ทวี บุณยเกตุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวี บุณยเกตุ | |
นายกรัฐมนตรี คนที่ 5
|
|
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488 (ลาออก) |
|
สมัยก่อนหน้า | ควง อภัยวงศ์ |
---|---|
สมัยถัดไป | ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช |
|
|
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 จังหวัดตรัง, ประเทศไทย |
ถึงแก่อสัญกรรม | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 |
สมรสกับ | คุณหญิงอำภาศรี บุณยเกต |
นายทวี บุณยเกตุ (10 พ.ย. 2447 - 3 พ.ย. 2514) นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 (รัฐบาลที่ 12) หนึ่งในขบวนการเสรีไทยและผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก
สารบัญ |
[แก้] ชีวประวัติส่วนตัว
นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. ที่จังหวัดตรัง เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) สมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514 รวมอายุได้ 67 ปี
การศึกษา
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เรียนที่ตึกแม้นนฤมิตของเทพศิรินทร์)
- โรงเรียนราชวิทยาลัย
- คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
- วิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส
เป็น 1 ใน 2 คน ที่เป็นศิษย์เก่าทั้งสวนกุหลาบวิทยาลัยและเทพศิรินทร์กับ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
[แก้] ผลงานทางการเมือง
นายทวี บุณยเกตุได้ดำรงตำแหน่งทางราชการงานเมืองขณะอายุน้อยสุด เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อมีอายุ 41 ปี (2488) และ เป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ที่อยู่ในตำแหน่งนายกฯเพียง 17 วัน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงลาออกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 17 วัน และเคยอยู่ในหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(สมัยรัฐบาลของพันตรี ควง อภัยวงศ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี(รัฐบาลของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) ฯลฯ
นายทวี บุณยเกตุได้ก่อตั้งมูลนิธิทางการศึกษาชื่อ มูลนิธิ ทวี บุณยเกตุ ซึ่งเคยช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภา ผู้ประสบอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ใช้ชื่อท่านเป็นห้องประชุม (ห้องประชุม ทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี)
[แก้] ผลงานเขียน
- พ่อสอนลูก
- การสังคม (พ.ศ. 2543)
- การครองเรือน (พ.ศ. 2543)
[แก้] อ้างอิง
- ชีวประวัติจากเว็บศิษย์เก่าสวนกุหลาบเน็ตเวิร์ก
- หนังสือ “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับ ที่ 1 มิุถุนายน 2547
- ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สมัยก่อนหน้า: ควง อภัยวงศ์ |
นายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ {{{สมัยที่}}}) พ.ศ. 2488-พ.ศ. 2488 |
สมัยถัดไป: ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช |
เสนาบดี (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร · เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี · เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน |
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · จิตร ศรีธรรมาธิเบศ ณ สงขลา · หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) · แสง สุทธิพงศ์ · ประจวบ บุนนาค · เล็ก สุมิตร · พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) · ประยูร ภมรมนตรี · ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี · เฉลิม พรมมาศ · พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · อุดม โปษกฤษณะ · คล้าย ละอองมณี · ประชุม รัตนเพียร · สวัสดิ์ คำประกอบ · ทวี จุลทรัพย์ · ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ · บุญสม มาร์ติน · เสม พริ้งพวงแก้ว · ทองหยด จิตตวีระ · มารุต บุนนาค · เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ · ชวน หลีกภัย · ประจวบ ไชยสาส์น · ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ · ไพโรจน์ นิงสานนท์ · บุญพันธ์ แขวัฒนะ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · เสนาะ เทียนทอง · มนตรี พงษ์พานิช · สมศักดิ์ เทพสุทิน · รักเกียรติ สุขธนะ · กร ทัพพะรังสี · สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ · สุชัย เจริญรัตนกุล · พินิจ จารุสมบัติ · มงคล ณ สงขลา |