อมร อมรรัตนานนท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นแก้ไขภาษาให้สละสลวย และแก้ตัวสะกดให้ถูกต้อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือ และ นโยบายวิกิพีเดีย |
นายอมร อมรรัตนานนท์ เป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี 19 และนำนักเรียนขาสั้นเข้าเข้าร่วมเหตุการณ์ช่วง 6 ต.ค.19
ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เขาก็ร่วมกับคณะการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยขับไล่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และต่อมาเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา ปี 40-42
ส่วนที่เข้ามาเกี่ยวกับพรรคไทยรักไทย นั้น เมื่อมีการจัดตั้ง ได้รับการชักชวนจากนายภูมิธรรม เวชยชัย ให้เข้าร่วมคิดร่วมสร้างพรรค หลังการเลือกตั้งปี 2544 ชื่อของอมรเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน และได้รับแต่งตั้งจากนายสมศักดิ์ให้เข้ารับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกร แต่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในกองทุนฯ ทำให้ต้องลาออกในระยะเวลาต่อมา และต่อมา นายอมรได้เข้าร่วมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 นายอมรได้เขียนบทความเรื่อง " รอยไถแปร (เปรอะ) ที่ FM 92.25 Mhz." ลงในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการโดยระบุว่า มีปัญหากับ "ช้างรถไถ" หรือนายสมชาย มีเสน อดีตนักข่าวบางกอกโพสต์ ซึ่งถูกสภาการหนังสือพิมพ์สอบสวนฐานเรียกรับสินบนจากนักการเมือง สาเหตุเพราะนายสมชายใช้คลื่นวิทยุ 92.25 โจมตีนายสนธิ ลิ้มทองกุล 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ามารับตำแหน่งในรัฐบาลสุรยุทธ์ ทำให้นายอมรเขียนบทความตอบโต้
อมร อมรรัตนานนท์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อมร อมรรัตนานนท์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |