หลวงศุภชลาศัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย หรือ บุง ศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑
หลวงศุภชลาศัย เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ ตำบลถนนพระอาทิตย์ อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนายเบี้ยวและนางพ่วง เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดชนะสงคราม, โรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนวัดราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนนายเรือ เรียนเก่งถึงขั้นได้รับเกียรตินิยมของสถาบัน
บุง ศุภชลาศัย เริ่มต้นชีวิตราชการทหารเรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ ประจำการบนเรือรบหลวง "สุครีพครองเมือง" ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออกจากกองทัพเรือ คือรองผู้บัญชาการทหารเรือ ต่อมาในรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนากรมใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เพื่อจัดการงานด้านพลศึกษาของชาติ มี อำมาตย์เอกพระยาประมวลวิชาพูล (วงษ์ บุญ-หลง) รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดี จนกระทั่ง วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา คนแรกอย่างเป็นทางการ
หลวงศุภชลาศัย เป็นผู้วางรากฐานการพลศึกษาและกีฬานักเรียนเมืองไทยหลายประการ อาทิ การบรรจุหลักสูตรวิชาพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาทั่วประเทศ และสิ่งสำคัญ สำหรับชาวพลศึกษา คือการกำหนดสัญญลักษณ์ วงกลมห่วง ๓ สี ประดิษฐานอยู่ใต้รูปพระพลบดี ซึ่งห่วงสีขาวแทนพุทธิศึกษา, ห่วงสีเหลืองแทนจริยศึกษา และห่วงสีเขียวแทนพลศึกษา โดยความหมายแห่งนัย คือบุคคลจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และก่อประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงจะต้องมีความสมดุลระหว่าง ความรู้ ความประพฤติและพลานามัย ดังเช่นห่วงทั้ง ๓ วง ที่วางทับกันอย่างมีเอกภาพ
หลวงศุภชลาศัย ได้ส่งเสริมการแข่งขันกีฬานักเรียนของกรมพลศึกษา จัดให้มีการมอบเสื้อสามารถแก่นักกีฬาที่มีความยอดเยี่ยมทุกประเภท ก่อนจัดแข่งขันกีฬาประชาชนทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก และใน พ.ศ. ๒๔๗๙ จึงย้ายสนามแข่งขันกีฬานักเรียนประจำปี จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไปทำการแข่งขัน ณ สนามหลวง
เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมพลศึกษา ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน เนื้อที่ ๑๑๔ ไร่ ๑ งาน ๒๕.๑๒ ตารางวา ตรงบริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์ ซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อจัดสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ และได้ดำเนินการของบประมาณแผ่นดิน เพื่อใช้การจัดสร้างสนามกีฬา ใช้ชื่อว่า สนามกรีฑาสถาน (National Stadium) และโรงเรียนพลศึกษากลาง เริ่มงานตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ จวบจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔
ในขณะที่สนามกรีฑาสถานยังสร้างไม่เสร็จ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันกีฬาประชาชน ประจำปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกรีฑาสถาน เป็นครั้งแรก
เมื่อ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบัน นิยมเรียกสั้นๆ เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ
ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๗ นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หลวงศุภชลาศัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมพลศึกษา ได้ยกย่องและเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็น บุคคลพลศึกษาของชาติ สาขาการบริหารการพลศึกษา
[แก้] อ้างอิง
- จิรัฏฐ์ จันทะเสน, ประวัติหลวงศุภชลาศัย
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) · เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาจ่าแสนยบดี ศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) · พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)พระยาพหลพลพยุหเสนา · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · แปลก พิบูลสงคราม · หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) · มังกร พรหมโยธี · หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) · หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์) · ควง อภัยวงศ์ · บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์ · เผ่า ศรียานนท์ · ประภาส จารุเสถียร · กมล วรรณประภา · อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร · บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ · คึกฤทธิ์ ปราโมช · เสนีย์ ปราโมช · สมัคร สุนทรเวช · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เล็ก แนวมาลี · ประเทือง กีรติบุตร · สิทธิ จิรโรจน์ · ประจวบ สุนทรางกูร · ประมาณ อดิเรกสาร · บรรหาร ศิลปอาชา · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · อนันต์ กลินทะ · เภา สารสิน · ชวลิต ยงใจยุทธ · สนั่น ขจรประศาสน์ · เสนาะ เทียนทอง · บัญญัติ บรรทัดฐาน · ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ · วันมูหะมัดนอร์ มะทา · โภคิน พลกุล · ชิดชัย วรรณสถิตย์ · คงศักดิ์ วันทนา · อารีย์ วงศ์อารยะ |
กระทรวงเกษตรพาณิชยการ | พระยาวงษานุประพัทธ์ |
กระทรวงเศรษฐการ (ยุคแรก) |
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) · พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สารสาส) · พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) · พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) |
กระทรวงเศรษฐกิจ | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) · สินธุ์ กมลนาวิน · จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
กระทรวงพาณิชย์ (ยุคแรก) |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ · ควง อภัยวงศ์ · หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ · หลวงศุภชลาศัย · หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ · วิลาศ โอสถานนท์ · เดือน บุนนาค · พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) · หลวงวิจิตรวาทการ |
กระทรวงเศรษฐการ (ยุคสอง) |
นายวรการบัญชา · แปลก พิบูลสงคราม · ศิริ สิริโยธิน · เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · สุนทร หงส์ลดารมภ์ · เกษม ศรีพยัตฆ์ · พจน์ สารสิน · บุญชนะ อัตถากร |
กระทรวงพาณิชย์ | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ · ชาญชัย ลี้ถาวร · วิจารณ์ นิวาตวงศ์ · ดำรง ลัทธพิพัฒน์ · ทองหยด จิตตวีระ · สุธี นาทวรทัต · นาม พูนวัตถุ · อบ วสุรัตน์ · ตามใจ ขำภโต · ปุนมี ปุณศรี · ชวน หลีกภัย · โกศล ไกรฤกษ์ · สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ · มนตรี พงษ์พานิช · สุบิน ปิ่นขยัน · อมเรศ ศิลาอ่อน · อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ · อุทัย พิมพ์ใจชน · ชูชีพ หาญสวัสดิ์ · ณรงค์ชัย อัครเศรณี · สม จาตุศรีพิทักษ์ · ศุภชัย พานิชภักดิ์ · อดิศัย โพธารามิก · วัฒนา เมืองสุข · ทนง พิทยะ · สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ · เกริกไกร จีระแพทย์ |
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · จิตร ศรีธรรมาธิเบศ ณ สงขลา · หลวงศุภชลาศัย · ทวี บุณยเกตุ · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) · พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) · แสง สุทธิพงศ์ · ประจวบ บุนนาค · เล็ก สุมิตร · พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) · ประยูร ภมรมนตรี · ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี · เฉลิม พรมมาศ · พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) · ประเสริฐ รุจิรวงศ์ · อุดม โปษกฤษณะ · คล้าย ละอองมณี · ประชุม รัตนเพียร · สวัสดิ์ คำประกอบ · ทวี จุลทรัพย์ · ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ · บุญสม มาร์ติน · เสม พริ้งพวงแก้ว · ทองหยด จิตตวีระ · มารุต บุนนาค · เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ · ชวน หลีกภัย · ประจวบ ไชยสาส์น · ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ · ไพโรจน์ นิงสานนท์ · บุญพันธ์ แขวัฒนะ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · เสนาะ เทียนทอง · มนตรี พงษ์พานิช · สมศักดิ์ เทพสุทิน · รักเกียรติ สุขธนะ · กร ทัพพะรังสี · สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ · สุชัย เจริญรัตนกุล · พินิจ จารุสมบัติ · มงคล ณ สงขลา |