ประเทศติมอร์ตะวันออก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: Honra, Pátria e Povo (โปรตุเกส: เกียรติ ประเทศชาติ และประชาชน) |
|||||
เพลงชาติ: Pátria | |||||
เมืองหลวง | ดิลี |
||||
เมืองใหญ่สุด | ดิลี | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกส1 | ||||
รัฐบาล | สาธารณรัฐ | ||||
- ประธานาธิบดี | ซานานา กุสเมา | ||||
- นายกรัฐมนตรี | โจเซ รามอส ออร์ตา | ||||
เอกราช ประกาศ เป็นที่ยอมรับ |
จาก โปรตุเกส2 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
14,609 กม.² (อันดับที่ 159) 5,640 ไมล์² น้อยมาก |
||||
ประชากร - ก.ค. 2548 ประมาณ - ความหนาแน่น |
1,040,880 (อันดับที่ 153) 69/กม² (อันดับที่ 128) 179.7/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 210) 400 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 192) |
||||
HDI (2546) | 0.513 (อันดับที่ 140) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ3 (USD ) |
||||
เขตเวลา | (UTC+9) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .tl | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +670 |
||||
1. รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซีย เป็น "ภาษาปฏิบัติการ" 2. อินโดนีเซีย ยึดครองติมอร์ตะวันออกในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และถอนไปในปี พ.ศ. 2542 |
ติมอร์ตะวันออก (East Timor) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (Democratic Republic of Timor-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย เกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอเทาโร (Atauro) และเกาะจาโก (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และ โอเอคุสซี-อัมเบโน (Oecussi-Ambeno) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย
แต่เดิมประเทศติมอร์ตะวันออกถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี 2063 (ค.ศ. 1520) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี 2518 อินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์อโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 อย่างไรก็ดี เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็น เอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์เลสเตโดยกลุ่มกองกำลัง militia ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2545
[แก้] วิกฤตการเมืองพ.ศ. 2549
ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์ตะวันออก 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง
การต่อสู้อันรุนแรงระหว่างทหารที่สนับสนุนรัฐบาลและทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 2549 [1] แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์ ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิม และกบฎติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรี มารี อัลกาติรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ[2] [3] ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารไปยังติมอร์ เพื่อปราบปรามความไม่สงบ [4] [5]
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดี ซานานา กุสเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรี มารี อัลคาทีรีลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรติลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน [6] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี มารี อัลกาติรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี[7] โฮเซ รามอส ฮอร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 [8]
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ติมอร์ตะวันออกแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เขต (administrative districts) ดังนี้
- เขตเลาเตง
- เขตเบาเกา
- เขตวีเกเก
- เขตมานาตูโต
- เขตดิลี
- เขตไอเลว
- เขตมานูฟาอี
- เขตลีกีซา
- เขตเอร์เมรา
- เขตไอนาโร
- เขตโบโบนาโร
- เขตโกวา-ลีมา
- เขตโอเอกุสซี-อัมเบนโน
[แก้] ภูมิศาสตร์
ติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเชีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
[แก้] เศรษฐกิจ
ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์ตะวันออกที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์ตะวันออกกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์ตะวันออกยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์ตะวันออกยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กอปรกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์ตะวันออกนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์ตะวันออก
[แก้] ประชากร
ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าเบลู ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมเชื้อสายมาเลย์ ชนเผ่านี้ไม่มีศาสนา แต่มีความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน · บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 · ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 · อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ออสเตรเลีย | ออสเตรเลีย · เกาะนอร์ฟอล์ก · หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) · เกาะคริสต์มาส | |
เมลานีเซีย | ติมอร์ตะวันออก · ฟิจิ · หมู่เกาะโมลุกกะ และ นิวกินีตะวันตก (อินโดนีเซีย) · นิวแคลิโดเนีย · ปาปัวนิวกินี · หมู่เกาะโซโลมอน · วานูอาตู | |
ไมโครนีเซีย | กวม · คิริบาส · หมู่เกาะมาร์แชลล์ · หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา · สหพันธรัฐไมโครนีเซีย · นาอูรู · ปาเลา | |
โพลินีเซีย | อเมริกันซามัว · หมู่เกาะคุก · เฟรนช์โปลินีเซีย · ฮาวาย · นิวซีแลนด์ · นีอูเอ · หมู่เกาะพิตแคร์น · ซามัว · โตเกเลา · ตองกา · ตูวาลู · วาลลิสและฟุตูนา |
ประเทศติมอร์ตะวันออก เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศติมอร์ตะวันออก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |