จาตุรนต์ ฉายแสง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาตุรนต์ ฉายแสง เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
[แก้] ภูมิหลังและการศึกษา
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของนายอนันต์ ฉายแสง กับนางเฉลียว ฉายแสง เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ในจังหวัดบ้านเกิด จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้สอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งทำกิจกรรมนักศึกษาไปด้วยจนได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษา และขณะที่ยังเรียนชั้นปีที่ 4 ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าระยะหนึ่ง ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายเขาจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จาก State University of New York สหรัฐอเมริกา และได้รับทุน Teaching American University Washington D.C. USA เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประะมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากต้องกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.
[แก้] เส้นทางการเมือง
ด้วยเหตุที่บิดาเป็นนักการเมือง ทำให้จาตุรนต์ ฉายแสง ได้รับรู้ถึงความเป็นอยู่ของผู้คนที่มีความแตกต่างและหลากหลาย จนเกิดความสนใจทางการเมืองอย่างไม่รู้ตัว เมื่อเขาเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมนักศึกษา การออกค่ายอาสาพัฒนา และได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนักศึกษามาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีบทบาทสำคัญในการนำนักศึกษาเข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจเผด็จการ จนนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนามพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549
[แก้] ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
[แก้] ตำแหน่งในพรรคการเมือง
- ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
- ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
- ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
- ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย
[แก้] ตำแหน่งบริหาร
- ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
- ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ปี พ.ศ. 2545
- เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- ปี พ.ศ. 2548
- เดือนเมษายน 2548 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ต่ออีก 1 สมัย
- เดือนสิงหาคม 2548 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจนถึงเหตุการณ์รัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
[แก้] ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ
- ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.)
- กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
- รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก
[แก้] เกียรติรางวัลที่เคยได้รับ
จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น
- รางวัล "นักการเมืองมาตรฐานแห่งปี 2542” จากสมัชชา สสร.แห่งประเทศไทย
- นิตยสารเอเชียวีค (Asia Week) จัดให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติในเอเชีย ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2542
- นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
- เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาลออสเตรเลีย เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
- รางวัล “ลี กวน ยิว” จากประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
- The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภาอาเซียนกับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2546
- รางวัล "บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย" (Thailand key's maker) ปี พ.ศ. 2546 จากการโหวตของประชาชนผ่านคลื่น 101 News Channel ด้วยผลงานการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เมื่อปี 2547
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เสนาบดี (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร · เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี · เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน |
เสนาบดี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) · พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) · หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดิเรก ชัยนาม · พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) · หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) · เสนีย์ ปราโมช · พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) · พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) · เลียง ไชยกาล · เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ · พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) · หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) · กมล วรรณประภา · ประกอบ หุตะสิงห์ · กิตติ สีหนนท์ · เทียม ไชยนันท์ · ใหญ่ ศวิตชาต · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชวน หลีกภัย · เสมา รัตนมาลัย · สุธรรม ภัทราคม · มารุต บุนนาค · พิภพ อะสีติรัตน์ · สะอาด ปิยวรรณ · จำรัส มังคลารัตน์ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ประภาศน์ อวยชัย · สวัสดิ์ คำประกอบ · วิเชียร วัฒนคุณ · สุวิทย์ คุณกิตติ · ไสว พัฒโน · เฉลิม อยู่บำรุง · สุทัศน์ เงินหมื่น · พงศ์เทพ เทพกาญจนา · จาตุรนต์ ฉายแสง · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · ชาญชัย ลิขิตจิตถะ |
จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ จาตุรนต์ ฉายแสง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |