทธีในการเสนอร่างกฎหายจะใช้ในกรณีที่บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับปทัสถานทางสังคม (Normed legislation) 4. สิทธิในการถอดถอน (Recall) สิทธิในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากตำแหน่งการปกครอง ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาประชาชนมีสิทธิที่จะออกเสียงถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งโดยวิธีการเลือกตั้งเท่านั้น และเมื่อประชาชนถอดถอนเจ้าหนาที่ดังกล่าวออกจากตำแหน่งแล้ว ก็จะเลือกตั้งคนใหม่เข้าไปดำรงตำแหน่งแทน ในมลรัฐโอเรกอน ประชาชนจำนวนหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สามารถที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนเจ้าหน้าที่ที่เข้าดำรงตำแหน่งโดยวิธีเลือกตั้งทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และถ้าเสียงส่วนมากเห็นพ้องด้วยกับการที่ถอดถอนเจ้าหน้าที่นั้น ๆ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวก็จะถูกถอดถอน และจะมีการเลือกตั้งบุคคลใหม่เข้าดำรงตำแหน่งแทนตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ ข้อสังเกตก็คือสิทธิในการถอดถอนนี้ ส่วนใหญ่ใช้ในการปกครองระดับท้องถิ่น 5. การให้ประชาชนตัดสินปัญหาสำคัญของชาติ (Plebiscite)วิธีการนี้มักใช้ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญและรัฐบาลไม่อาจจะตัดสินใจหรือไม่กล้าที่จะตัดสินใจ เช่น การออกเสียงลงคะแนนของชาวแอลจีเรียว่า จะแยกจากฝรั่งเศสหรือไม่ ซึ่งผลที่สุดประชาชนส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงให้แยก ในสหรัฐอเมริกาได้นำวิธีการนี้มาใช้กับการปกครองระดับท้องถิ่นเหมือนกัน คือให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะ “รับ” (yes)หรือ “ไม่รับ” (no)แต่วิธีการนี้เหมาะสมที่จะใช้ในเขตการปกครองขนาดเล็ก เช่น ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น
ทฤษฎีที่คัดค้านอำนาจอธิปไตย เป็นที่ยอมรับกันว่าอำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดเด็ดขาด และไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจอำนาจอธิปไตยของรัฐ แต่มีบางสำนักวิชาการพิจารณาเห็นว่า ถึงแม้อำนาจอธิปไตยจะมีความเด็ดขาดและสามารถใช้ได้เป็นการทั่วไป รวมทั้งเป็นการแบ่งแยกมิได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมิได้เป็นการเช่นนั้นเสมอไป จึงเกิดทฤษฎีที่คัดค้านอำนาจอธิปไตยนั้น กล่าวคือ 1. สหพันธรัฐ (Federalism) 2. กลุ่มนิยม (Pluralism) 3. สากลนิยม(Internationalism) 1. สหพันธรัฐ แนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นในสหรัฐ ทั้งนี้เพราะได้มีการแบ่งอำนาจอธิปไตยระหว่างรัฐบาลกลาง (Federal government)กับรัฐบาลมลรัฐ (State government)กล่าวคือ รัฐบาลกลางได้มอบหมายให้กระทำหน้าที่สำคัญในฐานะเป็นตัวแทนของประเทศ เช่น การติดต่อสัมพันธ์กับนานาประเทศ การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญาสันติภาพและการออกเงินตราเป็นต้น ส่วนรัฐบาลมลรัฐจะมีอำนาจภายในมลรัฐของตน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น กิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎหมายปกครองและการศาลภายในเขตมลรัฐ ซึ่งแต่ละมลรัฐต่างมีอำนาจในการดำเนินกิจการเรื่องดังกล่าวภายในมลรัฐของตน ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ โดยฝ่ายรัฐบาลกลางจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงมิได้ ฉะนั้น จึงทำให้เกิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาคือความเชื่อที่ว่ามีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยดังกล่าวข้างต้น
2. กลุ่มนิยม นักนิติศาสตร์บางกลุ่มมีความเห็นว่า ในรัฐหนึ่ง ๆ นั้นประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มกรรมกร กลุ่มพ่อค้า กลุ่มศาสนา และกลุ่มการเมือง เป็นต้น กลุ่มดังกล่าวมีอำนาจในการดำเนินกิจการภายในกลุ่มของตน กล่าวคือ สามารถออกกฎหรือระเบียบเพื่อใช้บังคับแก่สมาชิกของกลุ่มบังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบตามที่กลุ่มกำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองในประเทศที่มีการปกครองโดยใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์นั้น จะมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีอำนาจควบคุมกลไกขององค์การของรัฐบาลได้ ทำให้เห็นได้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจมากกว่ารัฐบาลเสียอีก เพราะรัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายของพรรคกลุ่มนิยมจึงได้เสนอว่า
1. ให้องค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การธุรกิจ องค์การอุตสาหกรรม และพรรคการเมืองประสานงานซึ่งกันและกันเพื่อที่จะแบ่งเบาภารกิจของรัฐบาลได้บ้าง 2. กลุ่มนิยมอ้างว่ารัฐนั้นถือว่าเป็นองค์กรที่สำคัญเป็นกรณีพิเศษ แต่รัฐควรมีฐานะเท่าเทียมกันกับกลุ่มต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่ารัฐควรมีอำนาจหน้าที่จำกัด คือ มีหน้าที่เป็นเพียงผู้คอยประสานระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3. กลุ่มสากลนิยม นักคิดกลุ่มนี้เข้าใจว่ารัฐมิได้มีอำนาจที่จะทำอะไรได้ตามความปรารถนาได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้อำนาจอธิปไตยภายนอก ทั้งนี้เพราะในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น อำนาจอธิปไตยของรัฐจะถูกจำกัดโดยขนบธรรมเนียมประเพณีข้อตกลงสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศจึงทำให้รัฐต่าง ๆ ไม่สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างไม่มีขอบเขตอันจำกัด กล่าวคือในบางกรณีรัฐจำต้องงดใช้อำนาจอธิปไตย เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีสิทธิตรวจตราสิ่งของทางการทูตของประเทศอื่น และไม่มีสิทธิจะเข้าไปในบริเวณอันเป็นที่ตั้งสถานทูตอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสถานทูต ทั้งนี้เป็นเรื่องการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า “เอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูต” นอกจากนั้นการที่รัฐต่าง ๆ ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศใดประเทศหนึ่งหรือการเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงสนธิสัญญา หรือกฎข้อบังคับขององค์การดังกล่าว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจำกัดการใช้อำนาจอธิปไตยด้วยเหมือนกัน
กฎหมาย การศึกษาเรื่องอำนาจอธิปไตยทำให้ทราบว่า อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายก็คืออำนาจสูงสุดที่จะออกกฎหมาย และในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นกฎหมายเป็นเครื่องมือในการช่วยควบคุมความเป็นระเบียบ ความสงบและความยุติธรรม ให้บังเกิดมีขึ้นภายในรัฐ ทั้งในด้านกิจกรรมส่วนบุคคลและกิจกรรมสาธารณะ อริสโตเติล อธิบายว่า กฎหมายคือข้อบังคับ (rule) ซึ่งประกอบ ด้วยเหตุผล(reason)ของชุมชน โดยมีลักษณะที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกันสามารถอยู่รวมกันได้ และก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคมนั้น สำหรับวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายก็เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพ และประโยชน์สุขของประชาชน ตลอดจนเป็นหลักให้รัฐบาลยึดถือเป็นแนวทางในการปกครองประเทศ ทั้งนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักในการปกครอง
ความหมายของกฎหมาย ในสมัยกลางนั้นถือว่า กฎหมายคือกฎของพระเจ้า(Law of God)ซึ่งได้บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล และกฎหมายของพระเจ้านั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ ครั้นมาในสมัยใหม่คือนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาถือกันว่า กฎหมายคือเจตนารมณ์ (will)ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งประชาชนเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ในปัจจุบันนี้ได้มีการนิยามความหมายของกฎหมายไว้ว่า “กฎหมาย” คือ กฎข้อบังคับของรัฐ ซึ่งองค์การนิติบัญญัติได้ตราขึ้นไว้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป เพื่อใช้ในการควบคุมความประพฤติของสมาชิกของชุมชน มีลักษณะใช้บังคับได้เป็นการทั่วไป และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษทัณฑ์ตามที่ได้มีบทบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมาย” ฉะนั้นเมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว พอจะสรุปลักษณะสำคัญได้เป็นหัวข้อดังนี้ 1. กฎหมายเป็นกฎข้อบังคับของรัฐ 2. มีองค์การที่มีอำนาจทางนิติบัญญัติเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย เพื่อใช้บังคับ แก่บุคคลในรัฐ 3. กฎหมายทุกฉบับมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปภายในดินแดนของรัฐนั้น 4. กฎหมายทุกฉบับมีผลใช้บังคับ ตลอดไป จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกโดยองค์การที่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ 5. มีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน
ที่มาของกฎหมาย นักนิติศาสตร์ได้ศึกษาถึงแหล่งที่มาของกฎหมายอย่างกว้างขวาง และในที่สุดสามารถสรุปได้ว่าในปัจจุบันมีแหล่งที่มาของกฎหมายอยู่ 10 ทางด้วยกัน กล่าวคือ 1. ขนบธรรมเนียม (Custom) 2. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislation) 3. คำสั่งของฝ่ายบริหาร (executive Decree) 4. คำพิพากษาของศาล (Judicial Decisions) 5. บทความทางวิชาการกฎหมาย (Commentaries) 6. รัฐธรรมนูญ (Constitution) 7. สนธิสัญญา (Treaties) 8. ประมวลกฎหมาย (Condification) 9. ประชามติ (Referendum) 10. หลักความยุติธรรม (Equity) 1. ขนบธรรมเนียม เป็นที่ยอมรับกันว่าขนบธรรมซึ่งประชาชนของรัฐปฏิวัติสืบต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นขนบประเพณีที่มีเหตุผล ย่อมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมนั้น และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสิ่งถูกต้องและดีงาม ก็กลายเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่ครั้งโบราณกาลว่า บิดามารดาจะต้องดูแลเลี้ยงบุตร ขนบประเพณีดังกล่าวก็ได้กลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในสังคมไทย 2. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในปัจจุบันนี้กฎหมายส่วนใหญ่ออกมาโดยผ่านองค์การของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับล้วนมีรากฐานมาจากขนบประเพณีและหลักความยุติธรรมของสังคม การที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมีวัตถุประสงค์และเหตุผลเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมและสร้างความยุติธรรมให้บังเกิดมีขึ้นในสังคม 3. คำสั่งของฝ่ายบริหาร ในบางกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และการรักษาความลับของประเทศชาติ รัฐธรรมนูญจะให้องค์การฝ่ายบริหารออกคำสั่งได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ฝ่ายบริหารสามารถบริหารประเทศหรือแก้ไขสภาพการณ์บางอย่างให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีขอยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีที่รัฐบาลมีความรีบด่วนที่จะต้องออกกฎหมายการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น รัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็ได้ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ในการออกพระราชกำหนดมาใช้บังคับก่อน เสร็จแล้วให้รัฐบาลนำพระราชกำหนดฉบับนั้น มาขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดฉบับนั้นก็จะกลายเป็นพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดฉบับนั้นก็จะไม่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่รัฐสภาไม่ผ่านพระราชกำหนด นอกจากนั้นก็มีพระราชบัญญัติหลายฉบับ ได้ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารออก พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับได้ ทั้งนี้เพราะหากจะให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหรือระเบียบทุกสิ่งทุกอย่างแล้วจะเป็นการล่าช้าไม่ทันต่อการณ์ จึงจำต้องให้ฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายออกคำสั่งได้ด้วย 4. คำพิพากษาของศาล ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำคำพิพากษาของศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพิพากษาของศาลสูงสุด (Supreme Court) มาใช้เป็นเครื่องมือ หรือบรรทัดฐานในการดำเนินคดีที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งเสร็จสิ้นลงแล้ว ต่อมาเมื่อเกิดคดีใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับคำพิพากษาได้เคยตัดสินไว้แล้ว ผู้พิพากษาก็จะอ้างคำพิพากษาของศาลครั้งก่อน นำมาเป็นหลักการวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้นใหม่ได้ 5. บทความทางวิชาการกฎหมาย ในบางกรณีบทความหรือข้อเขียนของนักกฎหมายบางคนมีหลักการของกฎหมายอันเป็นที่ยอมรับนับถือ และได้มีผู้นำเอาแนวความคิดและหลักกฎหมายเหล่านั้นมาเสนอเป็นข้อกฎหมาย เช่น โอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes)ได้รวบรวมหลักฐานในบทกฎหมายโดยนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่าง ๆ แล้วเสนอความคิดเห็นขึ้นเป็นหลักกฎหมายเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการร่างกฎหมายในภายหลังต่อมา 6. รัฐธรรม เป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก หรือกฎหมายแม่บทของประเทศ ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญจึงได้มีบทบัญญัติถึงกระบวนการหรือวิธีการออกกฎหมายเอาไว้ ซึ่งในการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับ จะต้องอ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของการออกกฎหมายไว้เสมอ เพราะการออกกฎหมายของรัฐจะกระทำไปโดยละเมิดรัฐธรรมนูญมิได้ 7. สนธิสัญญา ได้แก่ ข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำกันขึ้นตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป เมื่อได้กระทำสนธิสัญญาซึ่งกันและกันไว้แล้ว ภาคีคู่สัญญาอาจจะต้องกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาที่ได้กระทำไว้ เช่น การออกกฎหมายยกเว้นการเสียภาษีขาเข้าให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในองค์การที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาเหล่านี้เป็นต้น 8. ประมวลกฎหมาย หมายถึง การรวบรวมบรรดากฎหมายาที่กระจัดกระจายเข้ารวมไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ขอยกตัวอย่างเช่น กฎหมายตราสามดวงของไทย ก็อาจถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายสำหรับการจัดประมวลกฎหมายหลายประเภทปรับปรุงแก้ไขตามมาตรฐานที่ตั้งไว้นั้น ประมวลกฎหมายที่มีชื่ออันเป็นหลักของกำหมายทั่วไป ได้แก่ ประมวลกฎหมายของนโปเลียน (Napoleonic Code) ใน ค.ศ. 1804 ซึ่งได้อาศัยกฎหมายโรมัน และในปัจจุบันนี้ประมวลกฎหมายของประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลมาจากประมวลกฎหมายนโปเลียน 9. ประชามติ ได้แก่ การที่รัฐธรรมนูญยินยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมาย (initiative) และมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (eferendum)วิธีดังกล่าวยังใช้ปฏิบัติในประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น 10. หลักความยุติธรรม หลักความยุติธรรม ณ ที่นี้ ก็คือความเสมอภาค (equality)นั่นเอง กล่าวคือในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ผู้พิพากษาก็สามารถใช้ดุลยพินิจพิพากษาคดีโดยอาศัยหลักความยุติธรรมหรือหลักสามัญสำนึกมาเป็นเครื่องประกอบการตัดสิน และในบางครั้งหลักความยุติธรรมนี้ได้กลางมาเป็นแหล่งที่มากฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมาย วัตถุประสงค์สำคัญของการมีกฎหมายก็เพื่อที่จะให้เกิดมีหลักประกัน และการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการกำหนดกระบวนวิธีการในการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้น จึงได้มีการแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ 1. กฎหมายที่ก่อให้เกิดสิทธิ (Substantive Law)ได้แก่ กฎหมายที่รัฐได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ประชาชน และเพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งผลประโยชน์อันชอบธรรมของปวงชนโดยส่วนรวม 2. กฎหมายที่กำหนดวิธีการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน (Pocedural Law)หรือ (adjective Law) เป็นกฎหมายที่ป้องกันรักษาและให้ความคุ้มครองสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายของปวงชน โดยกำหนดกระบวนการวิธีพิจารณาคดีความในศาลว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือผลประโยชน์จะเป็น “โจทก์” ส่วนผู้ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของโจทก์จะเป็น “จำเลย” เมื่อพิจารณาถึงวิธีการแบ่งประเภทของกฎหมายแล้ว จะทราบถึงวัตถุประสงค์ได้อย่างชัดแจ้งว่าเมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการคุ้มครองสิทธิไว้ด้วยเสมอ กฎหมายภายในประเทศกับกฎหมายระหว่างประเทศ ได้มีการพิจารณาถึงขอบเขตที่กฎหมายใช้บังคับ ทำให้อาจกำหนดความมุ่งหมายของกฎหมายที่จะควบคุมได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ กฎหมายที่จะใช้บังคับควบคุมบังคับระหว่างเอกชนและเอกชนกับรัฐบาล ซึ่งเรียกได้ว่า “กฎหมายภายในประเทศ” (National Law)กับกฎหมายที่ใช้ควบคุมระหว่างรัฐกับรัฐ ที่เรียกว่า “กฎหมายระหว่างประเทศ” (International Law) ดังจะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป
1. กฎหมายภายในประเทศ องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐก็คือ “อำนาจอธิปไตย” ฉะนั้นรัฐจึงมีอำนาจในการออกกฎหมาย ระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับใด ๆ โดยชอบธรรม เพื่อที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่อยู่ภายในอาณาเขตของรัฐอย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้น ๆ จะเป็นพลเมืองของประเทศอื่นใดก็ตาม เพราะตามหลักกฎหมายสากลแล้วถือว่า บุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแห่งรัฐนั้น จะมีข้อยกเว้นอยู่บ้างเฉพาะคณะทูตเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ได้มีการแบ่งกฎหมายภายในประเทศออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ 1. กฎหมายเอกชน (Private Law) 2. กฎหมายมหาชน (Public Law) 1. กฎหมายเอกชน หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กฎหมายแพ่ง” (Civil Law)กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคล (นิติบุคคลที่เกิดขึ้นมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคาร เป็นต้น) กฎหมายเอกชนเป็นเรื่องของการละเมิดในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล และการละเมิดดังกล่าวไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพ หรือทำลายศีลธรรมของประชาชนหรือสังคมแต่ประการใด เป็นเรื่องความสัมพันธ์เฉพาะบุคคลกับบุคคลเท่านั้น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา ตั๋วเงินกฎหมายเกี่ยวกับการสมรส การรับมรดก เหล่านี้เป็นต้น กฎหมายเอกชนในประเทศ ที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตมาก เช่น ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น กฎหมายเอกชน ในประเทศอังกฤษได้รับการพัฒนาและมีบทบัญญัติที่ละเอียดอ่อนสลับซับซ้อนมาก เพื่อป้องกันมิให้เกิดการละเมิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพทางแพ่ง 2. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน ถึงแม้ว่าการกระทำความผิดจะเกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับเอกชน เช่น นาย ก.ไปลักทรัพย์ของนาย ข. รัฐจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ถึงแม้นาย ข. ซึ่งได้ทรัพย์สินคืนและไม่ประสงค์จะเอาความก็ตาม เพราะการกระทำความผิดดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบกระเทือนต่อความสงบ เรียบร้อย สวัสดิภาพ และศีลธรรมอันดีของประชาชนพลเมืองดีย่อมหวั่นไหวและเสียขวัญต่อการกระทำของนาย ก. กล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนมีขอบเขตกว้างขวาง เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของสังคมหรือชุมชนโดยส่วนรวม รัฐจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการ เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดกฎหมายมหาชนลงโทษให้จงได้ นับตั้งแต่จัดให้มีกองกำลังตำรวจ อัยการของรัฐ ศาล และการราชทัณฑ์ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ในปัจจุบันได้มีการแบ่งกฎหมายมหาชนออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ 2.1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional Law) ซึ่งถือกันว่าเป็นกฎหมายหลักและกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปการปกครองของรัฐ รูปของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการรับรองเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในด้านต่าง ๆ ในเมื่อกำหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงไม่มีกฎหมายอื่นใดที่จะไปขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ ในกรณีที่เกิดมีข้อสงสัยว่าจะเกิดมีการขัดแย้งขึ้นระหว่างกฎหมายธรรมดากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในบางประเทศก็มีคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ บางรัฐให้ศาลสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด หากมีการตีความหรือชี้ขาดว่ากฎหมายฉบับใดมีบทบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายฉบับนั้นก็เป็นโมฆะคือไม่มีผลบังคับใช้แต่ประการใด 2.2 กฎหมายปกครอง (Administrative Law)เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับองค์กรของรัฐ โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดขอบของเจ้าหน้าที่ประเภทต่าง ๆ ของรัฐ และในขณะเดียวกันได้กำหนดสิทธิของประชาชนในความสัมพันธ์กับรัฐ กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดบทบัญญัติถึงวิธีการที่ประชาชน จะได้รับการทดแทนอย่างเป็นธรรม ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อที่น่าสังเกตก็คือว่า กฎหมายปกครองซึ่งได้แก่ คำสั่ง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับหรือการตัดสินในใจกระทำการใด ๆ ของฝ่ายปกครองให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายนั้น จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองเสียก่อน ฝ่ายปกครองจึงจะสามารถออกคำสั่งและใช้อำนาจได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้บังคับใช้และศาลจะเป็นฝ่ายคุ้มครองรักษาความยุติธรรม ในกรณีที่เกิดปัญหาต้องพิจารณาพิพากษา ฉะนั้นในบางประเทศจึงมีศาลปกครองเช่น ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น 2.3 กฎหมายอาญา (Criminal Law) เป็นกฎหมายที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก เพราะเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ในการสร้างความปลอดภัย สวัสดิภาพและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของรัฐ ฉะนั้นการกระทำความผิดเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ รวมทั้งศีลธรรมอันดีของสังคม เช่น การลักทรัพย์ การปล้น การฆ่าคนตาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ เป็นการกระทำความผิดทางอาญา และรัฐจะต้องเข้าดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทางอาญาดังกล่าวทุกกรณี โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจตราจับกุมผู้กระทำความผิด มีอัยการเป็นผู้ตรวจสอบสำนวนการฟ้อง เพื่อนำตัวผู้ต้องหาฟ้องร้องยังโรงศาล และมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีเมื่อคดีสิ้นสุดลงโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ฝ่ายราชทัณฑ์ก็จะดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเพื่อให้การใช้กฎหมายอาญาดำเนินไปอย่างมีระเบียบและระบบ จึงได้มีการจัดประมวลวิธีพิจารณาความอาญา โดยมีบทบัญญัติกำหนดผู้มีอำนาจหน้าที่และวิธีการใช้ รวมทั้งการกำหนดหลักประกันให้แก่บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิทางอาญาอีกทางหนึ่งด้วย
2. กฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎเกณฑ์หรือจารีตประเพณี ข้อตกลงหรือสนธิสัญญาอันเป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทสของบรรดาประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยของตนเองโดยสมบูรณ์ กฎหมายระหว่างประเทศจึงมีลักษณะเป็นการยินยอมของประเทศต่าง ๆ ในการที่จะปฏิบัติตามกฎ จารีตประเพณี ข้อตกลง หรือสนธิสัญญา มิใช่เกิดมาจากการที่มีองค์การกลางหนึ่งใดที่มีอำนาจสูงสุดในการบังคับกฎหมาย ชาร์ลส์ จี.เฟนวิค (Charles G.Fenwick)กล่าวว่า “กฎหมายระหว่างประเทศ คือ หมวดหมู่ของหลักการโดยทั่วไปหรือกฎเกณฑ์โดยเฉพาะเจาะจงที่บัญญัติไว้ เพื่อใช้บังคับสมาชิกของสมาคมระหว่างชาติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” เจ.แอล.เบรียรลี (J.L.Brierly) อธิบายว่า “กฎหมายระหว่างประเทศได้แก่ กฎเกณฑ์หรือหลักการในทางปฏิบัติเพื่อใช้กำหนดในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอารยประเทศ” ฉะนั้นกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเป็นกฎซึ่งอารยะประเทศโดยทั่วไปยอมรับว่าเป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน และในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งหรือกรณีพิพาทระหว่างประเทศก็มีส่วนยับยั้งหรือยุติข้อขัดแย้งหรือกรณีพิพาทได้ในหลายกรณี อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติปรากฏว่าการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศมักจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะว่าไม่มีองค์การกลางที่จะทำการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย และถึงแม้ว่าจะมีศาลระหว่างประเทศ (International Court of Justice)แต่การปฏิบัติหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศเท่าที่ผ่านมา ก็ปรากฏว่าไม่สามารถบังคับให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่กรณีปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศได้ในหลายกรณี อนึ่ง ศาลระหว่างประเทศก็ไม่มีลำดับชั้นของศาล เช่น ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา นอกจากนั้นศาลระหว่างประเทศยังไม่สามารถพิจารณาคดีได้ หากคู่กรณีไม่ยินยอมที่จะนำข้อขัดแย้งขึ้นสู่ศาล ฉะนั้นกฎหมายระหว่างประเทศจึงขาดความศักดิ์สิทธิ์อยู่บ้าง ในเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกฎหมายภายในประเทศ ทั้งนี้เพราะกฎหมายภายในประเทศมีองค์การกลางคือสภานิตินัญญัติเป็นผู้ออกกฎหมายเป็นกฎข้อบังคับทั่วไปภายในรัฐ มีกระบวนการยุติธรรมที่จะนำตัวผู้ฝ่าฝืนหรือผู้กระทำความผิดมาฟ้องร้อง และดำเนินคดีในศาลยุติธรรม จนกระทั่งเมื่อมีคำพิพากษาถึงชั้นศาลสูงสุดแล้วและคดีเป็นที่ยุติก็จะมีองค์กรดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษานั้นได้
[แก้] อ้างอิง
- เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. 2508. หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มปพ.
อธิปไตย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อธิปไตย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |