นักฟิสิกส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับผู้ที่ต้องการดูรายชื่อนักฟิสิกส์ในบทความทั้งหมดของวิกิพีเดียภาษาไทยกรุณากดที่นี่ category:นักฟิสิกส์
- โปรดสังเกตคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่านักฟิสิกส์ (Physicist) ที่อาจทำให้เกิดความสับสนกับแพทย์ (Physician)
นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาฬวิทยา หรือ Cosology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้นๆ
สารบัญ |
[แก้] การศึกษา
นักฟิสิกส์ได้รับการจ้างงานในหลายสาขา อย่างต่ำที่สุดต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในงานวิจัย ต้องการผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ เคมีและฟิสิกส์ ในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า นิสิตนักศึกษามักต้องเน้นความเชี่ยวชาญไปทางสาขาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ได้แก่ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ( Astrophysics), ชีวฟิสิกส์ (Biophysics), ฟิสิกส์เชิงเคมี (Chemical physics), ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics), วัสดุศาสตร์ (Material science), ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics), ทัศนศาสตร์ (Optics), ฟิสิกส์ของอนุภาค (Particle physics), และฟิสิกส์พลาสมา (Plasma physics) ตำแหน่งนักวิจัยหรือบริหารด้านวิจัยอาจต้องการผู้จบการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก
[แก้] การจ้างงาน
ผู้จ้างงานของนักฟิสิกส์ที่สำคัญมี 3 กลุ่มได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐบาล และอุตสาหกรรมภาคเอกชนซึ่งนับเป็นผู้จ้างรายใหญ่ที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นนักฟิสิกส์ยังสามารถใช้ทักษะของตนในเศรษฐิกิจภาคอื่นได้ด้วย โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และการเงิน นักฟิสิกส์บางคนอาจศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่ฟิสิกส์สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องได้ เช่น นักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรในภาคอุตสาหกรรม หรือในสำนักงานอิสระ [1]
[แก้] ดูเพิ่ม
- รายชื่อนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล [http://en.wikipedia.org/wiki/Nobel_Prize_in_physics
- ผลงานนักฟิสิกส์ไทย จากไทย
- สถาบันนักฟิสิกส์แห่งราชอาณาจักร [1]
- สถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา[http://en.wikipedia.org/wiki/American_Institute_of_Physics
- รายชื่อนักฟิสิกส์ของโลก[http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_physicists
- วิศวกรรม
[แก้] อ้างอิง
- ↑ AIP Statistical Research Center. Initial Employment Report, Table 1. Retrieved on 21 Aug, 2006.
[แก้] หนังสือที่ควรอ่านเพิ่มเติม
- "What works for women in physics?". Physics Today 56 (9).
- "The Physics Job Market: From Bear to Bull in a Decade". Physics Today 54 (4).
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Occupational Outlook Handbook
- Physicists and Astronomers; จากสำนักงานสถิติ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
- Education and employment statistics จากสถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา