ค่ายกักกันบูเคนวอลด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายกักกันบูเคนวอลด์ (อังกฤษ: Buchenwald concentration camp) เป็นค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีเยอรมนี จัดตั้งที่เอ็ดเทอร์เบิร์ก (ภูเขาเอ็ดเทอร์) ใกล้กับไวมาร์ ธูริงเกีย ประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 มีการใช้แรงงานนักโทษส่วนใหญ่เยี่ยงทาสตามโรงงานผลิตอาวุธต่างๆ หลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียง
ระหว่างปี พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2493 ค่ายกักกันนี้ถูกใช้โดยพวกโซเวียตที่เป็นฝ่ายยึดครองส่วนหนึ่งของเยอรมนี
[แก้] ประวัติ
คำว่าบูเคนวอลด์ในภาษาเยอรมันแปลว่า “ป่าต้นบีช” ที่ใช้ชื่อนี้เนื่องจากทางการนาซีเกรงว่าการตั้งชื่อตามสถานที่ คือ เอ็ดเทอร์เบิร์ก นั้น มีความเกี่ยวพันกับ “เกอเธ่” ผู้ได้รับการนับถือยกย่องของชาวเยอรมันทั้งปวง รวมทั้งยังไม่กล้าเรียกชื่อตามเมืองใกล้ๆ คือเมือง “ฮ็อคเทลสเตดท์” เนื่องจากอาจทำให้เกียรติภูมิของหน่วย "ทหารเอสเอส” ที่ตั้งอยู่เสื่อมเสียลง
ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 และเดือนเมษายน พ.ศ. 2488 มีจำนวนผู้ถูกกักกันในค่ายนี้ประมาณ 250,000 คนโดยระบอบนาซี รวมทั้งเชลยศึกชาวอเมริกัน อังกฤษและแคนาดา จำนวน 168 คน จำนวนคนที่ตายในค่ายนี้มีจำนวนประมาณ 56,600 คน
นักโทษจำนวนมากตายจากการเป็น “มนุษย์ทดลอง” (แทนหนูทดลอง) และจากฝีมือยามของทหารเอสเอส ณ ช่วงเวลาหนึ่งมีการยอมให้ส่งเถ้ากระดูกของเชลยที่ตายใส่กล่องส่งให้ญาติทางไปรษณีย์โดยที่ญาติผู้ตายต้องเป็นฝ่ายออกค่าแสตมป์ แต่ในระยะหลังยกเลิกเนื่องจากมีการตายมากขึ้น
แม้ว่าไม่อาจนับค่ายนี้ทางเทคนิคได้ว่าเป็น ค่ายกำจัดเชลยมนุษย์ ได้เต็มปากนั้นเนื่องมาจากการประหารชีวิตเชลยศึกชาวโซเวียตที่นาซีจับได้แบบไม่มีการไต่สวนได้เกิดขึ้นที่นี่ อย่างน้อยเชลยศึกชาวโซเวียตประมาณ 1,000 คน ที่เลือกมาโดยหน่วยเฉพาะกิจสืบราชการลับของเกสตาโปที่เมืองเดรสเดน ระหว่าง พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2485 และส่งมาที่ค่ายนี้ถูกสังหารโดยการถูกจ่อยิงที่ศรีษะทันทีที่เดินทางมาถึง
ค่ายกักกันบูเคนวอลด์ถูกใช้เป็นที่ทดลองวัคซีนขนาดใหญ่สำหรับป้องกันโรคระบาดไทฟอยด์ในปี พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2486 มีการใช้นักโทษทดลองไป 725 คน ในจำนวนนี้ตายไป 280 คนเนื่องความอ่อนแอจากการอยู่อย่างแออัดในค่ายบล็อก 46 ทำให้เชื้อแบคทีเรียระบาดได้นาน ทำให้คนตายและบาดเจ็บมากว่าปกติจากคนทั่วไปที่มีสุขภาพสมบูรณ์
ผู้บัญชาค่ายคนแรกคือคาร์ล อ็อตโต โคช ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการค่ายระหว่าง พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2484 ภรรยาคนที่สองชื่ออิลิเซ โคช ได้สร้างพฤติกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น “แม่มดแห่งบูเคนวอลล์” เนื่องจากพฤติกรรมที่ชอบกระทำการทารุณโหดร้ายกับนักโทษ เธอเคยใช้นักโทษสร้างสวนสัตว์ในค่ายไว้ให้ลูกๆ ดู โคชถูกทางการนาซีจับลงโทษฐานคอรัปชั่นและเอาเปรียบนักโทษคนงานและค้าตลาดมืดและถูกตัดสินประหารชีวิตที่ค่ายนี้เมื่อ พ.ศ. 2488 ส่วนภรรยาถูกตัดสินจำคุก 4 ปี และได้ลดโทษเหลือ 2 ปีหลังสงคราม แต่ต่อมาเมื่อพบความผิดเพิ่ม รัฐบาลเยอรมันหลังสงครามดำเนินคดีใหม่ คราวนี้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ต่อมาเธอได้ฆ่าตัวตายในคุกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2510
นอกจากนี้ค่ายกักกันบูเคนวอลด์แห่งนี้ยังถูกใช้สำหรับขังนักศึกษาชาวนอร์เวย์จำนวนหลายคน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2486 จนสิ้นสงคราม พวกนาซีปฏิบัติต่อนักศึกษาเหล่านี้ดีกว่านักโทษอื่นๆ โดยได้อยู่ในอาคารที่มีเครื่องทำความอบอุ่นและมีเสื้อผ้าเป็นของตนเองได้โดยหวังจะใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนเชลยกับฝ่ายสัมพันธมิตร
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 มีระเบิดลูกหลงจากการทิ้งระเบิดโรงงานผลิตอาวุธหลายแห่งข้างเคียงของเครื่องบินอเมริกันตกมาถูกค่ายทำให้มีนักโทษชีวิตเป็นจำนวนมาก
ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2487 มีตำรวจเดนมาร์กจำนวน 1,900 นายที่ถูกจับและเนรเทศจากประเทศของตนเองไปเยอรมันก็ถูกนำมากักขังไว้ที่นี่เมื่อวันที่ 19 กันยายน จากการเจรจาของรัฐบาลเดนมาร์กกับฝ่ายนาซีผู้ยึดครอง ทำให้ตำรวจนักโทษเหล่านี้รับกล่องสะเบียงจากสภากาชาดเดนมาร์กได้และได้รับฐานะเป็นเชลยสงคราม นักโทษเดนมาร์กเหล่านี้ถูกย้ายไปกักในค่ายอื่นที่มีสภาพดีกว่าสำหรับเชลยศึก แต่ระหว่างถูกกักขังที่ค่ายกักกันบูเคนวอลด์นี้ นักศึกษาได้ตายไป 62 คน
ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2488 นาซีเยอรมันได้อพยพนักโทษและข้าวของออกไปบางส่วน เนื่องการการรุกคืบหน้าของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งในโอกาสนี้เองที่พวกนักโทษคอมมิวนิสต์โซเวียตได้ลุกฮือฆ่าผู้คุมที่เหลือและยึดค่ายกักกันบูเคนวอลด์แห่งนี้ไว้ได้ และสองวันต่อมากองทัพอเมริกันได้เข้ามาควบคุมค่ายเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2488 หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรถอนตัว กองทัพโซเวียตได้เข้ามาใช้ค่ายนี้ต่อตั้งแต่ พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2493
[แก้] ดูเพิ่ม
- เรื่องราว ภาพและรายชื่อบุคคลมีชื่อเสียงจำนวนมากที่เคยเป็นนักโทษได้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1]
[แก้] อ้างอิง
- วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ