Competitive Strategy
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทฤษฏีีกลยุทธ์การแข่งขัน หรือ Competitive Strategy
Michael E. Porter ศาสตราจารย์จากฮาร์วาร์ด ที่ถือเป็นกูรูตัวจริงทางด้านกลยุทธ์มากว่ายี่สิบป
โดยทั่วไปความหมายของกลยุทธ์ ประกอบด้วยปัจจัย ต่างๆ
1. การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) และการนํากลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) เป็นกระบวนการต่อเนื่อง การนํากลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบริหารขององค์กร เช่น การจัดสรรและระดมทรัพยากรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ การแบ่งและจัดสรรงาน โครงสร้างองค์กรภายในการควบคุมและวัดประสิทธิผลของการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ
2. การวิเคราะห์การแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมที่องค์กรทําการแข่งขันอยู่ ซึ่งจะประกอบด้วยพลังผลักดันการแข่งขัน (competitive forces)
3. ภัยจากผู้บุกรุกหน้าใหม่ การบุกรุกเข้ามาในอุตสาหกรรมโดยนักลงทุนหน้าใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะเข้ามายึดครองส่วนแบ่งตลาด ซึ่งระดับของภัยของการบุกรุกจากนักลงทุนหน้าใหม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ (1) entry barrier ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม (2) ปฏิกิริยาตอบโตจากผู้ประกอบการเดิมที่คาดว่าจะได้รับ (expected retaliation)
4. สงครามการแข่งขัน การเข้าใจความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของพลังผลักดันการแข่งขัน จะทําให้องค์กรสามารถเตรียมหากลยุทธ์เพื่อรองรับการแข่งขันได้ ซึ่งความรุนแรงของการแข่งขัน จะประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ
5. การวิเคราะห์คู่แข่งขัน หัวใจของกลยุทธ์การแข่งขัน คือการเอาชนะคู่แข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์คู่แข่งขันอย่างเป็นระบบโดยพิจารณาจาก
(1)เป้าหมายในอนาคต ทั้งทางการเงินหรือว่าต้องการเป็นผู้นําตลาดหรือเทคโนโลยี
(2)ฐานคติ (assumptions) เกี่ยวกับบริษัทตนเองและแนวโน้มของอุตสาหกรรม
6. สัญญาณการแข่งขันทางการตลาด องค์กรธุรกิจจะต้องมีความพร้อมในการเข้าสู่สงครามการแข่งขัน ซึ่งจะอาศัยความสามารถในการสังเกตสัญญาณการแข่งขันจากคู่แข่งซึ่งอาจได้มาจากความบังเอิญ หรือเกิดจากความตั้งใจ ซึ่งสัญญาณการแข่งขันอาจมาในรูปแบบต่างๆ