เซลล์เกลีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซลล์เกลีย (glial cell) หรือนิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาโฮมีโอสเตซีส สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว
สารบัญ |
[แก้] ชนิดของเซลล์เกลีย
[แก้] ไมโครเกลีย
ไมโครเกลีย (microglia) เป็นเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) ชนิดพิเศษที่สามารถเกิดกระบวนการฟาโกไซโตซิส(phagocytosis)ได้ เชื่อว่าไมโครเกลียนี้เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในระบบเลือดมากกว่าเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในชั้นเอคโตเดิร์ม(ectoderm) แต่ที่ไมโครเกลียถูกจัดอยู่ในเซลล์ระบบประสาทเนื่องจากช่วยเหลือการทำงานของเซลล์ประสาท จำนวนไมโครเกลียในระบบประสาทส่วนกลางมีประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนเซลล์ทั้งหมด สามารถพบเซลล์ชนิดนี้ได้ในสมองและไขสันหลังทุกบริเวณ หากเนื้อเยื่อดังกล่าวถูกทำลายไมโครเกลียก็จะแบ่งตัวเพิ่มขึ้นและเคลื่อนที่ไปยังบริเวณดังกล่าว
[แก้] แอสโทรไซต์
แอสโทรไซต์ (astrocyte) หรือ แอสโทรเกลีย (astroglia) เป็นเซลล์เกลียที่มีจำนวนมากที่สุด แอสโทรไซต์ช่วยควบคุมปริมาณสารเคมีต่างๆ ที่อยู่รอบเซลล์ประสาท เช่น กำจัดไออนโพแทสเซียมที่มีอยู่มากในสารละลายภายนอกเซลล์ ตลอดทั้งช่วยดูดกลับสารสื่อประสาทที่ถูกหลั่งในระหว่างการส่งสัญญาณประสาทผ่านไซแนปส์ แอสโทรไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดโปรโตพลาสมิค และชนิดไฟบรัส ทั้งสองชนิดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกันแต่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและตำแหน่งที่พบเซลล์เหล่านี้ที่แตกต่างกัน แอสโทรไซต์ชนิดโปรโตพลาสมิคมีเส้นใยที่มีขนาดหนา สั้น แต่มีกิ่งก้านเยอะ พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่ชั้นเกรย์แมเตอร์(gray matter) สำหรับแอสโทรไซต์ชนิดไฟบรัสนั้นมีเส้นใยที่เรียวยาว และมีการแตกกิ่งค่อนข้างน้อย พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่ไวท์แมเตอร์(white matter)
[แก้] โอลิโกเดนโดรไซต์
โอลิโกเดนโดรไซต์เป็นเซลล์ที่สร้างเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ห่อหุ้มแอกซอนที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง เยื่อไมอีลินนี้เป็นส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ของโอลิโกเดนโดรไซต์ที่ไปล้อมรอบแอกซอนทำให้เกิดเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นผลให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
[แก้] เซลล์อีเพนไดมา
เซลล์อีเพนไดมา (ependymal cell) หรือ อีเพนไดโมไซต์ (ependymocyte)เป็นเซลล์ที่อยู่ที่ผนังช่องว่างที่บรรจุน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid; CSF) ภายในระบบประสาทส่วนกลาง
[แก้] เรเดียลเกลีย
เรเดียลเกลียที่อยู่ในสมองส่วนซีรีเบลลัมเรียกว่า เบอร์กแมนเกลีย (Bergmann glia)ซึ่งมีส่วนในกระบวนการไซแนปติกพลาสติซิตี้ ในดวงตาชั้นเรตินาเรียกเซลล์นี้ว่า เซลล์มูลเลอร์ (Müller cell)
[แก้] เซลล์ชวานน์
เซลล์ชวานน์ (Schwann cell)ทำหน้าที่คล้ายกับโอลิโกเดนโดรไซต์ที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน ต่างกันที่เซลล์ชวานน์นี้ทำหน้าอยู่ในระบบประสาทส่วนปลาย นอกจากนี้ยังสามารถเกิดฟาโกไซโตซิสช่วยในการจัดเก็บองค์ประกอบของเซลล์ที่เสียแล้วซึ่งจำเป็นในการเจริญของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย
[แก้] เซลล์แซทเทลไลท์
เซลล์แซทเทลไลท์ (Satellite cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กที่เกาะอยู่ที่ผิวของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลายซึ่งทำหน้าที่ช่วยปรับสภาพองค์ประกอบทางเคมีภายนอกเซลล์
[แก้] การเจริญพัฒนาในช่วงเป็นตัวอ่อน
![]() |
[แก้] โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เกลีย
![]() |
[แก้] อ้างอิง
1. Role of glia in synapse development[1] 2. ประสาทวิทยาศาสตร์ [2]