ชวน หลีกภัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชวน หลีกภัย | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 20
|
|
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (ยุบสภา) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (ยุบสภา) |
|
สมัยก่อนหน้า | อานันท์ ปันยารชุน (พ.ศ. 2535) พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ. 2540) |
---|---|
สมัยถัดไป | บรรหาร ศิลปอาชา (พ.ศ. 2538) พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544) |
|
|
เกิด | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
สังกัดพรรค | พรรคประชาธิปัตย์ |
สมรสกับ | ภักดิพร สุจริตกุล (นอกสมรส) |
นายชวน หลีกภัย เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม และนางถ้วน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 และสมัยที่สองในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544
สารบัญ |
[แก้] ประวัติการศึกษา
- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
- มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
- สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
- พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้] การทำงานช่วงแรก
ชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดตรัง ภายใต้พรรคประชาธิปัตย์ และได้มาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ซึ่งได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้
[แก้] นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
- วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา
- วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจากพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยค่าเงินบาท
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน โดยฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดในสภา 393 คน เพียงครึ่งเสียง [1]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมือง ที่ถูกตั้งชื่อว่า กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล โดยคำชวนของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ จนกระทั่งถูกพรรคประชากรไทยมีมติขับไล่ ทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด
นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล
นอกจากนี้ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น
การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ [2] แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน
[แก้] คำยกย่องและคำวิจารณ์
[แก้] คำยกย่อง
- มักย้ำอยู่เสมอว่าตนเองยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่างมาก[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- ผู้สนับสนุนบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) นอกจากนี้ภาพที่พบจากสื่อมักแสดงให้เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างสมถะ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
[แก้] คำวิจารณ์
- การอนุมัติแต่งตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร หนึ่งใน 3 ทรราช เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 ท่ามกลางกระแสไม่พอใจของสังคม สื่อมวลชน และโดยเฉพาะญาติของผู้เสียชีวิต/สูญหายในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา
- แม้ว่านายชวนจะได้รับคำชื่นชมจากผู้สนับสนุนบางกลุ่มในเรื่องของความสุจริต แต่ก็มีข่าวการทุจริตของบุคคลรอบข้างนายชวนเป็นระยะ เช่น
- กรณีนายระลึก หลีกภัย น้องชายของนายชวน มีคดีฉ้อโกงทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทย จำนวน 200 ล้านบาท และหลบหนีไปต่างประเทศ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- คนขับรถประจำตัวของชวน หลีกภัย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ ฐานค้าซีดีเถื่อน ในบ้านพิษณุโลก ซึ่งเป็นบ้านประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- ชวน หลีกภัยมักออกรับประกันแทนลูกพรรคที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต โดยจะพูดจากผิดให้เป็นถูกเสมอ เปรียบเสมือนกับการทาสีดำให้เป็นขาวจนได้รับสมญานาม "ช่างทาสี" ในการตั้งสมญาประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2545 ชวนได้สมญาว่าเป็น "แผ่นเสียงตกร่อง"[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำงานช้า โดยมีคำพูดที่ถูกนำไปล้อเลียนประจำคือ "ผมยังไม่ได้รับรายงาน" "ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน" "อันนี้ผมกำลังพิจารณาอยู่"
- ในช่วงเดือนปลายปี 2547 ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการขอใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และให้ความเห็นว่าการใช้งบประมาณนี้ในการช่วยเหลือภาคใต้ ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะว่ารัฐบาลละเลยไม่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวมาตลอดสี่ปีเพื่อเป็นการแก้เผ็ดที่ไม่เลือกรัฐบาล[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- กรณีขาย ปรส. และ "กฎหมายขายชาติ" 12 ฉบับ
- นักการเมืองผู้ใกล้ชิดของนายชวนหลายคน ร่ำรวยขึ้นมาโดยไม่มีอาชีพอื่นนอกจากเป็นนักการเมือง[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- จำนวนทรัพย์สิน
- นายชวน หลีกภัย รับราชการการเมืองทั้งตำแหน่ง ส.ส. และรัฐมนตรี มาตั้งแต่อายุยังน้อย (เริ่มเป็น ส.ส. เมื่ออายุ 25 ปี) ได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการระดับปลัดกระทรวง แต่จากการแสดงทรัพย์สินต่อ ปปช. และการแสดงตนว่ามีชีวิตสมถะ รวมทั้งการอาศัยบ้านเพื่อนอยู่ ทำให้มีผู้สงสัยว่ารายได้สะสมเหล่านั้นหายไปไหน
- เงินเดือน รายได้ของนายชวน หลีกภัย ส่วนหนึ่งบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ตามระเบียบของพรรคประชาธิปัตย์เป็นรายเดือน และช่วยเหลือสมาชิกพรรคฯ คนอื่น ๆ
[แก้] บทบาททางการเมืองภายหลังจากการเป็นนายก
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 นายชวนต้องการที่จะก้าวลงมาจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จากการลงคะแนนเสียงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐานก็ได้รับเลือกมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ รวมแล้ว นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัย เป็นเวลารวม 12 ปี
ในการเลือกตั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงต่อการจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคไทยรักไทย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนมากกว่า เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
[แก้] รางวัลและเกียรติยศ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ: ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม., 2522), ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช., 2523), มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม., 2524), มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช., 2525), ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว., 2539), ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว., 2541)
- รางวัลเกียรติคุณจากต่างประเทศ: Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (2536), Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู (2542), Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส (2542), Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว (2543), Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย (2543)
- เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ราชนาวิกสภาและประกาศนียบัตรของกองทัพเรือ จากการสนับสนุนการศึกษาของกองทัพเรือ โดยนับเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก ที่ได้รับเครื่องหมายนี้ โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
[แก้] วาทะชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัยได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีคารมคมคาย ในแบบเชือดเฉือน จนได้ฉายาว่า " ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง " ตัวอย่างวาทะเด็ดของนายชวน หลีกภัย เช่น
" เราไม่อาจทำให้คนทุกคนร่ำรวยเท่าเทียมกันได้ แต่เราสามารถทำให้ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายเดียวกันได้ "
" ยอมให้คนโง่ที่คนรอบข้างซื่อสัตย์ปกครองประเทศดีกว่า ปล่อยให้คนซื่อแต่คนรอบข้างโกงกินปกครองประเทศ "
[แก้] หมายเหตุ
^ แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้รับการวิพาร์กวิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นโยบายที่มุ่งช่วยเหลือคนรวยก่อน เพื่อให้คนรวยไปช่วยคนจนในภายหลัง ซึ่งฝ่ายที่วิจารณ์ วิจารณ์ว่า เปรียบประดุจการรดน้ำต้นไว้ที่ยอด ซึ่งยากที่น้ำจะซึมลงไปสู่รากได้ นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์ว่า สาเหตุหลักเกิดจาก นโยบายเปิดเสรีทางการเงิน BIBF ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ในปี 2532 เป็นสาเหตุให้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในรัฐบาลต่อมาจากรัฐบาลสมัยที่ 1 ในขณะที่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้อย่างตายตัว ทำให้รัฐบาลชวลิตไม่มีทางเลือก และต้องลดค่าเงินบาทในปี 2540 ในช่วงปีสุดท้ายของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ภาคประชาชนต่างๆ ได้ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรง และได้มี "คำประกาศอิสรภาพของประเทศไทย" ที่กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง ได้จัดประชุมขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2544 ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว คนว่างงานจำนวนมาก คำมั่นสัญญาจากรัฐบาลว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้น แต่เวลาได้ล่วงเลยมากว่า 3 ปีแล้วทำให้ประชาชน หันไปสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรอย่างท่วมท้น จนทำให้เป็นพรรคการเมืองแรกที่ชนะเลือกตั้งถึงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฏร (ในเบื้องต้น พรรค.ทรท.ได้ 250 ที่นั่ง เท่ากับครึ่งหนึ่งของสภาที่มีจำนวน 500 ที่นั่ง แต่ผู้สมัครถูกใบแดงไป 2 ที่นั่งจึงลดลงเหลือ 248 ที่นั่ง)
- มีข้อสังเกตว่า ปลายสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากไอเอ็มเอฟ ฐานะเงินคงคลัง และเงินสำรองมีมาก ถึงระดับปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเบิกถอนเงินสถาบัน ไอเอ็มเอฟ ที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่ รัฐบาลได้ถอนเงิน 12000 ล้านเหรียญสหรัฐจากวงเงิน 17200 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเป็นข้ออ้างอิงว่าฐานะการเงินของประเทศในสมัยรัฐบาลนายชวนนั้น ดีขึ้นแล้ว[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
- ระยะแรกของรัฐบาลนายชวน แก้ไขปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ จนทำให้ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถกู้และชำระหนี้ได้ และโดนล้อเลียนว่า คุณพ่อไอเอ็มเอฟ ภายหลังจึงลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเนื่องจากไอเอ็มเอฟออกมาสารภาพว่าการขึ้นดอกเบี้ยสูงเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้อง
- นายชวน หลีกภัย มีบุตรนอกสมรสกับ ภักดิพร สุจริตกุล
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูล ชวน หลีกภัย จากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
- เว็บไซต์ส่วนตัวของ ชวน หลีกภัย
- ชวน หลีกภัย ประวัติบุคคล สำนักข่าวไทย
- หนังสือเย็นลมป่า ผลงานชิ้นเอกที่เขียนเรื่องและวาดรูปประกอบด้วยตนเอง บันทึกเรื่องจริง! เหตุการณ์บางเสี้ยวชีวิต ชวน หลีกภัย
สมัยก่อนหน้า: นายอานันท์ ปันยารชุน |
นายกรัฐมนตรีไทย (รัฐบาลที่ 50) พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538 |
สมัยถัดไป: นายบรรหาร ศิลปอาชา |
สมัยก่อนหน้า: พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
นายกรัฐมนตรีไทย (รัฐบาลที่ 53) พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2544 |
สมัยถัดไป: พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร |
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
เสนาบดี (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร · เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี · เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน |
เสนาบดี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) · พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) · หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดิเรก ชัยนาม · พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) · หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) · เสนีย์ ปราโมช · พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) · พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) · เลียง ไชยกาล · เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ · พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) · หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) · กมล วรรณประภา · ประกอบ หุตะสิงห์ · กิตติ สีหนนท์ · เทียม ไชยนันท์ · ใหญ่ ศวิตชาต · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชวน หลีกภัย · เสมา รัตนมาลัย · สุธรรม ภัทราคม · มารุต บุนนาค · พิภพ อะสีติรัตน์ · สะอาด ปิยวรรณ · จำรัส มังคลารัตน์ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ประภาศน์ อวยชัย · สวัสดิ์ คำประกอบ · วิเชียร วัฒนคุณ · สุวิทย์ คุณกิตติ · ไสว พัฒโน · เฉลิม อยู่บำรุง · สุทัศน์ เงินหมื่น · พงศ์เทพ เทพกาญจนา · จาตุรนต์ ฉายแสง · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · ชาญชัย ลิขิตจิตถะ |
กระทรวงเกษตรพาณิชยการ | พระยาวงษานุประพัทธ์ |
กระทรวงเศรษฐการ (ยุคแรก) |
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) · พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สารสาส) · พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) · พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) |
กระทรวงเศรษฐกิจ | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) · สินธุ์ กมลนาวิน · จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
กระทรวงพาณิชย์ (ยุคแรก) |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ · ควง อภัยวงศ์ · หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ · หลวงศุภชลาศัย · หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ · วิลาศ โอสถานนท์ · เดือน บุนนาค · พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) · หลวงวิจิตรวาทการ |
กระทรวงเศรษฐการ (ยุคสอง) |
นายวรการบัญชา · แปลก พิบูลสงคราม · ศิริ สิริโยธิน · เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · สุนทร หงส์ลดารมภ์ · เกษม ศรีพยัตฆ์ · พจน์ สารสิน · บุญชนะ อัตถากร |
กระทรวงพาณิชย์ | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชาญชัย ลี้ถาวร · วิจารณ์ นิวาตวงศ์ · ดำรง ลัทธพิพัฒน์ · ทองหยด จิตตวีระ · สุธี นาทวรทัต · นาม พูนวัตถุ · อบ วสุรัตน์ · ตามใจ ขำภโต · ปุนมี ปุณศรี · ชวน หลีกภัย · โกศล ไกรฤกษ์ · สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ · มนตรี พงษ์พานิช · สุบิน ปิ่นขยัน · อมเรศ ศิลาอ่อน · อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ชูชีพ หาญสวัสดิ์ · ณรงค์ชัย อัครเศรณี · สม จาตุศรีพิทักษ์ · ศุภชัย พานิชภักดิ์ · อดิศัย โพธารามิก · วัฒนา เมืองสุข · ทนง พิทยะ · สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ · เกริกไกร จีระแพทย์ |
เกษตราธิการ | เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) · เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) · เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) |
เกษตรพาณิชยการ | พระยาวงษานุประพัทธ์ |
กระทรวงเศรษฐการ | พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) · พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สารสาส) · พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) · พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) |
กระทรวงเกษตราธิการ | พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) · พระยาฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ) · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) · หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) · สินธุ์ กมลนาวิน · ทวี บุณยเกตุ · พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ์ จุณณานนท์) · พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์) · จรูญ สืบแสง · ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · ควง อภัยวงศ์ · หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร · พระยาพนานุจร (เปล่ง สาครบุตร) · พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) · เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ · หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
กระทรวงสหกรณ์ | หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) · ศิริ สิริโยธิน · แปลก พิบูลสงคราม · วิบูลย์ ธรรมบุตร · พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) |
กระทรวงเกษตร | หลวงสุนาวินวิวัฒ (พิศาล สุนาวิน) · ผิน ชุณหะวัณ · วิบูลย์ ธรรมบุตร · สวัสดิ์ มหาผล · สุรจิตร จารุเศรณี · พระประกาศสหกรณ์ · หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ |
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ทวี จุลทรัพย์ · หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ · สวัสดิ์ คำประกอบ · ทวิช กลิ่นประทุม · ประมาณ อดิเรกสาร · อินทรีย์ จันทรสถิตย์ · ปรีดา กรรณสูต · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · บรรหาร ศิลปอาชา · อาณัติ อาภาภิรม · ชวน หลีกภัย · ณรงค์ วงศ์วรรณ · หาญ ลีลานนท์ · สนั่น ขจรประศาสน์ · ณรงค์ วงศ์วรรณ · พินิจ จันทรสุรินทร์ · โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ · นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ · ประจวบ ไชยสาส์น · มนตรี พงษ์พานิช · สุวิทย์ คุณกิตติ · ชูชีพ หาญสวัสดิ์ · ปองพล อดิเรกสาร · ประภัตร โพธสุธน · สรอรรถ กลิ่นประทุม · สมศักดิ์ เทพสุทิน · วันมูหะมัดนอร์ มะทา · สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ · ธีระ สูตะบุตร |
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · จิตร ศรีธรรมาธิเบศ ณ สงขลา · หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) · แสง สุทธิพงศ์ · ประจวบ บุนนาค · เล็ก สุมิตร · พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) · ประยูร ภมรมนตรี · ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี · เฉลิม พรมมาศ · พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · อุดม โปษกฤษณะ · คล้าย ละอองมณี · ประชุม รัตนเพียร · สวัสดิ์ คำประกอบ · ทวี จุลทรัพย์ · ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ · บุญสม มาร์ติน · เสม พริ้งพวงแก้ว · ทองหยด จิตตวีระ · มารุต บุนนาค · เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ · ชวน หลีกภัย · ประจวบ ไชยสาส์น · ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ · ไพโรจน์ นิงสานนท์ · บุญพันธ์ แขวัฒนะ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · เสนาะ เทียนทอง · มนตรี พงษ์พานิช · สมศักดิ์ เทพสุทิน · รักเกียรติ สุขธนะ · กร ทัพพะรังสี · สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ · สุชัย เจริญรัตนกุล · พินิจ จารุสมบัติ · มงคล ณ สงขลา |
หมวดหมู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิง | นายกรัฐมนตรีไทย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2481 | นักการเมืองไทย | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย | พรรคประชาธิปัตย์ | ชาวตรัง