อักษรสูง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงสูงทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรสูงมีทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่ ข, ฃ (เลิกใช้), ฉ, ฐ, ถ, ผ, ฝ, ศ, ษ, ส, และ ห
สารบัญ |
[แก้] การผันวรรณยุกต์
[แก้] คำเป็น
- คำเป็นที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว ฉัน ถู ผี ไฝ เสือ หู ฯลฯ
- เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงเอก เช่น ขู่ ขี่ ฉี่ ถ่อม ผ่อน ใฝ่ เสื่อ โห่ ฯลฯ
- เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น ไข้ ถ้า ผู้ ฝ้าย เสื้อ ห้า ฯลฯ
- ไม่นิยมผันด้วยไม้ตรีและไม้จัตวา
[แก้] คำตาย
- คำตายที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขบ ขด ขัด ฉุด ถัก ผัก ฝึก สด หาด ฯลฯ
- เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น ข้ะ ข้าก ฯลฯ ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้โทกับคำตายที่เป็นอักษรสูง
- ไม่นิยมผันด้วยไม้เอก ไม้ตรี และไม้จัตวา