แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ (อังกฤษ:Calcium channel blockers) เป็นกลุ่มของยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อในส่วนที่ทำให้ร่างกายพักผ่อน หลักใหญ่ในการออกฤทธิ์ของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ คือการทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง (hypertension) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ส่วนใหญ่จะลดแรงหดตัวของ กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) จากผลของ อินโนโทรปิก ในทางลบของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ซึ่งควรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค คาร์ดิโอไมโอพาที่ (cardiomyopathy-กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง)
แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ หลายตัวทำให้การนำไฟฟ้าในหัวใจช้าลง จากการที่มันไปหยุด แคลเซียม แชนเนล ตอนช่วงขาขึ้นของกร๊าฟ (plateau phase) ใน แอคชั่น โพเทนเชียล (action potential) ของหัวใจ (ดูคาร์ดิแอก แอคชั่น โพเทนเชียล) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) ลดลงและอาจเป็นให้ หัวใจหยุดเต้น (heart block)ได้ ผลของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ชนิดนี้เรียกว่า ผลโครโนโทรปิก (chronotropic) ในทางลบ ซึ่งเหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นเอเทรียล ไฟบิเลชั่น (atrial fibrillation) หรือ ใจสั่น (atrial flutter)
สารบัญ |
[แก้] กลไกการออกฤทธิ์ (Mechanism of action)
แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ทำงานโดยการขัดขวางความไวต่อกระแสไฟฟ้า (voltage-sensitive) ของแคลเซียม แชนแนลในหัวใจ และ ใน หลอดเลือด เป็นการป้องกันระดับ แคลเซียม ในเซลล์ไม่ให้สูงมากเมื่อถูกกระตุ้นเป็นผลให้:
- การหดตัวลดลง และ
- นำไปสู่การลดลงของ ความต้านทานส่วนปลายทั้งหมด (total peripheral resistance) จากการขยายตัวของหลอดเลือด
- ลด การทำงานของหัวใจ (cardiac output) จากการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง
- ความดันโลหิต ลดลงหัวทำงานน้อยลง
ด้วยเหตุนี้ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาในโรค คาร์ดิโอไมโอพาที่ และ โรคหัวใจแบบโคโลนารี่ (coronary heart disease) ไม่เหมือนกับยาในกลุ่ม บีต้า บล๊อคเกอร์ ที่หัวใจยังคงตอบสนองต่อการกระตุ้นของ ระบบประสาทซิมพาทีติก (sympathetic nervous system)ดังนั้นความดันโลหิตจึงยังสามารถควบคุมไดอย่างมีประสิทธิภาพ
[แก้] แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ มีรายชื่อดังนี้
[แก้] แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ กลุ่ม ไดไฮโดรไพริดีน (Dihydropyridine)
- แอมโลดิปีน besylate (Amlodipine-Norvasc)
- ฟีโลดิปีน (Felodipine-Plendil)
- นิคาร์ดิปีน (Nicardipine-Cardene, Carden SR)
- นิฟีดิปีน (Nifedipine-Procardia, Adalat)
- นิโมดิปีน (Nimodipine-Nimotop)
- นิซอลดิปีน (Nisoldipine-Sular)
- นิเทรนดิปีน (Nitrendipine-Cardif, Nitrepin)
- เลอร์คานิดิปีน (Lercanidipine-Zanidip)
[แก้] แคลเซียม แชนเนล บล๊อคเกอร์ กลุ่ม ฟีนิลอัลไคลามีน (Phenylalkylamine)
- แกลโลพามิล (Gallopamil-D600)
- เวอราพามิล hydrochloride (Verapamil-Calan, Isoptin)
[แก้] แคลเซียม แชนเนล บล๊อคเกอร์ กลุ่ม เบนโซไทอะซิปีน (Benzothiazepine)
- ดิลไทอะเซม hydrochloride (Diltiazem-Cardizem)
[แก้] อื่นๆ
- เมนทอล (Menthol-น้ำมันมินท์ mintoil)
[แก้] ยาอื่นที่การใช้เหมือนกัน
ยากลุ่มอื่นที่มีผลคาบเกี่ยวกับฤทธิ์ของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ คือ
- เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitor)
- บีต้า บล็อกเกอร์ (beta-blocker)
- ไนเตรต (nitrates)
[แก้] ดูเพิ่ม
- เภสัชวิทยา
- แอคชั่น โพเทนเชียล
- คาร์ดิแอก แอคชั่น โพเทนเชียล
- แองจิน่า (Angina)
- ยาแอนตี้อะริทึมมิก (Antiarrhythmic agents)
- ความดันโลหิตสูง
- อาการหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ เภสัชกรรมและยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |