พ.ศ. 2488
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2485 2486 2487 - พ.ศ. 2488 - 2489 2490 2491 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 24 - พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.ศ. 2477-2489)
- นายกรัฐมนตรี :
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2487-2488)
- นายทวี บุณยเกตุ (31 ส.ค. - 17 ก.ย.)
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (พ.ศ. 2488-2489)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2488
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม
- 2 มกราคม - สงครามโลกครั้งที่ 2: ฝ่ายพันธมิตรใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มสะพานพระราม 6
- 17 มกราคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพสหภาพโซเวียตเข้าโจมตีกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์
- 27 มกราคม - กองทัพแดงปล่อยตัวนักโทษ 7,500 คน ที่นาซีกักขังไว้ในค่ายกักกันเอาส์ชวิตซ์ (Auschwitz) ประเทศโปแลนด์
- 27 มกราคม - ก่อตั้ง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
[แก้] กุมภาพันธ์
- 4 กุมภาพันธ์ - วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ และโจเซฟ สตาลิน พบกันในที่ประชุมร่วมยอลตา
- 13 กุมภาพันธ์ - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองกำลังสหภาพโซเวียตยึดเมืองบูดาเปสต์ของฮังการี จากนาซี
- 14 กุมภาพันธ์ - กองทัพอากาศอังกฤษ เริ่มการระเบิดเมืองเดรสเดนในประเทศเยอรมนี ส่งผลให้เกิดพายุเพลิงคร่าชีวิตพลเรือนหลายหมื่นคน
- 23 กุมภาพันธ์ - กลุ่มนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ปักธงบนเกาะอิโวะจิมะที่อยู่ห่าง 1,045 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น หลังจากชัยชนะในศึกแห่งอิโวะจิมะ ภาพถ่ายการปักธงได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
[แก้] มีนาคม
- 9 มีนาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ถล่มเมืองโตเกียวของญี่ปุ่น ทำให้เกิดพายุเพลิง คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นประมาณ 100,000 คน
- 22 มีนาคม - สันนิบาตอาหรับ ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
[แก้] เมษายน
- 1 เมษายน - ศึกแห่งโอกินาวาในสงครามโลกครั้งที่สอง : ทหารสหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
- 5 เมษายน - โจซิป โบรซ ติโต ยอมให้ทหารโซเวียต เข้าสู่ดินแดนยูโกสลาเวียเป็นการชั่วคราว
- 7 เมษายน - เรือรบยามาโตะของญี่ปุ่นจมลง 200 กิโลเมตร ทางเหนือของโอกินาวา
- 11 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองกำลังสหรัฐ บุกสลายค่ายกักกันบูเคนวอลด์ของนาซีเยอรมัน
- 20 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองไลป์ซิก
- 25 เมษายน - มีการเจรจาก่อตั้งสหประชาชาติที่ซานฟรานซิสโก
- 30 เมษายน - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และภรรยา กระทำอัตวินิบาตกรรม ขณะกองทัพแดงบุกเข้าใกล้ที่ซ่อนของเขาในกรุงเบอร์ลิน
[แก้] พฤษภาคม
[แก้] มิถุนายน
- 8 มิถุนายน - ก่อตั้ง ธนาคารกสิกรไทย
- 12 มิถุนายน - สถาปนา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- 21 มิถุนายน - สงครามโลกครั้งที่สอง: ศึกแห่งโอกินาวาสิ้นสุดลง
- 26 มิถุนายน - ประเทศสมาชิกลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ ณ ซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
[แก้] กรกฎาคม
- 16 กรกฎาคม - โครงการแมนฮัตตัน : การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกของโลกใน "แผนปฏิบัติการทรินิตี" มีขึ้นในทะเลทรายใกล้เมืองอลามากอร์โด มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
- 17 กรกฎาคม - วินสตัน เชอร์ชิลล์, โจเซฟ สตาลิน และแฮร์รี เอส. ทรูแมน หารือกันในการประชุมร่วมพอตส์แดม เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการปกครองเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
- 30 กรกฎาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: เรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงตอร์ปิโด 2 ลูก ถล่ม เรือรบอินเดียแนโพลิส ของสหรัฐฯ ขณะมุ่งหน้าไปยังฟิลิปปินส์ ทำให้ลูกเรือ 883 คน เสียชีวิต เป็นการสูญเสียลูกเรือคราวเดียวกันครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
- 30 กรกฎาคม - รัฐบาลไทยแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเฉพาะสี่จังหวัดภาคใต้เป็นครั้งแรก หลังจากมีการฟื้นฟูตำแหน่งเกี่ยงกับศาสนาอิสลาม
[แก้] สิงหาคม
- 6 สิงหาคม - สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ (ลิตเติลบอย) ถล่มนครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน สิ้นปีมีผู้เสียชีวิตอีก 60,000 คน จากการได้รับกัมมันตภาพรังสี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ราว 200,000 คน
- 9 สิงหาคม - สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์แฟตแมน เหนือเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
- 14 สิงหาคม - ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
- 15 สิงหาคม - ญี่ปุ่นรับข้อตกลงในเอกสารยอมจำนน ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
- 15 สิงหาคม - ประเทศเกาหลีได้รับเอกราชหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น
- 16 สิงหาคม - วันสันติภาพไทย : หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศให้การประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ
- 17 สิงหาคม - ประเทศอินโดนีเซียประกาศเอกราช
- 31 สิงหาคม - พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
[แก้] กันยายน
- 2 กันยายน - ญี่ปุ่นลงนามในเอกสารยอมจำนนบนเรือรบมิสซูรีของสหรัฐฯ ที่ทอดสมอในอ่าวโตเกียว เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ
- 2 กันยายน - โฮจิมินห์ ประกาศสภาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งต่อมาหลังจาการรวมประเทศใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- 17 กันยายน - หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
[แก้] ตุลาคม
- 6 ตุลาคม - ประกาศใช้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2488
- 21 ตุลาคม - สตรีได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส
- 24 ตุลาคม - วันก่อตั้งสหประชาชาติ
[แก้] พฤศจิกายน
- 28 พฤศจิกายน - เกิดแผ่นดินไหวในประเทศปากีสถาน ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4,000 คน
[แก้] ธันวาคม
- 5 ธันวาคม - พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย
- 5 ธันวาคม - เครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดในเที่ยวบินที่ 19 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา สูญหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ขณะฝึกบินนอกชายฝั่งฟลอริดา
- 27 ธันวาคม - นานาชาติให้สัตยาบันในข้อตกลงเบร็ตตันวูดส์ นำไปสู่การก่อตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา
[แก้] ไม่ทราบวัน
[แก้] เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
- สงครามจีน-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2480-2488)
- สงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2482-2488)
[แก้] วันเกิด
- 8 มีนาคม - วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.
- 30 มีนาคม - อีริค แคลปตัน นักร้อง/นักดนตรี ชาวอังกฤษ
- 31 มีนาคม - กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) นักประพันธ์ (ถึงแก่กรรม 16 มิถุนายน พ.ศ. 2517)
- 2 เมษายน - ลินดา ฮันต์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 18 พฤษภาคม - สุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
- 22 พฤษภาคม - ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- 19 มิถุนายน - ออง ซาน ซูจี กวี นักการเมือง และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ชาวพม่า
- 24 มิถุนายน - สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักประพันธ์
- 5 กรกฎาคม - จารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- 10 กรกฎาคม - พิภพ ธงไชย หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- 13 กรกฎาคม - สุวรรณ วลัยเสถียร นักกฎหมาย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
- 28 กรกฎาคม - จิม เดวิส ผู้เขียนการ์ตูนการ์ฟิลด์
- 14 กันยายน - กร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย
- 30 กันยายน - เอฮุด โอลเมิร์ต นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของอิสราเอล
- 6 พฤศจิกายน - วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.
- 11 พฤศจิกายน - ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- 25 พฤศจิกายน - อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.
- เฟเลติ เซเวเล - นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของประเทศตองกา
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- มีนาคม - แอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิวผู้เขียนอนุทินซึ่งภายหลังได้รับการตีพิมพ์ทั่วโลก (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
- 12 เมษายน - แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2424)
- 28 เมษายน - เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี (เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426)
- 30 เมษายน - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการชาวเยอรมัน (อัตวินิบาตกรรม) (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2432)
- 23 กรกฎาคม - พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (ประสูติ 10 มกราคม พ.ศ. 2419)
- 10 สิงหาคม - โรเบิร์ต ก็อดดาร์ด นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจรวดชาวอเมริกัน (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2425)
- 18 สิงหาคม - สุภาส จันทรโภส ผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของชาวอินเดีย (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2439)
- 26 กันยายน - เบลา บาร์ต็อก คีตกวีและนักเปียโนชาวฮังการี (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2423)