สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2301-2310) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๓ และพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี
สารบัญ |
[แก้] การเสด็จขึ้นครองราชย์
หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี แสดงพระองค์ว่าต้องการขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ยอมสละราชสมบัติถวายพระเชษฐาและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2301 ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชามหาดิศร ฯ แต่คนส่วนใหญ่มักขานพระนามว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร และพระเจ้าเอกทัศน์ (แปลว่า " ตาเดียว " เพราะเชื่อว่าพระองค์พระเนตรเสียไปข้างหนึ่ง และจึงมีอีกฉายานึงว่า " ขุนหลวงขี้เรื้อน " คู่กับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร คือ " ขุนหลวงหาวัด ")
[แก้] การรบกับพม่า
ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวช ออกมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพ 25,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นของไทยแตกทั้งสองเมือง หุยตองจา เจ้าเมืองหนีไปอยู่ที่เมืองชุมพร พม่าก็ยกทัพตามมาตีเมืองชุมพรแตกแล้วเผาเมืองเสีย และ ทางทิศเหนือเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เมืองกำแพงเพชรจนแตก แล้วตั้งค่ายมั่นต่อเรือสะสมสะเบียบอาหารอยู่ ที่ตั้งค่ายอยู่เหนือตีเมืองกาญจนบุรีแตกอีก แล้วยกเข้าตี เมืองราชบุรี เพชรบุรีแตกทั้ง 2เมือง เอกทัศน์ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงโปรดให้เกณฑ์กองทัพออกต่อสู้ ให้กองทัพบกไปตั้งค่ายรับข้าศึกที่ตำบลตำหรุ เมืองราชบุรีแห่งหนึ่ง ให้กองทัพเรือยกมาตั้งค่ายอยู่ที่ ค่ายบางกุ้ง และให้พระยารัตนาธิเบศยกทัพเมืองนครราชสีมามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่ง แล้วในขณะนั้นพม่าก็ยกทัพยกไปตีเมืองธนบุรี พระยารัตนาธิเบศก็ยกทัพหนี พม่าก็ยกไปตีค่ายเมืองนนทบุรีแตกอีก มาตีบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนาบกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง ปีกับสองเดือน ก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน
[แก้] การเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส ต้องอดอาหารกว่า ๑๐ วัน และเสด็จสวรรคต เมื่อพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิสามต้น พม่าได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร แต่ทางพงศาวดารพม่าบอกว่า สับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
[แก้] ดูเพิ่ม
รัชสมัยก่อนหน้า: สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ราชวงศ์บ้านพลูหลวง |
พระมหากษัตริย์ไทย อาณาจักรอยุธยา ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ |
รัชสมัยถัดไป: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยุคกรุงธนบุรี |