พ.ศ. 2545
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2542 2543 2544 - พ.ศ. 2545 - 2546 2547 2548 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 - คริสต์ศตวรรษที่ 22 |
พุทธศักราช 2545 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2545
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม
- 13-20 มกราคม – การแข่งขันฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2002 ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล
- 19 มกราคม – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- 20 มกราคม – ทีมฟุตบอลชายหาดทีมชาติบราซิลได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2002 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลชายหาดทีมชาติอุรุกวัยในรอบชิงชนะเลิศ 6 ประตูต่อ 5
- 23 มกราคม
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานปริญญาบัตรหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา
- 23 มกราคม-3 กุมภาพันธ์ – การแข่งขันฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
[แก้] กุมภาพันธ์
- 3 กุมภาพันธ์ – ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติพม่าในรอบชิงชนะเลิศที่กรุงเทพมหานคร 4 ประตูต่อ 0
- 10-16 กุมภาพันธ์ – การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 33 ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร
- 16 กุมภาพันธ์ – ทีมฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 33 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติไทยในการดวลจุดโทษรอบชิงชนะเลิศ 4 ประตูต่อ 3 หลังจากที่เสมอกันในเวลา 0 ประตูต่อ 0
- 19 กุมภาพันธุ์-3 มีนาคม – การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ที่ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย
- 27 กุมภาพันธ์ – รถไฟขบวนหนึ่งที่นำนักแสวงบุญฮินดูกลับจากอโยธยา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางตะวันตกของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ถูกเผาโดยผู้ก่อการความรุนแรงชาวมุสลิม มีผู้เสียชีวิตบนรถไฟ 58 คน ส่งผลให้เกิดการจลาจลตอบโต้ นำไปสู่การเสียชีวิตของมุสลิมนับพันคน
[แก้] มีนาคม
- 1 มีนาคม – ปฏิบัติการแอนาคอนดาของสหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นในตะวันออกของอัฟกานิสถาน
- 3 มีนาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติพม่ารุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลเยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติลาวรุ่นอายุเดียวกันในรอบชิงชนะเลิศ 4 ประตูต่อ 1 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- 13-30 มีนาคม – การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ครั้งที่ 28 (เจ้าภาพคือสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ)
- 27 มีนาคม – เหตุระเบิดพลีชีพที่นาทันยา ประเทศอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน
[แก้] เมษายน
[แก้] พฤษภาคม
- 20 พฤษภาคม – ประเทศติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีเซีย
[แก้] มิถุนายน
- 5 มิถุนายน – มูลนิธิมอซิลลาเปิดตัวโปรแกรมค้นดูเว็บ มอซิลลา 1.0
- 6 มิถุนายน – ดาวเคราะห์น้อยขนาดประมาณ 10 เมตร ระเบิดเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เกิดพลังงานที่รุนแรงกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มนางาซากิเล็กน้อย
- 22 มิถุนายน – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ที่ภาคตะวันตกของประเทศอิหร่านส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 261 ราย
- 30 มิถุนายน – ทีมฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17
[แก้] กรกฎาคม
- 9 กรกฎาคม – สหภาพแอฟริกา ก่อตั้ง ณ แอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย
- 30 กรกฎาคม – ทีมสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดจากประเทศอังกฤษเอาชนะทีมฟุตบอลกรุงเทพ XLจากประเทศไทยในการแข่งขันนัดกระชับมิตรรายการไอคิวบ์ซูเปอร์แมชท์ ลีดส์ยูไนเต็ดอินแบงคอก 2002 ไปได้ 2 ประตูต่อ 1 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร
[แก้] สิงหาคม
- 16-26 สิงหาคม – การแข่งขันฟุตบอลฮัสซานัล โบลเกียห์ โทรฟีย์ฟอร์อันเดอร์ 21 ที่รัฐสุลต่านบรูไนดารุสซาลาม
- 17-25 สิงหาคม – การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 30 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์
- 25 สิงหาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ชุดนักเรียนรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลนักเรียนรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 30 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติไทยชุดเดียวกันในรอบชิงชนะเลิศ 3 ประตูต่อ 2
- 26 สิงหาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซียรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฮัสซานัล โบลเกียห์ โทรฟีย์ฟอร์อันเดอร์ 21 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุเดียวกันในรอบชิงชนะเลิศ 2 ประตูต่อ 0
[แก้] กันยายน
- 1 กันยายน – ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก
- 20 กันยายน – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดสะพานพระราม 8 เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- 21 กันยายน – สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในงานเฉลิมพระเกียรติเพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์" จากคณะกรรมาธิการหม่อนไหมระหว่างประเทศ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเทิดพระเกียรติคุณที่ทรงมีต่อวงการหม่อนไหมโลก
- 27 กันยายน – ประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 191 ของสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีพิธีรับรองในที่ประชุมใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- 29 กันยายน – พิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ เมืองปูซาน เกาหลีใต้ โดยติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกใหม่ ส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 37 คนเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
[แก้] ตุลาคม
- 3 ตุลาคม – วันก่อตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- 5 ตุลาคม – นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของสหภาพพม่า ได้รับการประกาศจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็น "สัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการกดขี่โดยสันติ"
- 12 ตุลาคม – เกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นที่ไนต์คลับ 2 แห่ง บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 202 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นชาวต่างชาติ โดยเป็นชาวออสเตรเลียถึง 88 คน
- 15-31 ตุลาคม – การแข่งขันฟุตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ที่ประเทศกาตาร์
- 16 ตุลาคม – พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2545 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ
- 22-30 ตุลาคม – การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย 2002 ที่ประเทศอินโดนีเซีย
- 23 ตุลาคม – กบฏเชเชนจับประชาชนราว 700 คนเป็นตัวประกันในเหตุการณ์วิกฤติตัวประกันในโรงละครที่มอสโก
- 30 ตุลาคม – ทีมฟุตซอลทีมชาติอิหร่านได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย 2002 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตซอลทีมชาติญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ 6 ประตูต่อ 0
[แก้] พฤศจิกายน
- 5 พฤศจิกายน – ราษฎรในจังหวัดหนองคายประมาณ 2,000 คน ชุมนุมกันบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อำเภอเมืองหนองคาย เพื่อประณามสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่นำเสนอในรายการถอดรหัสว่าปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค เกิดจากการกระทำของคนในประเทศลาว
- 6 พฤศจิกายน – นายซานานา กุสเมา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ตะวันออก เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2545 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
- 8 พฤศจิกายน – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านความเห็นชอบข้อมติ 1441 บังคับให้อิรักปลดอาวุธหรือไม่เช่นนั้นก็เผชิญกับ "ผลร้ายแรงที่ตามมาภายหลัง"
- 15 พฤศจิกายน – หู จิ่น เทา ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- 16 พฤศจิกายน – พบการระบาดครั้งแรกของโรคซาร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้] วันเกิด
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 9 กุมภาพันธ์ - เจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระกนิษฐาในสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
- 20 กุมภาพันธ์ - อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ (โจ้ Pause) นักร้อง (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2514)
- 30 มีนาคม - สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ พระราชชนนี พระราชมารดาในสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต
- 30 เมษายน - ล้อต๊อก นักแสดงตลกและศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2457)
- 25 ตุลาคม – ริชาร์ด แฮร์ริส นักแสดงชาวไอริช (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2473)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- 2002 Year-End Google Zeitgeist - เหตุการณ์สำคัญและคำค้นภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดใน ปี ค.ศ. 2002 โดยกูเกิล