อักษรกรีก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรกรีก | |
---|---|
Α α แอลฟา | Β β บีตา |
Γ γ แกมมา | Δ δ เดลตา |
Ε ε เอปไซลอน | Ζ ζ ซีตา |
Η η อีตา | Θ θ ทีตา |
Ι ι ไอโอตา | Κ κ แคปปา |
Λ λ แลมบ์ดา | Μ μ มิว |
Ν ν นิว | Ξ ξ ไซ |
Ο ο โอไมครอน | Π π ϖ ไพ |
Ρ ρ โร | Σ σ ς ซิกมา |
Τ τ เทา | Υ υ อิปไซลอน |
Φ φ ไฟ | Χ χ ไค |
Ψ ψ พไซ | Ω ω โอเมกา |
อักษรที่เลิกใช้ | |
Ϝ ϝ ไดแกมมา | Ϻ ϻ แซน |
Ϙ ϙ คอปปา | Ϡ ϡ แซมไพ |
Ϛ ϛ สติกมา | Ϸ ϸ โช |
อักษรกรีก (Greek alphabet)เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก
[แก้] ประวัติ
อักษรกรีกนั้น ปรับปรุงแก้ไขจากอักษรฟินิเชียน และยังได้เป็นจุดกำเนิดพัฒนาการของอักษรอื่นๆ อีกหลายแบบ เช่น อักษรละติน (อักษรโรมัน) อักษรกลาโกลิติก อักษรคอปติก และอักษรซีริลลิก เป็นต้น อาจรวมถึงอักษรอาร์เมเนียด้วย
จากข้อเขียนของเฮโรโดตัสระบุว่าตัวอักษรเข้าสู่กรีซครั้งแรกโดยชาวฟินิเชียนชื่อแคดมัส การเปลี่ยนแปลงของอักษรกรีกเมื่อเทียบกับอักษรฟินิเชียน คือการเพิ่มสัญลักษณ์แทนเสียงสระ ซึ่งได้แก่ อัลฟา เอฟซีลอน ไอโอตา โอไมครอน และอัฟซีลอน และเพิ่มพยัญชนะบางตัวเข้าไป ในช่วงแรกอักษรกรีกมีความหลากหลายมาก มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกรีซตะวันตกหรือคัลเดียกับกรีซตะวันออกหรือไอโอนิก รัฐเอเธนส์กำหนดระบบการเขียนแบบไอโอนิกให้เป็นมาตรฐานเมื่อ พ.ศ. 140 ปัจจุบันอักษรกรีกเขียนจากซ้ายไปขวา แต่ในอดีตเคยเขียนจากขวาไปซ้าย
[แก้] ใช้เขียน
- ภาษากรีก
- ภาษานาร์บอน มีผู้พูดทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเมื่อราว พ.ศ. 243
- คัมภีร์ไบเบิลภาคภาษาฮีบรู
- ภาษาอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1300
- ภาษาตุรกีในหมู่ชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์
- ภาษาอัลเบเนีย เมื่อราว พ.ศ. 2043
- ภาษากลุ่มสลาวิกใต้ เช่นภาษามาซิโดเนีย
- ภาษาคอปติก
- ภาษานิวเบียโบราณ
[แก้] อ้างอิง
- ((อังกฤษ)) อักษรกรีก