หนอนตัวแบน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
หนอนตัวแบน เป็นสิ่งมีชีวิตในไฟลัมแพลทีเฮลมินทีส (Platyhelminthes มาจากภาษากรีกสองคำคือ platy (แปลว่าแบน) และ helminth (แปลว่าหนอน)) ลักษณะของสัตว์ในกลุ่มนี้คือ มีร่างกายอ่อนนุ่ม ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรแบบแบ่งเป็นสอง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น พบประมาณ 25000 ชนิด จัดได้ว่าเป็นสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด โดยสามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก และโดยเฉพาะพบในสภาพของการเป็นปรสิต (parasitic) ขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร
[แก้] ลักษณะ
หนอนตัวแบน เป็นสัตว์จำพวกแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ectoderm mesoderm และ endoderm แต่ยังไม่มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง ยกเว้นอาจจะพบได้ใน กึ๋น (gut) ผิวหนังด้านนอก (ectoderm) แตกต่างกันไปเช่น ในพวก Turbellaria มีลักษณะเป็น ซีเลียปกคลุม แต่ในพวก Cestoda และ Trematoda จะเป็นลักษณะของ Culticle ปกคลุมแทน ไม่มีระบบโครงค้ำจุน (Skeleto system) ไม่มีระบบหายใจ (Respriratory system) ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด (Circulatory system) อาศัยการแลกเปลี่ยนก๊าซและของเสียทางผิวหนังโดยตรง ดังนั้นบริเวณผิวหนังจึงมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ บางชนิดอาจจะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการกำจัดของเสียที่เรียก เนฟิเดีย (nephridia flame cell)
ระบบประสาท เป็นแบบวงแหวน หรือแบบขั้นบันได มีปมประสาท (ganglion) บริเวณส่วนหัวมีจุดรวมประสาท และ photorecetor อยู่ในบางชนิด
ระบบสืบพันธุ์ สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ โดยอาศัยการงอกใหม่ (regeneration) และไม่อาศัยเพศ โดยมีสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphodise)
ระบบย่อยอาหาร ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีปากแต่ไม่มีทวาร
[แก้] การจัดจำแนก
ปัจจุบันมีการจำแนกสัตว์ในกลุ่มนี้ออกเป็น 4 ชั้น คือ
1. พยาธิใบไม้ (Trematoda) ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง เช่น กลุ่มพยาธิใบไม้ในตับ (Opisothorchis viverini) ในเลือด ในลำไส้ (Fasciolopsis buski) พบในบุคคลที่บริโภคสัตว์น้ำดิบๆ เช่น หอบ ปลา เนื่องจากตัวอ่อนของพยาธิ (cercaria) เหล่านี้จะอาศัยอยู่ในน้ำ
2. พยาธิตัวตืด (Cestoda) ลักษณะลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้องต่างๆ โดยแต่ละปล้องสามารถเจริญสืบพันธุ์เป็นตัวใหมได้ อาทิเช่น พยาธิตืดหมู (Taenia holium) พยาธิตืดวัว(Taenai haginata) โดยในระยะตัวอ่อนจะฝังตัวในกล้ามเนื้อของสัตว์ที่ชาวบ้านเรียกว่า เม็ดสาคู มีส่วนหัวที่เรียกว่า Scolex โดยในส่วนนี้จะมีอวัยวะที่ใช้ในการยึดเกาะที่เรียกว่า Sucker
3. พลานาเรีย (Turbellaria) ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง คล้ายพวกพยาธิใบไม้ ส่วนใหญ่อยู่อาศัยอย่างอิสระ (free living)
4. Monogenea
[แก้] อ้างอิง
- Campbell, Neil A., Biology: Fourth Edition (Benjamin/Cummings Publishing, New York; 1996; page 599) ISBN 0-8053-1957-3
- หลักชีววิทยา ฉบับสมบูรณ์ ปสพ.
หนอนตัวแบน เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ หนอนตัวแบน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |