พ.ศ. 2512
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2509 2510 2511 - พ.ศ. 2512 - 2513 2514 2515 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2512 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1969 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: จอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2506-2516)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2512
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม
- 1 มกราคม - พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจัดตั้งกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย
[แก้] กุมภาพันธ์
- 3 กุมภาพันธ์ – ยัสเซอร์ อาราฟัต ก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (พีแอลโอ)
- 21 กุมภาพันธ์ – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล
[แก้] มีนาคม
- 2 มีนาคม – เครื่องบินคองคอร์ด เครื่องบินโดยสารที่มีความเร็วเหนือเสียง ขึ้นบินทดสอบครั้งแรกที่เมืองตูลุส ฝรั่งเศส
- 7 มีนาคม – จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (สมัยที่ 3)
- 17 มีนาคม – กอลดา ไมเออร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของอิสราเอล
[แก้] เมษายน
- 7 เมษายน – การตีพิมพ์เอกสารขอความเห็นหมายเลข 1 (RFC 1) เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอินเทอร์เน็ต
- 28 เมษายน – ชาลส์ เดอ โกล ประธานาธิบดีคนแรกในสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ลาออกจากตำแหน่ง
[แก้] พฤษภาคม
- 13 พฤษภาคม – เหตุการณ์ 13 พฤษภาคม: ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวมาเลย์กับชนกลุ่มน้อยชาวจีน ทำให้เกิดการจลาจล จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 184 คน ในกรุงกัวลาร์ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- 16 พฤษภาคม – โครงการเวเนรา: ยานเวเนรา 5 ของสหภาพโซเวียต ลงจอดบนดาวศุกร์
- 18 พฤษภาคม – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 10 ขึ้นสู่อวกาศ
- 22 พฤษภาคม – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 10 ผ่านใกล้ดวงจันทร์ด้วยระยะห่าง 15,400 เมตร เหนือพื้นผิว
- 26 พฤษภาคม – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 10 กลับสู่โลกหลังจากภารกิจนาน 8 วัน
[แก้] มิถุนายน
- 24 มิถุนายน – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดโรงพิมพ์ธนบัตร ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเทศไทยจึงเริ่มพิมพ์ธนบัตรใช้เองภายในประเทศ
- 27 มิถุนายน – การจลาจลสโตนวอลล์ เริ่มขึ้นในนิวยอร์ก เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิกลุ่มคนรักร่วมเพศ
[แก้] กรกฎาคม
- 16 กรกฎาคม – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 11 ขึ้นสู่อวกาศ
- 20 กรกฎาคม – โครงการอะพอลโล: นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน ที่เดินทางไปกับยานอะพอลโล 11 กลายเป็นมนุษย์ 2 คนแรกบนพื้นผิวดวงจันทร์
- 26 กรกฎาคม – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 11 นำนักบินทั้งสามกลับสู่โลก
[แก้] สิงหาคม
- 5 สิงหาคม – โครงการมาริเนอร์: ยานมาริเนอร์ 7 ผ่านใกล้ดาวอังคารด้วยระยะห่าง 3,524 กิโลเมตร
- 17 สิงหาคม – พายุเฮอร์ริเคนคามิลล์ ถล่มชายฝั่งมลรัฐมิสซิสซิปปี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 248 คน
[แก้] พฤศจิกายน
- 14 พฤศจิกายน – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 12 ขึ้นสู่อวกาศ
- 15 พฤศจิกายน – สงครามเวียดนาม: ผู้ชุมนุม 250,000-500,000 คน รวมตัวกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อต่อต้านสงคราม
- 17 พฤศจิกายน – การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (SALT) ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
- 18 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปเป็นประธานในงานฉลองครบรอบ 500 ปี ศาสนาซิกข์ ณ โรงละครแห่งชาติ
- 19 พฤศจิกายน – โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 12 นำนักบินอวกาศ 2 คน ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์บริเวณมหาสมุทรพายุ (Oceanus Procellarum)
- 21 พฤศจิกายน – มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง (ARPANET) เป็นครั้งแรก
[แก้] เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
[แก้] วันเกิด
- 3 มกราคม – มิคาเอล ชูมัคเกอร์ นักแข่งรถสูตรหนึ่งชาวเยอรมัน
- 5 มกราคม – สิริวิมล เจริญปุระ (ใหม่) นักร้อง/นักแสดงหญิง
- 12 มกราคม – รวิชญ์ เทิดวงส์ นักแสดง/พิธีกร
- 16 มกราคม – รอย โจนส์ จูเนียร์ นักมวยชาวอเมริกัน
- 1 กุมภาพันธ์ – แกเบรียล บาติสตูตา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- 6 กุมภาพันธ์ -อิซุมิ ซะกะอิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 8 กุมภาพันธ์ – ซัทซึกิ อิการะชิ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
- 11 กุมภาพันธ์ – ทาเคชิ โอบาตะ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
- 11 กุมภาพันธ์ – เจนนิเฟอร์ อนิสตัน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- 14 มิถุนายน – สเตฟฟี กราฟ นักเทนนิสหญิงชาวเยอรมัน
- 15 มิถุนายน – โอลิเวอร์ คาห์น นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 24 กรกฎาคม – เจนนิเฟอร์ โลเปซ นักร้อง/นักแสดง ชาวเปอร์โตริโก-อเมริกัน
- 18 สิงหาคม – เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 18 สิงหาคม – คริสเตียน สเลเตอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 19 สิงหาคม – แมตทิว เพอร์รี นักแสดงชาวอเมริกัน
- 28 สิงหาคม – เจสัน พรีสต์ลีย์ นักแสดงชาวแคนาดา
- 17 กันยายน – วรุฒ วรธรรม นักแสดง/พิธีกร
- 25 กันยายน – แคทารีน ซีตา-โจนส์ นักแสดงหญิงชาวเวลส์
- 4 ตุลาคม – สุเมธ องอาจ (เมธ) นักร้อง/นักแสดง
- 4 พฤศจิกายน – แมตทิว แมกคอนาเฮย์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 28 ธันวาคม – ลีนุส ทอร์วัลด์ส (ลินุกซ์) นักเขียนโปรแกรมชาวฟินแลนด์
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 14 มีนาคม – อิศรา อมันตกุล นักประพันธ์ (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2463)
- 28 มีนาคม – ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีคนที่ 24 ของสหรัฐฯ (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2433)
- 22 มิถุนายน – จูดี การ์แลนด์ นักร้อง/นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2465)
- 2 กันยายน – โฮจิมินห์ ประธานาธิบดีของเวียดนามเหนือ (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433)
[แก้] บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
- ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง เท็คซัส เชนซอว์ แมสซาเคร์อ: เดอะ บีกินนิง (เปิดตำนานสิงหาสับ)