เผด็จการทหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เผด็จการทหาร (รัฐบาลทหาร) คือรูปการปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่กับกองทัพ
[แก้] ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่
รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลักจากรัฐประหารซึ่งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่แตกต่างออกไปคือระบอบการปกครองซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรักซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียวโดยพรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)
ในอดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์และ ทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนนั้นคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบาลทหารมักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน
ละตินอเมริกา, อัฟริกา และ ตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารมีการประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 199 เผด็จการทหารเริ่มลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การสิ้นสุดสงครามเย็นที่มีผลให้สหภาพโซเวียตสลายตัว ทำให้ทหารไม่สามารถใช้ข้ออ้างเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ในการอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีกต่อไป
[แก้] กรณีตัวอย่าง
รายการประเทศข้างล่างอาจจะไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอาจจะขาดข้อมูลก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้] ประเทศที่ปกครองโดยกองทัพในปัจจุบัน
- ประเทศลิเบีย - เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 กองทัพทำรัฐประหารและยังอยู่ในอำนาจ
- ประเทศมอริเตเนีย — เมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 กองทัพทำรัฐประหาร
- ประเทศพม่า - กองทัพกุมอำนาจเมื่อพ.ศ. 2495
- ประเทศปากีสถาน (ประธานาธิบดีครองอำนาจโดยรัฐประหารในปีพ.ศ. 2542 แต่สถาบันการปกครองของพลเรือนกลับมารับตำแหน่งเดิมอย่างช้าๆ)
- ประเทศไทย - กองทัพทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันจึงอยู่ภายใต้เผด็จการทหาร ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างขั้นตอนเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยประมาณเดือนธันวาคม 2550
- ประเทศฟิจิ - ทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549
![]() |
เผด็จการทหาร เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เผด็จการทหาร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |